การสื่อสารภาพลักษณ์ด้านการบริการบนเครื่องบินผ่านภาพยนตร์โฆษณาของบริษัทการบินไทย จํากัด (มหาชน)

ผู้แต่ง

  • นิศนันท์ เดชอมรธัญ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

บทคัดย่อ

        งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารภาพลักษณ์ด้านการบริการบนเครื่องบินผ่านภาพยนตร์โฆษณาของ บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) และศึกษาแนวทางการสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ด้านการบริการบนเครื่องบินผ่านภาพยนตร์โฆษณาของบริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิเคราะห์ตัวบทภาพยนตร์โฆษณาของ บริษัทการบินไทย จํากัด (มหาชน) ระหว่างปี พ.ศ. 2552 - 2562 จํานวน 7 เรื่อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลผู้มีความเกี่ยวข้องในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาของ บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) จํานวน 2 คน ผลการวิจัยพบว่า


        การสื่อสารภาพลักษณ์ด้านการบริการบนเครื่องบินผ่านภาพยนตร์โฆษณาของ บริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน) ค้นพบ 5 ประเด็น ได้แก่ 1) เอกลักษณ์ความเป็นไทย 2) การบริการด้วยหัวใจ 3) ความทันสมัยและความสะดวกสบาย 4) การให้บริการเต็มรูปแบบ 5) ความปลอดภัย แนวทางการสร้างสรรค์ภาพลักษณ์ด้านการบริการบนเครื่องบิน ค้นพบ 4 ประเด็น ได้แก่ 1) ความเข้าใจในพฤติกรรมผู้บริโภค 2) การนําเสนอเอกลักษณ์โดดเด่นของการบินไทย 3) การนําเสนอเนื้อหาที่ถูกต้องตรงความเป็นจริงและสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน 4)วิธีการกำหนด บทบาทของพรีเซนเตอร์เพื่อการสร้างภาพลักษณ์

References

เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์. (2546). เอกสารการสอนชุดวิชาหลักความปลอดภัยในการทำงานหน่วยที่ 1-8. นนทบุรี : สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ชัยสมพล ชาวประเสริฐ. (2547). การตลาดบริหาร. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น

ฐิติพงศ์ วรธรรมทองดี. (2558). คุณภาพการบริการบนเครื่องบินของการบินไทยมีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการของผู้โดยสารอย่างไร. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นันท์ โฆษิตสกุล. (2562). วิเคราะห์กลยุทธ์พรีเซนเตอร์ยุคดิจิตัลดิสรัปชั่น. สืบค้น 10 เมษายน 2563 จาก : https://www.onlinenewstime.com/วิเคราะห์-กลยุทธ์พรีเซ/business-news/.

นิวัฒน์ สุขประเสริฐ. (2546). สัมภาษณ์โดย จุลชาติ อรัณยะนาค ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

เว็บไซต์การบินไทย. (2562). “ประมวลผลประกอบการของบริษัท การบินไทย จํากัด (มหาชน).” สืบค้น 13 กันยายน 2562 จาก :https:// invester.thaiairways.com.

สุนันทา ทวีผล. (2550). “ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการด้านให้คําปรึกษาแนะนําปัญหาด้านกฎหมายของสํานักงานอัยการพิเศษฝ่ายช่วยเหลือทางกฎหมาย3 (สคช.).” ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา

สุวัฒน์ ศิรินิรันดร์ และภาวนา สวนพลู. (2563). แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค. สืบค้น 10 เมษายน 2563 จาก : https://doctemple.wordpress.com.

สุรพล ลีนิรันดร. (2556). จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพโฆษณา. กรุงเทพมหานคร : สมาคมโฆษณาแห่ง ประเทศไทย.

Kotler, Philip. (2003). Marketing Management. The Millennium edition.New Jersey : Prentic - Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-01