แนวทางการสื่อสารของผู้นำศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ณัชชา ศิรินธนาธร นิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

วิธีการสื่อสาร, ผู้นำ, ศูนย์เรียนรู้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะและบทบาทของผู้นำศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 2) การสื่อสารของผู้นำศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 3) วิเคราะห์ผลของการสื่อสารจากผู้นำที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมของศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และ 4) แนวทางการสื่อสารของผู้นำศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารจากแหล่งต่าง ๆ การสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การจัดเวทีชุมชน และผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้นำ สมาชิก และบุคลากรภาครัฐที่มีส่วนร่วม


        ผลการวิจัย ดังนี้ 1. คุณลักษณะของผู้นำศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ประกอบด้วย บุคลิกภาพและทักษะความรู้ความสามารถ ด้านบทบาทของผู้นำศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ประกอบด้วย บทบาทในกระบวนการทำงานและการเป็นผู้กระตุ้น 2. การสื่อสารของผู้นำศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ประกอบด้วย องค์ประกอบการสื่อสาร ได้แก่ ผู้ส่งสาร สาร สื่อ และผู้รับสาร 3. การวิเคราะห์ผลของการสื่อสารจากผู้นำที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรม พบว่าผู้นำศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร เป็นปัจจัยหลักของความสำเร็จด้านการส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมของสมาชิก สามารถเสริมสร้างพลังจากการปฏิบัติจริง และแก้ปัญหาการผลิตสินค้าเกษตร 4. แนวทางการสื่อสารของผู้นำศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ประกอบด้วย 1) มีความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร 2) มีความชัดเจนในบทบาทของตนเอง 3) ยึดหลักการสื่อสารแบบมีส่วนร่วม 4) การเป็นผู้สร้างและให้ความหมายในกระบวนการสื่อสาร 5) การจัดการสารหรือข้อมูลความรู้อย่างเหมาะสม 6) การเป็นช่องทางในการถ่ายทอดและแพร่กระจายข่าวสารที่ได้รับมาจากนักส่งเสริมการเกษตร 7) การกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน 8) การใช้สื่อที่หลากหลายอย่างผสมผสาน และ 9) การเป็นนักประสานงานเพื่อสร้างและพัฒนาเครือข่าย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). คู่มือการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร. กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

ปาจรีย์ อ่อนสอาด. (2553). การวิเคราะห์องค์ประกอบการสื่อสารที่สร้างความสำเร็จต่อ “วิถีการดำรงชีวิตแบบพอเพียง” กรณีศึกษา ศูนย์การเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ตำบลหนองบอนแดง อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พรสิทธิ์ พัฒธนานุรักษ์. (2559). แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับความเป็นชุมชนและการสื่อสารชุมชน. ในความรู้เบื้องต้น การสื่อสารชุมชน (หน่วยที่ 1, หน้า 33). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พลชัย เพชรปลอด (2555). ศึกษากระบวนการพัฒนาการสื่อสารเพื่อถ่ายถอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ของปราชญ์ชาวบ้าน ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน บ้านดอนผิงแดด จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มิลเลอร์, โลเบิร์ต บี. (2557). การสื่อสารโน้มน้าวใจ. แปลโดย. วุฒินันท์ ชุมภู. กรุงเทพฯ: เอ็กชเปอร์เน็ต.

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี. (2560). “ผลการประเมินและจัดระดับการพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร.” ราชบุรี: สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดราชบุรี.

Berlo. D. K. (1960). The process of communication. New York: Holt, Rinehart & Winston.

Berrigan, F. J. (1979). Community Communication. UNESCO.

Burns, J. M. (1978). Leadership: Theory of leadership. New York: Harper and Row.

Greenleaf, R. K. (1977). Servant Leadership: A Journey into the Nature of LegitimatePower and Greatness. Mahwah, NJ: Paulist Press.

Rennie, Ellie. (2006). Community Media: A Global Introduction. Rownan & Littlefeld Publishers, Inc.

Rogers, Lyman C. (1995). On Becoming a Person. Boston: PWS-Kent Publishing Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-01