ศึกษาการเล่าเรื่องในภาพยนตร์นานาชาติที่เกี่ยวกับโรคระบาด

ผู้แต่ง

  • ฉลองรัฐ เฌอมาลย์ชลมารค วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ภาพยนตร์, โรคระบาด, การเล่าเรื่อง

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ตัวบทภาพยนตร์นานาชาติที่เกี่ยวกับโรคระบาดจำนวน7เรื่อง ซึ่งถูกเผยแพร่ระหว่างปี ค.ศ. 2000-2020  ได้แก่เรื่อง  28 Days Later (2002,England)   Beat The Drum (2003,South Africa)  Painted Veil (2006,USA) Contagion (2011,USA)  The Flu (2013,South Korea) I Am A Hero (2016,Japan) Songbird(2020,USA)  สำหรับแนวคิดที่ใช้เป็นกรอบในการศึกษาประกอบด้วย 1) แนวคิดเรื่องการเล่าเรื่อง 2) แนวคิดเรื่องความหมายแฝง  และ 3) แนวคิดเรื่องระบาดวิทยา  โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังนี้ 1) เพื่อศึกษาถึงลักษณะการเล่าเรื่องในภาพยนตร์นานาชาติที่เกี่ยวกับโรคระบาด 2) เพื่อศึกษาถึงการสื่อสารความหมายแฝงในภาพยนตร์นานาชาติที่เกี่ยวกับโรคระบาดผลการวิจัยซึ่งนำเสนอตามปัญหานำวิจัยมีดังนี้

        1.ภาพยนตร์นานาชาติที่เกี่ยวกับโรคระบาดมีการเล่าเรื่องลักษณะดังนี้ 1) ตัวละครหลักมีสามกลุ่ม ได้แก่ 1.1 ตัวเอก มักเป็นประชาชนที่ประสบภัยโรคระบาด ตัวเอกมีลักษณะเป็นเหยื่อของโรค และเป็นเหยื่อของการจัดการที่ล้มเหลว 1.2 ผู้ร้าย คือเชื้อโรคระบาดหรือพาหะนำโรค และผู้ร้ายที่เป็นมนุษย์ 1.3 ผู้ช่วย หรือตัวละครที่คอยเป็นช่วยเหลือประชาชน คือแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ หรือนักวิทยาศาสตร์ 2) ความขัดแย้ง แบ่งได้สามกลุ่ม คือ 2.1 ความขัดแย้งระหว่างการควบคุมโรคกับประชาชน 2.2 ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน 2.3 ความขัดแย้งระหว่างวิทยาศาสตร์กับประเพณีความเชื่อ  3) ฉาก แบ่งเป็นสองด้าน คือ  3.1 ด้านพื้นที่ ได้แก่พื้นที่การระบาดของเชื้อโรค ซึ่งระบาดไปได้ทุกพื้นที่ ทั้งเขตเมืองและชนบท 3.2 ด้านเวลา ได้แก่ยุคสมัยของการเกิดโรคระบาด มีทั้งการระบาดในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต  4) การจบเรื่อง ภาพยนตร์มีการจบเรื่องสองแบบคือ 4.1 แบบคลี่คลาย ซึ่งภาพยนตร์ส่วนใหญ่มักจบเรื่องโดยให้สถานการณ์คลี่คลายและตัวละครหลักพบความสุข 4.2 แบบคลุมเครือคือการที่ตัวละครยังไม่พบภาวะสงบสุขที่ยั่งยืน

        2.ภาพยนตร์นานาชาติที่เกี่ยวกับโรคระบาดมีการสื่อสารความหมายแฝงดังนี้ 1) ความหมายแฝงในมิติของตัวละคร แบ่งได้เป็นสามกลุ่มคือ  1.1 ตัวเอกคือประชาชนที่ต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอดจากโรคระบาดโดยต้องเน้นการพึ่งพาตนเองและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน   1.2 ผู้ร้ายคือเชื้อโรคระบาดที่เคยมีอยู่ในสังคมหรืออาจเป็นเชื้อโรคที่มนุษย์ยังไม่รู้จักแต่อาจจะระบาดในอนาคตได้ โดยเชื้อโรคจะมีความสามารถในการกลายพันธุ์ได้ ผู้ที่สามารถเอาชนะเชื้อโรคได้คือบุคคลากรทางการแพทย์และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ส่วนผู้ร้ายที่เป็นมนุษย์ประชาชนทั่วไปจะสามารถเอาชนะได้ด้วยตนเอง  1.3 บุคคลที่จะเป็นผู้ช่วยเหลือประชาชนให้รอดพ้นจากโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ หรือนักวิทยาศาสตร์ ที่มีความรู้ในการจัดการกับเชื้อโรคได้อย่างมีระบบ  2) ความหมายแฝงในมิติของความขัดแย้ง แบ่งเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ 2.1 ความขัดแย้งระหว่างการควบคุมโรคกับประชาชน ความขัดแย้งนี้สามารถคลี่คลายได้ด้วยการอาศัยความร่วมมือจากประชาชน 2.2 ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน ความขัดแย้งนี้จะคลี่คลายได้ด้วยการที่เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติหน้าที่อย่างมีมนุษยธรรมและทำหน้าที่อย่างเหมาะสม ไม่มองเห็นประชาชนเป็นภาระที่ต้องกำจัด 2.3 ความขัดแย้งระหว่างวิทยาศาสตร์กับประเพณีความเชื่อ ความขัดแย้งข้อนี้จะคลี่คลายได้ด้วยการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน และต้องอาศัยเวลาและความเชื่อใจระหว่างกัน  3) ความหมายแฝงในมิติของฉาก ฉากในภาพยนตร์มีสองด้าน  3.1 ด้านพื้นที่ ภาพยนตร์สื่อความหมายแฝงว่า เชื้อโรคสามารถระบาดไปได้ทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเขตเมืองหรือชนบท แต่ในพื้นที่เมืองใหญ่จะมีการระบาดที่รุนแรงกว่า 3.2 ด้านเวลา มีการสื่อความหมายแฝงว่า การระบาดของโรคมีมาแต่อดีต ปัจจุบัน และจะเกิดขึ้นในอนาคตอีก  ตามประวัติศาสตร์มนุษย์ได้ต่อสู้กับโรคระบาดมาโดยตลอด แม้เผ่าพันธุ์มนุษย์จะเกิดการสูญเสียครั้งใหญ่แต่ก็สามารถเอาตัวรอดได้  4) ความหมายแฝงในมิติของการจบเรื่อง ภาพยนตร์มีการจบเรื่องสองแบบคือ 4.1 จบแบบคลี่คลาย โดยภาพยนตร์ส่วนใหญ่ที่นำมาศึกษาจะจบเรื่องแบบนี้ โดยให้สถานการณ์คลี่คลายลงและประชาชนมีความสุข ซึ่งสื่อความหมายแฝงว่า มนุษย์จะสามารถเอาตัวรอดจากโรคระบาดได้ในที่สุด 4.2 จบแบบคลุมเครือ ซึ่งภาพยนตร์ส่วนน้อยจะจบเรื่องลักษณะนี้ โดยสื่อความหมายแฝงว่า โรคระบาดไม่เคยหมดไปอย่างแท้จริง มนุษย์จะเอาชนะสถานการณ์เลวร้ายหรืออุปสรรคต่างๆไปได้เป็นช่วงๆ แต่ในอนาคตก็อาจจะเจอกับการระบาดของโรคอีก

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2564) รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no576-010864.pdf

แกรม มูนีย์ (2563) ข้อมูลสถิติ. National Geographic. 20(8),53

แดเนียล เดรซเนอร์ (2560) ทฤษฎีการเมืองระหว่างประเทศและซอมบี้. (ธรรมชาติ กรีอักษร แปล) กรุงเทพ: คบไฟ.

วีรพจน์ อินทรพันธ์ (2564, 8 สิงหาคม ) ระลอกใหม่ ณ แดนมังกร. ไทยรัฐ,น.2.

สุเจน กรรพฤทธิ์ (2563) ประวัติศาสตร์โรคระบาดในอุษาคเนย์. สารคดี. 423(6), 73

อลงกรณ์ คล้ายสีแก้ว (2556, มิถุนายน) Zombie Apocalypse. Filmax. 6(72),129

BBC.Com (2563) ไวรัสโคโรนา : "คอนเทเจี้ยน สัมผัสล้างโลก" ภาพยนตร์จากทศวรรษที่แล้วกลับมาฮิต หลังการระบาดของโควิด-19. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/international-51835269

Belton, John (2005) American Cinema/ American Culture. Boston: McGrraw-hill

Berger, Arther Asa (1995) Cultural Criticism. London : Sage.

Bowden, Darsie. (2006) Writing for Film. London : Lawrence Erlbaum Associates.

Boyle, Danny (2017) 28 Days Later : An Interview with Danny Boyle(2003) retrieved from https://scrapsfromtheloft.com/2017/06/05/28-days-later-an-interview-with-danny-boyle-2003/

Centers for Disease Control and Prevention (2021) Nipah Virus(NiV) retrieved from https://www.cdc.gov/vhf/nipah/index.html#:~:text=Nipah%20virus%20(NiV)%20is%20a,illness%20in%20pigs%20and%20people.

Dick, Bernard F. (2005) Anatomy of Film. Boston : Bedford / St.Martin’s

Giannetti, Louis. (1996) Understanding Movies.New Jersey : Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01