ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงอยู่ของการแสดงพื้นบ้านใน ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร

ผู้แต่ง

  • ศุภโชคชัย นันทศรี คณะวิทยาการจัดการโปรแกรมวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงแพรช

คำสำคัญ:

การดำรงอยู่, การแสดงพื้นบ้าน, นครไตรตรึงษ์

บทคัดย่อ

        งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. เพื่อศึกษากระบวนการสื่อสารของศิลปินพื้นบ้านใน ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร 2. เพื่อศึกษาบริบททางการสื่อสารภายในชุมชน ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการสื่อสารของศิลปินพื้นบ้านที่มีผลต่อการดำรงอยู่ของการแสดงพื้นบ้านใน ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมืองกำแพงเพชร จ.กำแพงเพชร และ 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบริบททางการสื่อสารภายในชุมชนที่มีผลต่อการดำรงอยู่ของการแสดงพื้นบ้านใน ต.ไตรตรึงษ์ อ.เมืองกำแพงเพชร        จ.กำแพงเพชร มีวิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 5 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ศิลปินพื้นบ้านเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสืบทอดเผยแพร่ศิลปะการแสดงพื้นบ้านในนครไตรตรึงษ์  ได้แก่ ระบำก.ไก่ รำคล้องช้าง และรำวงพื้นบ้าน ควรมีการจัดการแสดงทั้งภายในและภายนอกชุมชนไม่ว่าจะเป็นงานบุญ งานจ้าง งานประเพณีและงานเทศกาลต่างๆ อาทิ ประเพณีนบพระเล่นเพลง เทศกาลสงกรานต์ งานวัด งานรื่นเริง และงานมงคลต่างๆ ให้กับผู้ชมทุกเพศทุกวัย โดยเน้นไปยังกลุ่มเด็กและวัยรุ่นอายุประมาณ 10-16 ปี และกลุ่มผู้สูงอายุ ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า 1) กระบวนการสื่อสาร พบว่า ด้านผู้ส่งสาร ศิลปินพื้นบ้านมีบทบาทในฐานะผู้ผลิตระบำ ก ไก่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 ด้านสาร ระบำ ก ไก่ มีการใช้เครื่องดนตรีที่เหมาะสม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 ด้านช่องทางการสื่อสาร รำวงพื้นบ้านมีการแสดงให้ชมตามงานเทศกาล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 ด้านผู้รับสาร ผู้ชมมีการตอบรับที่ดีต่อการแสดงระบำ ก ไก่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.20 2) บริบททางการสื่อสาร พบว่า บริบทด้านประวัติศาสตร์ กำแพงเพชรเป็นเมืองเก่าที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 บริบทด้านเศรษฐกิจ จังหวัดกำแพงเพชรมีอาชีพหลักที่สำคัญ คือ เกษตรกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.31 บริบทด้านสังคม ประเพณีที่ชาวตำบลไตรตรึงษ์ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ คือ งานปิดทองไหว้พระและรอยพระพุทธบาทเดือน 3 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 บริบทด้านวัฒนธรรม สถาบันการศึกษาควรมีบทบาทในการสืบทอดวัฒนธรรมพื้นบ้านด้วยการสร้างและผลิตซ้ำ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 3) กระบวนการสื่อสารของศิลปินพื้นบ้านโดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการแสดงพื้นบ้านโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ 0.556 4) บริบทการสื่อสารของศิลปินพื้นบ้านโดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการแสดงพื้นบ้านโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ 0.574

References

จำลอง นักฟ้อน. (2561). บริบททางสังคม วัฒนธรรม และค่านิยมที่มีผลกระทบต่อนโยบายและแผนการศึกษา. สืบค้น 11 ตุลาคม 2561.จาก http://edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/23723-13.pdf

ธนวดี บุญลือ. (2544). ทฤษฎีและแบบจำลองพื้นฐานทางการสื่อสาร. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและทฤษฎีการสื่อสาร. หน่วยที่ 9. หน้า 473-535. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์.

บุญเลิศ ศุภดิลก. (2548). ทฤษฎีการสื่อสาร. ใน ประมวลสาระและแนวการศึกษาชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร หน่วยที่ 2. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรทิพา บุญรักษา. (2559). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแสดงพื้นบ้านไทย. สืบค้น 13 ตุลาคม 2561.จาก http://poppy-porntipa.blogspot.com/2016/09/blog-post_28.html

ภสัวลี นิติเกษตรสุนทร. (2548). แนวคิดหลักด้านการสื่อสาร. ใน ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร. หน่วยที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวชิานิเทศศาสตร์.

สุชาดา พงศ์กิตติวิบูลย์ และกาญจนา แก้วเทพ. (2553). การสืบทอดสื่อพื้นบ้านเท่งตุ๊ก อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน.สืบค้น 18 กรกฎาคม 2564. จาก file:///C:/Users/HP/Downloads/86356-Article%20Text-210037-1-10-20170513.pdf

สันติ อภัยราช. (2557). จดหมายเหตุวัฒนธรรมกำแพงเพชร. สืบค้น 9 ตุลาคม 2561.จาก http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php?topic=998.0

Chulapedia. (2564). การสื่อสาร (Communication). สืบค้น 18 กรกฎาคม 2564. จาก http://www.chulapedia.chula.ac.th/index.php?title=การสื่อสาร_(Communication)

Jennisa Ketmanee. (2556). การแสดงพื้นเมืองสี่ภาค. สืบค้น 12 ตุลาคม 2561.จาก http://jenniasketmanee.blogspot.com/

Pavinee Thongmueang (2561). วัฒนธรรมการแสดง. สืบค้น 12 ตุลาคม 2561. จาก https://sites.google.com/site/pavineethongmueang/wathnthrrm-laea-xahar-phun-ban/wathnthrrm-kar-saedng

Thaicommunication83. (2561). องค์ประกอบการสื่อสาร. สืบค้น 10 ตุลาคม 2561.จาก https://sites.google.com/site/thaicommunication83/bth-thi-1-kar-suxsar

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01