การตระหนักรู้เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคล จากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุวจนี จิวะวิไลกาญจน์ วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจ, พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562, การปกป้องสิทธิส่วนบุคคล, การตระหนักรู้

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่อง “การตระหนักรู้เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจของประชาชนในกรุงเทพมหานคร”  มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) เพื่ออธิบายคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจ 2) เพื่ออธิบายพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจ และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะทางประชากรกับการตระหนักรู้เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจของประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในการเก็บข้อมูล ประกอบกับใช้แบบสอบถามแบบปลายปิดในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 440 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่จะทำการศึกษานี้ คือ ประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไปถึง 60 ปี ที่พำนักอาศัยและประกอบอาชีพในกรุงเทพมหานคร โดยในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา เป็นผู้ที่เคยเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจ อย่างน้อย 1 สื่อ

        ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 64.32 อายุ อยู่ในช่วง 41 ปี – 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 34.55 จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 59.77 มีอาชีพลูกจ้าง/พนักงานบริษัท – เอกชน คิดเป็นร้อยละ 57.05 และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตั้งแต่ 15,001 บาท แต่ไม่เกิน 35,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 27.05 อีกทั้งยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างเคยถูกล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลจากภาคธุรกิจ จนสร้างความเดือดร้อนรำคาญ หรือสร้างความเสียหาย ร้อยละ 85.00 โดยจำแนกเป็นการถูกล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวจากการเสนอขายประกันภัยมากที่สุด ร้อยละ 37.97 ลำดับรองลงมา ได้แก่  การเสนอวงเงินสินเชื่อ/บัตรเครดิต ร้อยละ 32.78  และการเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม/ฟิตเนส ร้อยละ 15.67 ตามลำดับ

        กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทราบรายละเอียดกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และป้องกันการล่วงละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล ร้อยละ 61.36 และและไม่ทราบรายละเอียดชองกฎหมายดังกล่าว ร้อยละ 38.64

        กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะให้ข้อมูลด้านศาสนา เพราะต้องการได้รับการบริการเรื่องอาหารที่สอดคล้องกับความเชื่อทางศาสนา ร้อยละ 37.87 และไม่ให้ข้อมูล เพราะข้อมูลด้านศาสนาไม่เกี่ยวกับการบริการเรื่องอาหาร ร้อยละ 37.05 รวมถึงไม่ให้ข้อมูล เพราะไม่อยากได้รับการบริการ ร้อยละ 17.73 ตามลำดับ

        กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทราบว่าการยินยอมในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลมีปัญหา เนื่องจากผู้ให้มูลมีความรู้สึกไม่ปลอดภัยในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ร้อยละ 70

        กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต (Internet)/สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 41.68 รองลงมา ได้แก่ สื่อโทรทัศน์ คิดเป็นร้อยละ 23.58 และสื่อบุคคล คิดเป็นร้อยละ 16.24 ตามลำดับอีกทั้งยังพบระดับความเข้มข้นในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจ ในภาพรวม คือ อ่าน/ชม/ฟัง ขณะทำกิจกรรมอื่นไปด้วยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.08

        ในส่วนผลการทดสอบสมมติฐานความแตกต่างระหว่างคุณลักษณะทางประชากรกับการตระหนักรู้เกี่ยวกับการปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจของประชาชนในกรุงเทพมหานครพบว่าเพศระดับการศึกษาอาชีพและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันจะมีการตระหนักรู้การปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจไม่แตกต่างกันอย่างไรก็ตามผู้ที่มีอายุที่แตกต่างกันจะมีการตระหนักรู้การปกป้องสิทธิส่วนบุคคลจากการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในภาคธุรกิจแตกต่างกัน

References

กิติมา สุรสนธิ. (2541). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์. (2563). ประสบการณ์ของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ : บทเรียนสำหรับประเทศไทย. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา, 2(2), 7-29.

คณาธิป ทองรวีวงศ์. (2559). การปฏิรูปกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร:กรุงเทพฯ.

จรินทร์ ธานีรัตน์. (2517). รวมศัพท์ทางวิชาการ การศึกษา จิตวิทยา พลศึกษา กีฬา สุขศึกษา และสนทนาการ.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

จารุวรรณ กิตตินราภรณ์. (2564). การใช้สื่อกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมปกติใหม่ด้านสุขภาพในช่วงการระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID - 19) : กรณีศึกษาจังหวัดปทุมธานี. วารสารนิเทศปริทัศน์, 25(1), 15-34.

ณัฐยา พั่วทัด. (2549). การสร้างความตระหนักต่อการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียใหม่ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ดาวัลย์ ขาวสนิท. (2561). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : ศึกษาเฉพาะกรณีด้านการเงินการธนาคารของธนาคารพาณิชย์ (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2558). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง และคณะ (2563). Thailand Data Protection Guidelines 3.0 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปรมะ สตะเวทิน. (2538). หลักนิเทศศาสตร์. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2534). การวิเคราะห์ผู้รับสาร, กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรพจน์ แพทย์คุณ. (2553). ปัญหากฎหมายในการคุ้มครองสิทธิลูกค้าในเชิงพาณิชย์ : กรณีศึกษาร่างพระราชบัญญัติข้อมูลส่วนบุคคล (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.

วาสนา อุทัยแสง. (2559).การตระหนักรับรู้การบริหารความเสี่ยงและการนำการบริหารความเสี่ยงไปปฏิบัติของบุคลากร.มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2538). พฤติกรรมผู้โภค ฉบับสมบูรณ์.กรุงเทพฯ : บริษัท วสิทธิ์พัฒนา จำกัด.

สุรางคณา วายุภาพ. (2562). กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับบริบทการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกฎหมายฉบับอื่นๆ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล.

สำนักเขตผังเมืองกรุงเทพมหานคร. (2557). ผังเมืองอนุรักษ์และพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สำนักเขตผังเมืองกรุงเทพมหานคร.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2564, แหล่งที่มา https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2539). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรณัฐ ทะนันชัย. (2561). ปัญหาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่. วารสารวิชาการกสทช 2561, 2(2), 254-269.

Becker, W. A. (1986). Manual of quantitative genetics. Academic enterprises.

Bloom,Benjamin S.,et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

Joseph T. Klapper. (1960). Ther Effect of Mass communication. New York ; Free Press.

Schramm, W. (1973). Men, messages, and media. NY: Harper & Row.

Wolman, B. B. (1973). Dictionary of Behavioral Science. London: Litton Educational.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01