การวิเคราะห์ละครโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันและ งานเขียนบทละครโทรทัศน์ เรื่อง “สืบสัมผัส”

ผู้แต่ง

  • กานต์สินี พิทักษ์วงษ์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ละครโทรทัศน์, การโกง, การคอร์รัปชัน

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่องการศึกษาวิเคราะห์ละครโทรทัศน์ที่เกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันและงานเขียนบทละครโทรทัศน์ เรื่อง “สืบสัมผัส” ใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์ตัวบทละครโทรทัศน์จำนวน 5 เรื่อง ซึ่งถูกเผยแพร่ระหว่างปี พ.ศ. 2540 – 2559 ได้แก่เรื่อง จินตปาตี (2540) เหนือเมฆ ภาค 1 (2553) เหนือเมฆ ภาค 2 (2556) หงส์สะบัดลาย (2555) สารวัตรเถื่อน (2559) และซีรีส์ Three Days                   ล่าทะลุฟ้าท้าลิขิตชีวิต (2557) สำหรับแนวคิดที่ใช้เป็นกรอบในการศึกษาประกอบด้วย 1)  แนวคิดเรื่องการทุจริตคอร์รัปชันกับบริบทในสังคมไทย 2) แนวคิดเรื่ององค์ประกอบของละครโทรทัศน์ และ 3) แนวคิดเรื่องการเขียนบทละครโทรทัศน์ โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัยมีดังนี้ 1 เพื่อศึกษาวิเคราะห์ละครโทรทัศน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการโกงและการทุจริตคอร์รัปชัน 2) เพื่อสร้างสรรค์บทละครโทรทัศน์ เรื่อง                   “สืบสัมผัส”  สำหรับผลของการวิจัยมีดังนี้

        1) แนวคิดหลักของเรื่อง ส่วนใหญ่ถูกนำเสนอผ่านเรื่องราวของนักการเมือง นักธุรกิจ ข้าราชการ ตำรวจ นักข่าว ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความเกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชันไม่ว่าจะในแง่ของการทำผิดหรือในแง่ของการเปิดโปงการทุจริตก็ตาม แก่นของเรื่องมักเป็นการต่อสู้เพื่ออุดมการณ์หรือเรียกร้องความยุติธรรมให้กลับคืนมา 2) การนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน ประเด็นที่พบมากที่สุดคือ                            การมีผลประโยชน์ทับซ้อน 3) มุมมองในการนำเสนอ มักมีการนำเสนอผ่านตัวละครหลักที่เป็นผู้ถูกกระทำ หรือเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์ที่ทนเห็นความอยุติธรรมไม่ได้ 4) ลักษณะตัวละครทุจริตคอร์รัปชัน มีลักษณะ    ร่วมกันคือมีความทะเยอทะยาน กระหายอำนาจ ไม่รู้จักพอ ทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและ              พรรคพวก 5) ตอนจบเรื่องโดยมากพบว่าตัวละครที่ทุจริตจะจบลงด้วยความตายรองลงมาคือการถูกตำรวจจับดำเนินคดี

        จากผลการวิจัยก่อให้เกิดผลงานการสร้างสรรค์บทละครโทรทัศน์เรื่อง “สืบสัมผัส” ซึ่งมีขั้นตอนการสร้างสรรค์ 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกำหนดแก่นเรื่อง 2) การวางโครงเรื่องและตัวละคร 3) การวาง         ทรีทเม้นต์ 4) การเขียนบทสมบูรณ์ 5) การแก้ไขและตรวจสอบความเรียบร้อย

References

คมสัน รัตนะสิมากูล. (2555) หลักการเขียนบทวิทยุกระจายเสียงและบทวิทยุโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คำผกา. (2562) คำผกา : คอร์รัปชั่น. สืบค้นจาก https://www.matichonweekly.com/column/article_9217.

นิศาชล เตไชยกูล. (2547) คนเขียนบทละคร Dream Believe Dare Do. กรุงเทพมหานคร: ไฮเออร์เพลส.

ไทยพับลิก้า. (2562) ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชันปี 2561 ไทยคะแนนหล่นมาที่ 36 อันดับร่วงอยู่ที่ 99.สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2019/01/thailand-corruption-perception-index-no-progress-weakening-democracy.

องอาจ สิงห์ลำพอง. (2557) กระบวนการผลิตละครโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร: สามลดา.

ACT. (2560) วงจรคอร์รัปชัน. สืบค้นจาก http://www.anticorruption.in.th/2016/th/detail/135/5/วงจรคอร์รัปชัน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01