พฤติกรรมการใช้บริการ ความพึงพอใจและประโยชน์จากการสั่งอาหารผ่านทาง แอปพลิเคชัน GET Food ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • อรรถพล ทองจันทร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการ ความพึงพอใจจากการใช้บริการและการใช้จากการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน GET Foodโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่ใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน GET Foodจำนวน 400 คน ใช้สถิติเชิงพรรณาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า

        นักศึกษาที่ใช้บริการแอปพลิเคชัน GET Food ส่วนใหญ่เป็นหญิงมีอายุ 20-21 ปี และรายได้ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 8,000-12,000 บาทต่อเดือน ลักษณะการพักอาศัยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.7 จะพักอาศัยอยู่ในหอพักนอกมหาวิทยาลัยร่วมกับคนอื่นสำหรับพฤติกรรมการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันอื่น นักศึกษาส่วนใหญ่ได้ใช้บริการสั่งอาหารผ่าน Grab Food ร้อยละ 38.5 LINE MAN ร้อยละ 36.8และ FoodPanda ร้อยละ 29.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกร้านอาหารในแอปพลิเคชัน GET Food ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.5 เลือกร้านอาหารที่มีโปรโมชันน่าสนใจ รองลงมาคือเลือกร้านอาหารที่เป็นที่นิยม ร้อยละ 46.5  และเลือกเพราะร้านอาหารที่อยู่ใกล้ที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงาน (ร้อยละ 44.3)ส่วนอาหารที่เป็นที่นิยมในการสั่งซื้อ ได้แก่ อาหารไทย ร้อยละ 57.0 รองลงมาในสัดส่วนที่ใกล้กันคืออาหารสตรีทฟู้ด ร้อยละ 56.3 และอาหารญี่ปุ่น ร้อยละ 49.0 นอกจากนี้ ยังพบว่าสื่อที่เป็นช่องทางที่ทำให้รู้จัก GET Food มากที่สุดคือการแนะนำจากครอบครัว เพื่อน คนรู้จัก ร้อยละ 46.8 รองลงมาคือสื่อโทรทัศน์(ร้อยละ 45.3 และสื่อเคลื่อนที่ เช่น สื่อบนรถสาธารณะ รถเมล์ รถไฟฟ้ารถทัวร์ ร้อยละ 41.8 ตามลำดับ

        ด้านความพึงพอใจเฉลี่ยต่อการใช้บริการ GET Food พบว่าทุกด้านคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับ “พึงพอใจมาก” โดยด้านที่มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการให้บริการของพนักงานแอปพลิเคชันมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.03 จากคะแนนเต็ม 5 โดยเฉพาะความเอาใจใส่ต่อการบริการของพนักงานส่งของ รองลงมาคือด้านค่าใช้จ่ายในการใช้บริการซึ่งมีคะแนนเฉลี่ย4.02 โดยผู้ใช้บริการให้คะแนนความเหมาะสมของค่าบริการส่งอาหารมากที่สุด ด้านประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ซึ่งประเด็นความน่าเชื่อถือของแอปพลิเคชันเป็นประเด็นที่มีคะแนนความพึงพอใจมากที่สุด และด้านคุณภาพของอาหารมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 ตามลำดับ

        เมื่อพิจารณาถึงการใช้ประโยชน์จากการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชัน GET Food ส่งผลดีต่อผู้ใช้บริการที่หลายด้านพบว่าสามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจได้ ร้อยละ 64.3 รองลงมาคือ มีเวลาในการทำกิจกรรมอย่างอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 61.3  ทำให้ความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างดีขึ้น ร้อยละ 59.0 และเป็นการเพิ่มความหลากหลายในการเลือกอาหาร ร้อยละ 52.0 ตามลำดับ นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการแอปพลิเคชัน GET Food คิดเป็นร้อยละ 92.3 จะแนะนำให้ใช้บริการ เพราะเห็นว่าใช้งานสะดวก ทำให้ชีวิตง่ายขึ้น มีร้านอาหารให้เลือกค่อนข้างหลากหลาย มีความมั่นใจในบริการ ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน ตลอดจนมีโปรโมชันที่หลากหลาย ค่าบริการเหมาะสม เป็นต้น มีเพียงส่วนน้อยคิดเป็นร้อยละ 7.8 จะไม่แนะนำหรือบอกต่อโดยให้เหตุผลว่า แอปพลิเคชันอื่นใช้งานง่ายกว่าและมีอาหารให้เลือกมากกว่า ไม่ปลอดภัยที่ต้องใช้เบอร์ส่วนตัวในการติดต่อ

        ข้อเสนอแนะที่ผู้ใช้บริการเสนอแนะเพิ่มเติมต่อแอปพลิเคชัน GET Food ได้แก่ ควรมีประเภทอาหารให้เลือกหลากหลายและขยายพื้นที่ในการให้บริการ มีโปรโมชันที่น่าสนใจ ใช้ตัวหนังสือที่อ่านง่าย จัดหมวดหมู่อาหารให้มีระเบียบ ปรับปรุงแอปพลิเคชันให้สามารถใช้งานได้ง่าย ใช้รูปภาพจริงของอาหาร ปรับปรุงโลเคชันให้ทันสมัยอยู่เสมอ จัดอันดับจากความชอบของผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ ด้านเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการทั้งพนักงานส่งอาหารและรับออเดอร์ต้องพัฒนาด้านการบริการควบคู่กัน อาทิ ความถูกต้องในการให้ข้อมูล ความรวดเร็วในการบริการ ความมีวินัยในหน้าที่ ส่งอาหารตามที่ปักหมุด จัดอาหารให้ดูน่ารับประทาน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจภายใต้การแข่งขันที่สูงในปัจจุบัน

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2547). สื่อสารมวลชน : ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เลิฟ แอนด์ ลิฟ.

เกตุวดี สมบูร์ทวี. (2561). ปัจจยัด้านคุณภาพการบริการที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์อาหารผ่านผู้ให้บริการ “Food Panda Application. วารสารการจัดการสมัยใหม่. 16 (1): 153-162. สืบค้นจาก file:///C:/ Users/ asus/ Downloads/134536-Article%20Text-356146-1-10-20180715.pdf.

ฉัฐมณฑน์ ตั้งกิจถาวร. (2557). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในการเปิดรับข้อมูลที่ถูกแชร์ (Shared) ผ่านเฟสบุ๊ค.หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. สืบค้นจาก http://dspace.bu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1635/1/chattamon_tang.pdf.

ชเนศ ลักษณ์พันธุ์ภักดี. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ณัฐรุจา พงศ์สุพัฒน์. (2561). การศึกษาตลาดแอปพลิเคชันอาหารและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการแอปพลิเคชันอาหาร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นจาก http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_6002030382_9907_9882.pdf.

ณัธภัชร เฉลิมแดน. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคในการสั่งอาหารแบบเดลิเวอรี่ผ่านโมบายแอปพลิเคชันช่วงเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม. 2 (1) : 103.

ณิชยา ศรีสุชาต. (2560). พฤติกรรมของผบู้ริโภคที่ซื้อสินค้าอาหารผ่านแอปพลิเคชั่นโทรศัพท์มือถือในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก http://www.wmsjournal.com/.

ตรีสุนันท์ อุปรมัย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้แอพพลิเคชั่นไลน์แมนสั่งอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณพิต (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม) คณะนิเทศศาสตร์และนวัติกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธาวินี จันทร์คง.(2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้โมบายแอพในการสั่งอาหารของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ:สุวีริยสาสน์.

ปรมะ สตะเวทิน. (2541). การสื่อสารมวลชน: กระบวนการสื่อสารและทฤษฎี. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

พิรานันท์ แกล่งกล้า.(2562).การวิเคราะห์คุณลักษณะของบริการแอพลิเคชั่นเพื่ออการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ในกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550) พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ:ธีระฟิล์ม.

Daniel Belanche, Marta Flavian and Alfredo Perez-Rueda. (2020). Mobile Apps Use and WOM in the Food Delivery Sector: The Role of Planned Behavior, Perceived Security and Customer Lifestyle Compatibility. Retrieved from: https://www.researchgate.net/publication/341580993.

Yamanae,Taro. (1973). Statistics:An Introductory Analysis. 3rd ed. New York : Harper & Row Publichers,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01