การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันกับทัศนคติและพฤติกรรมการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นวิยา สามนปาล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การเปิดรับข่าวสาร, การรับรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน      ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามลักษณะทางประชากร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันกับการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันกับทัศนคติที่มีต่อการทุจริตคอร์รัปชันของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร             4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อการทุจริตคอร์รัปชันกับพฤติกรรมการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม       เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ค่า t-test  One-way ANOVA และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient)

 

ผลการวิจัยพบว่า

        1) ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีลักษณะทางประชากร เพศ อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันไม่แตกต่างกัน 

        2) การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันมีความสัมพันธ์กับการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

        3) การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชัน มีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีต่อการทุจริตคอร์รัปชันของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

        4) ทัศนคติที่มีต่อการทุจริตคอร์รัปชัน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการต่อต้านการทุจริต       คอร์รัปชันของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

References

กัญจน์ทนนท์ กสิเกษตรสิริ. (2556). การเปิดรับ การรับรู้ผ่านเครื่องมือสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสินเชื่อ เงินสดทันใจกสิกรไทย ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร (Unpublished Master’s independent study). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กิติมา สุรสนธิ. (2533). ความรู้ทางการสื่อสาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ฉัตรพิไลย หอมไกรลาศ. (2562). การเปิดรับข่าวสารและการยอมรับนวัตกรรมบัตรเดบิตเพื่อการท่องเที่ยวของผู้บริโภค (Unpublished Master’s independent study). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ณัฐพล วัฒนะวิรุณ. (2560). การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้บริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่นของ กลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย (Unpublished Master’s thesis). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นิติพล ภูตะโชติ. (2556). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรทิตา ไกรเทพ. (2556). การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อการใช้บริการตลาดเสมือน (Unpublished Master’s thesis). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , กรุงเทพฯ.

ศรันถ์ ยี่หลั่นสุวรรณ. (2558). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และแนวโน้ม พฤติกรรมที่มีต่อโครงการส่งเสริมสังคมของผู้นำเยาวชน ประเทศอาเซียนและญี่ปุ่น ผ่านช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook) (Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2545). พฤติกรรมองค์การ: ทฤษฎีและการประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สลิลทิพย์ เลิศพงศ์ภากรณ์ (2554) ความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการปฏิบัติงานของพนักงาน สถานีโทรทัศน์ Thai PBS ในเรื่องความรับผิดชอบ ต่อสังคม (CSR) ของสื่อสาธารณะ (Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง. (2560). จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร สืบค้นจาก http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อิศเรศ คําแหง. (2553). การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร กับกิจกรรมรณรงค์ในช่วงเทศกาลของมูลนิธิเมาไม่ขับ (Unpublished Master’s independent study). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01