การสร้างสรรค์สื่อเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ ในพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • เสริมศักดิ์ ขุนพล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำสำคัญ:

สื่อ, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางสร้างสรรค์สื่อเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พยาบาล นักวิชาการ และเจ้าที่ผลิตสื่อ จำนวน 28 คน และกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอป่าพะยอม เกี่ยวกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าและประสิทธิภาพของสื่อผลของสื่อ จำนวน 400 คน วิเคราะห์เนื้อหาและสร้างบทสรุปตามแนวคิด Health literacy as  a personal asset ของ Don Nutbeam ผลวิจัยพบว่าแนวทางการสร้างสรรค์สื่อเพื่อความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าโดยผู้สูงอายุในพื้นที่อำเภอป่าพะยอม ต้องเริ่มจากการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานในการใช้สื่อและเข้าใจสื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ หลังจากนั้นให้ผู้สูงอายุเข้ามามีส่วนร่วมในการคิด ผลิต และเผยแพร่สื่อให้มากที่สุด สื่อที่ผลิตขึ้นจะกลายเป็นเครื่องมือที่สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าให้ผู้สูงอายุที่ผลิตสื่อและเปิดรับสื่อในลักษณะเครือข่าย ทำให้เกิดการช่วยเหลือและรู้เท่าทันโรคภาวะซึมของผู้สูงอายุในชุมชนได้ รวมถึงอิทธิผลจากสื่อส่งผลไปให้ผู้สูงอายุในพื้นที่นำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการตัดสินใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตนเองเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าให้ดีขึ้น 

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561. กรุงเทพ: สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และนฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ. กรุงเทพฯ : กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

ไทยพีบีเอส. (2562). รายการ Backpack Journalist : วัดซึมลึก ชนบทซึมเศร้า . สืบค้น 19 ตุลาคม 2562 จาก https://program.thaipbs.or.th/BackpackJournalist/episodes/56231

นริสา วงศ์พนารักษ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2557). ภาวะซึมเศร้า: ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในผู้สูงอายุ.วารสารพยาบาลทหารบก. 15(3), 24-31.

เบญจวรรณ สอนอาจ. (2562). แนวทางการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของประชากรวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วิทยานิพนธ์สาขาวิชาพัฒนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พีระ จิระโสภณ. (2531). องค์ประกอบและกระบวนการสื่อสารในหลักการและทฤษฎีการสื่อสารมวลชน (หน่วยที่ 11). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เยาวลักษณ์ มีบุญมาก และคณะ. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนกึ่งเมืองแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี. เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 6 (ฉบับพิเศษ), 129-141.

วลัยพร นันท์ศุภวัฒน์. (2551). การพยาบาลผู้สูงอายุ ความท้าทายกับภาวะประชากรสูงอายุ. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์

วาทินี สุขมาก.(2556). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช 1. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัย มหาสารคาม

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). 8 วิธีสังเกต "ภาวะซึมเศร้า" ในผู้สูงอายุ. สืบค้น 21 พฤษภาคม2562. จาก http://resource.thaihealth.or.th/media/thaihealth/16261

ศิริรัตน์ วิชิตตระกูลถาวร. (2545). ความหวัง ภาวะซึมเศร้าและความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมในผู้สูงอายุหลังผ่าตัดหัวใจ.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อุมาพร ตรังคสมบัติ และดุสิต ลิขนะพิชิตกุล. (2539). อาการซึมเศร้าในเด็ก: การศึกษาโดยใช้ Children’s Depression Inventory. สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 41(4), 221-230.

อุทัย ยะรี และมัณฑนา สีเขียว. (2562). การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในยุคไทยแลนด์ 4.0. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 8(1), 222-238.

Akiskal H.S.(2005). The dark side of bipolarity: detecting bipolar depression in its pleomorphic expressions. Journal of Affective Disorders. (84), 107-115.

Blumer, J. G., & Katz, E. (1974). The uses of mass communication: Current perspectives on uses and gratifications research. CA: SAGE Publishing.

Conwell, Y., & Brent, D. (1995). Suicide and aging: I. Patterns of psychiatric diagnosis. International Psychogeriatrics, 7(2), 149-164.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67 (12), 2072-2078.

Norman, C. D. & Skinner, H. A. (2006a). eHealth Literacy: Essential skills for consumer health in a networked world. Journal of Medical Internet Research. 8(2), e9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01