ทาการะ วอง : การสื่อสาร การสร้างความหมาย และวัฒนธรรมกลุ่มย่อย
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมย่อย, ทาการะวองบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การสื่อสารการแสดงความหมายของแบรนด์ ทาการะ วอง (TAKARA WONG)และการสื่อสารของกลุ่มวัฒนธรรมย่อย โดยทฤษฎีที่ใช้ศึกษาคือ ทฤษฎีการสื่อสารแฟชั่น ทฤษฎีการสร้างความหมาย แนวคิดวัฒนธรรมย่อย และทฤษฎีการสื่อสารตราสินค้า การวิจัยนี้เป็น การวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย แหล่งข้อมูล 2 ประเภท คือ 1.ประเภทบุคคล ได้แก่ ดีไซเนอร์ และกลุ่ม ผู้สวมใส่ทั้งหมด 6 คน 2. ประเภทเอกสาร ได้แก่การวิเคราะห์ภาพถ่ายแฟชั่น นิตยสาร การวิเคราะห์ ภาพถ่ายที่ศิลปิน ดาราสวมใส่ชุด และวีดีทัศน์ โดยมีผลการวิจัยดังนี้
1. แบรนด์ ทาการะ วอง มีแรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมย่อย โดย การวางตำแหน่งสินค้า (Brand Position) คือ ความเป็นกบฏ ต่อต้าน ทาการะ วอง ได้ถ่ายทอดเอกลักษณ์ตราสินค้า (Brand Identity)มีสัญญะทั้งหมด 5 สัญญะ ยกตัวอย่างเช่น สีแดงสด หมุดเงิน ฯลฯ สัญญะทั้ง 5 ล้วนมีความหมายเกี่ยวข้องกัน คือ ความกบฏ ความแตกต่าง ทั้งนี้การสื่อสารตราสินค้าจึงสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน
สรุปได้ว่าแบรนด์สื่อความหมายได้อย่างชัดเจนและเป็นที่จดจำจนเกิดการเลือกใช้เสื้อผ้าของแบรนด์จาก
หน่วยงานอื่นๆนำไปสู่ศิลปินที่มีอัตลักษณ์ตรงกับแบรนด์
2. ผลการวิจัยของกลุ่มวัฒนธรรมย่อย สรุปได้ว่าอัตลักษณ์ของกลุ่มมีความสอดคล้องกับแบรนด์ เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคคลให้ความสนใจในการแต่งกายนอกจากนี้กลุ่มเป้าหมายยังมีแรงจูงใจที่ใกล้เคียงกับแบรนด์อีกด้วยนั้นคือความแตกต่างผ่าเหล่าและความหลงใหลดนตรีที่มีรากของดนตรีร็อกเป็น
แก่นหลัก
สรุปได้ว่ากลุ่มวัฒนธรรมย่อยกลุ่มนี้รับเอาความหมายจากแบรนด์มาตกแต่งร่างกายได้ตรงกับความหมายที่แบรนด์สร้างไว้ทั้งนี้ได้มีการผสมผสานเครื่องประดับอื่นๆให้เข้ากับอัตลักษณ์หรือวัตถุประสงค์ของแต่ละบุคคลต่างกันไป โดยความหมายหลักของเสื้อผ้าแบรนด์ ทาการะ วอง ยังคงชัดเจน นั้นคืออำนาจของกบฏนั้นเอง
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2552). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. กรุงเทพฯ : เอดิสัน เพรส โพรดักส์
สุธินี ฉัตรธารากุล. (2557). กลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าและปัจจัยที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจซื้อ ตราสินค้าแฟชั่นดีไซเนอร์ไทย. คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดิฐพงศ์ ประเสริฐไพฑูรย์. (2558). การสื่อสารกับการประกอบสร้างอัตลักษณ์กลุ่ม วัฒนธรรมย่อยของนักเต้น COVER DANCE. คณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี. (2553). “วัฒนธรรมวัยรุ่น” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 22, 1(มิถุนายน) : 25-54.
Barnard Malcolm. (2002). Fashion as communication. London : Routledge.
Sneakthestreet. (2563). Takara Wong เปิดตัวคอลเลคชันใหม่ Pre-Fall/Winter 2018 ภายใต้ชื่อ “ CONSENTED / UNCONSENTED” แบรนด์เสื้อผ้า Hi-Street สัญชาติไทยที่คุณควรรู้จัก. สืบค้น 2 มิถุนายน 2563 จาก https://www.sneakthestreet.com/takara-wong
Iameverything. (2564). TRIAL & ERROR ฐกร วรรณวงษ์ ก้าวต่อไป กับการก้าวกลับมาสู่ตัวตนของ TAKARA WONG. สืบค้น 6 มิถุนายน 2563 จาก https://www.iameverything.co/contents/takara-wong/