แผนต้นแบบการสื่อสารเพิ่มการรับรู้ “แบรนด์ สปสช.” และ “สายด่วน 1330”กับเครือข่ายสื่อสารประชาสัมพันธ์หลักประกันสุขภาพระดับภูมิภาค

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ ศรีดี สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

แผนต้นแบบการสื่อสารเพิ่มการรับรู้ “แบรนด์ สปสช.” “สายด่วน 1330”, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, เครือข่ายสื่อสารประชาสัมพันธ์ระดับภูมิภาค

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดทำแผนต้นแบบการสื่อสาร 2) ประเมินผลการรับรู้ “รู้จัก สปสช.” และ “สายด่วน 1330” 3) จัดทำข้อเสนอตามแผนต้นแบบการสื่อสารเพิ่มการรับรู้“แบรนด์ สปสช.” และ “สายด่วน 1330” ใช้การวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจ โดยใช้แบบสอบถาม กระจายไปยังพื้นที่ในจังหวัดชุมพรและสุราษฎร์ธานี รวม 466 กลุ่มตัวอย่าง และการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกนักปกครองท้องที่ในจังหวัดชุมพร และสุราษฎร์ธานีที่เข้าร่วมการอบรมเครือข่ายประชาสัมพันธ์ สปสช รวม 90  คน   

        ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนต้นแบบการสื่อสาร มี 5 ขั้นได้แก่ 1. การรับรู้ที่นำไปสู่การรู้จัก เรื่องสิทธิประโยชน์การรักษาพยาบาลที่จุดประเด็นความสนใจ 2. การดึงดูดใจที่นำไปสู่การชอบสิทธิประโยชน์ 3. การสอบถามเพื่อนำไปสู่ความเชื่อมั่น ขั้นที่ 4. คือการลงมือทำ ใช้แอปพลิเคชันหรือสายด่วน 1330  5. การนำไปสู่การสนับสนุน โดยเผยแพร่ไปสู่ลูกบ้านจนเกิดการใช้บริการของ สปสช ทุกช่องทางอย่างสม่ำเสมอ 2) ผลการประเมินการรับรู้ “แบรนด์ สปสช.” ร้อยละ 86.3 และการรับรู้ “สายด่วน 1330” ร้อยละ 87.8  3) ข้อเสนอสำหรับสปสช. (1) รักษาเครือข่ายใหม่ทางกลุ่มไลน์ (2) พัฒนาบุคลากรและเครือข่ายให้มีคุณลักษณะของ    นักประชาสัมพันธ์ (3) สร้างระบบเครือข่ายเป็นใยแมงมุม ข้อเสนอเชิงนโยบาย คือ (1) ใช้นโยบายเชิงรุกในการเข้าถึงในพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย (2) ผลิตสื่อที่มีประเด็นโดดเด่นเข้าใจง่าย (3) นำต้นแบบการสร้างการรับรู้นี้ไปใช้ในพื้นที่เป้าหมายอื่นๆ

References

กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2528). จิตวิทยาการศึกษา (Educational Psychology). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ปราณี สุรสิทธิ์. (2555). ศึกษาเรื่องรูปแบบการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสมานฉันท์ของผู้นำชุมชน ในเขตจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยราชภัฎพระนคร. 7(1). 56-69.

ลักษณา สตะเวทิน. (2544). หลักการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟ้า พริ้นติ้ง.

เสรี วงษ์มณฑา. (2540). ครบเครื่องการสื่อสารการตลาด, กรุงเทพฯ: พัฒนภาษา.

สุภัทรา เฮงวาณิชย์. (2541). การรับรู้ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ.2540 - 2541 และพฤติกรรมประหยัดของบิดามารดาและบุตรวัยรุ่น. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒน์ ประสานมิตร).

สิทธิโชค วรานุสันติกูล. (2546). จิตวิทยาสังคม: ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว. (2555). การสื่อสารผ่านสื่อใหม่ในยุคสังคมสารสนเทศ. วารสารอิศราปริทัศน์. 1 (2). 80 -91.

สุจิตรา ลิอินทร์.(2558). การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ พฤติกรรมการใช้บริการและความภักดีของผู้บริโภคที่มีต่อสถานีบริการน้ำมัน พีทีที ไลฟ์ สเตชั่น.วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาการจัดการการสื่อสารองค์กร คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,กรุงเทพมหานคร.

Castells, M. (2009). Communication Power. UK: Oxford

Kotler P. (2002), Marketing Management: Analysis, planning, implementation and control, Prentice Hall: Englewood Cliffs.

Kotler,Philip, Kartajaya Hermawan&Setiawan Iwan.(2016). Marketing 4.0 . New York,United States: John Wiley Sons Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01