การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนของจังหวัดระนอง

ผู้แต่ง

  • ประพจน์ ณ บางช้าง วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

นวัตกรรมการสื่อสาร, ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม, ชุมชนท่องเที่ยวระนอง

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันและพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารแบบมี       ส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวงจังหวัดระนองให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนบนฐานนวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมของชุมชน โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงเจาะลึกกับกลุ่มตัวอย่างประชาชนระนอง แกนนำหรือตัวแทนชุมชน นักท่องเที่ยว และนักวิชาการด้านการสื่อสารและการท่องเที่ยว รวมจำนวน 37 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การตีความเพื่อนำเสนอในลักษณะของการบรรยายเชิงพรรณนาหรือพรรณนาวิเคราะห์

        ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มองว่าสภาพการณ์ปัจจุบันด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนในแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดระนองมีการสื่อสารระหว่างคนในชุมชนอยู่ในทิศทางที่ค่อนข้างดี มีความกระตือรือร้นในการบริการนักท่องเที่ยว โดยมีการสื่อสารเพื่อแนะนำแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่น่าสนใจชาวชุมชนมีความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดระนองอย่างยั่งยืนได้ เพราะมีความรักในชุมชนท้องถิ่นตนเอง และต้องการสร้าง

        นวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์ของการท่องเที่ยวจังหวัดระนอง ควรเน้นการสื่อสารเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่ม  ซึ่งต้องเป็นกลุ่มใหญ่พอสมควรจึงจะส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนได้, นวัตกรรมเชิงกระบวนการฯ ควรเน้นการสื่อสารเกี่ยวกับปรับปรุงพัฒนาการผลิตและการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ สามารถนำเทคนิคและวิธีการปฎิบัติงานใหม่ๆ มาปรับใช้ต่อการผลิตให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ

        นวัตกรรมเชิงตำแหน่งฯ ควรเน้นสื่อสารเกี่ยวกับการสร้างมูลค่าเพิ่มให้การท่องเที่ยว เปลี่ยนตำแหน่งจาก“จังหวัดเล็กคนน้อย เป็นจังหวัดคุณภาพคนเที่ยวมาก”, นวัตกรรมเชิงกระบวนทัศน์ฯ ควรเน้นการสื่อสารเกี่ยวกับการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทางการท่องเที่ยวมานำเสนอให้เหมาะกับตลาดความต้องการของนักท่องเที่ยวนวัตกรรมเชิงสังคมฯ ควรเน้นการสื่อสารว่า การท่องเที่ยวระนองมีการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในชุมชนอยู่เสมอ และให้ความสำคัญกับความเป็นอยู่ของคนในชุมชนรูปแบบการสื่อสารใหม่ฯ ควรเน้นการสื่อสารด้วยสื่อสังคมออนไลน์ในลักษณะ“เที่ยว ณ ระนอง” “Ranong Next” และเนื้อหาลักษณะการสื่อสารใหม่ฯ ควรเน้นการสื่อสารที่สะท้อนให้เห็นถึงการสร้างความร่วมมือกับแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียงอื่นๆ เช่น เน้นเนื้อหาใหม่ว่า“เที่ยวคุ้มค่า มาระนองและชุมพร”

        ชาวชุมชนมีความสามารถในการยกระดับการท่องเที่ยวของจังหวัดระนองให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนได้โดยการส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในกิจกรรมต่างๆร่วมกับชุมชนระนอง

        ชาวชุมชนสามารถใช้นวัตกรรมการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมเพื่อยกระดับการท่องเที่ยวของจังหวัดระนองให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนได้โดยควรพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีและความคิดสร้างสรรค์สู่ความเป็นเลิศเพื่อให้ชาวชุมชนปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแทบตลอดเวลาได้

References

ชลลดา กิจรื่นภิรมย์สุข.(2548).การศึกษาสถานะขององค์ความรู้ด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วมในวิทยานิพนธ์ สาขานิเทศศาสตร์พัฒนาการของไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญา นิเทศศาตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทรงวุฒิ เรืองวาทศิลป์.(2550). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาในพื้นที่บริการของโรงเรียนล้อมแรดวิทยา อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา (2548).การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เพรสแอนด์ ดีไซด์.

ปิรันธ์ ชิณโชติ และธีระวัฒน์ จันทึก.(2559). รูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของสวนผึ้ง.ในวารสารเวอร์ริเดียน อี-เจอร์นัล ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ และศิลปะ. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิยาลัยศิลปากร. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน 2559.

วัชระ ชัยเขต,พล เหลืองรังสี และธิญาดา แก้วชนะ.(2560).พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการเลือกแหล่งท่องเที่ยว กรณีศึกษา แหล่งท่องเที่ยวชุมชนในจังหวัดสงขลา. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

ศุภกิจ แดงขาว.(2557).นวัตกรรมการสื่อสารแนวคิดค่านิยมของคนไทย 12 ประการ ของรัฐบาลพลเอกประยุทธจันทร์โอชา. วิทยานิพนธ์ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภวรรณ เจริญชัยสมบัติ.(2554). การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตชุมชนจาการท่องเที่ยว กรณีศึกษาเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์.(2558). การพัฒนาการสื่อสารภาพลักษณ์และตราสินค้าแหล่งท่องเที่ยวอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม บนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน. รายงานการวิจัย สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.).

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์.(2561). เศรษฐกิจดิจิทัล. สืบค้นวันที่ 19 มิถุนายน 2561,จาก https://www.etda.or.th/digital-economy.html

Gale, R. (2005). Sustainable Tourism: The Environmental Dimensions of Trade Liberalization in China. D. Shrubsole and N. Watson (Eds.), Sustaining Our Futures: Perspectives on Environment, Economy and SocietyUniversity of Waterloo , Waterloo, Ontario.

Saengsiriroj, P. (2011). Hot Spring Goers: A Case Study of Raksawarin Hot Spring, Ranong Province, Thailand. AU-GSB-e-Journal, 4(1): 118-125.

Hao et al. (2003).Forecasting Model of Tourist Arrivals from Major Markets to Thailand. Retrieved from www.ingentaconnect.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01