การพัฒนาสื่อวีดีทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • จักรกฤษฎ์ แก้วประเสริฐ สาขาวิชาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

คำสำคัญ:

วีดิทัศน์, การท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ (1)เพื่อพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง  (2) เพื่อหาคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง (3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับชมสื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง          

        กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ผู้ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้ารับชมสื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง จำนวน 385 คน ซึ่งได้จากการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของคอแครน กรณีที่ไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน หลังจากนั้นได้ทำการสุ่มตามสะดวก (Convenience Sampling) ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยสื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโดยชุมชน ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง  แบบประเมินคุณภาพและแบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับชมสื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติพื้นฐานหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ()  และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) 

        ผลการวิจัยพบว่า (1) แบบประเมินคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง แบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการลำดับภาพ ด้านเทคนิคการนำเสนอ และด้านเสียงบรรยายและเสียงประกอบ พบว่า ผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.26 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.60 (2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้รับชมที่มีต่อสื่อวีดิทัศน์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการลำดับภาพ และด้านเสียงบรรยายและเสียงประกอบ พบว่า ผู้รับชมสื่อวีดีทัศน์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 4.58 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.62

References

ฐิรชญา มณีเนตร. (2553). แรงจูงใจและพฤติกรรมการทำงานในธุรกิจท่องเที่ยววชายแดนไทย-ลาว. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

เนาวนิตย์ สงคราม. (2554). การสร้าง Digital Video & Digital Storytelling เพื่อการเรียนการสอนยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปริวรรต สมนึก. ( 2558 ). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อวีดิทัศน์เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน. (2542).แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ.สืบค้นเมื่อ (19 พฤศจิกายน 2560) https://www.gotoknow.org/posts/492000

วีระพล ทองมา,ประเจต อำนาจ. (2547). ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวต่อประชาชนในพื้นที่ ตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ภาควิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้:เชียงใหม่.

วชิระ อินทร์อุดม. (2539). เอกสารประกอบการสอนวิชา 212703 การผลิตวิดิทัศน์เพื่อการศึกษา. ขอนแก่น : สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์.

อาทินันทน์ แก้วประจันทร์และลักษณา คล้ายแก้ว. (2563) การวิจัยและสร้างสรรค์สื่อวีดิทัศน์แนวตั้งเพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวนวัตวิถีอำเภอหนองแซง จังหวัดสระบุรี การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563 ปทุมธานี.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01