การรู้เท่าทันสื่อโฆษณาในเด็กระดับประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ชิโนรส ถิ่นวิไลสกุล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การรู้เท่าทันสื่อ, การรู้เท่าทันสื่อโฆษณา, เด็กประถมศึกษา

บทคัดย่อ

        บทความนี้นำเสนอแนวทางการศึกษาเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาในเด็กระดับประถมศึกษา ซึ่งได้นำแนวคิดด้านการรู้เท่าทันสื่อ และการรู้เท่าทันสื่อโฆษณามาพิจารณาร่วมกับการสัมภาษณ์เด็กระดับประถมศึกษา  โดยอาศัยงานโฆษณาสองชิ้น  เพื่อยกตัวอย่างประกอบการอธิบายการรู้เท่าทันสื่อจากปัจจัย 4 ประการ ได้แก่ โครงสร้างความรู้ แรงจูงใจในการตัดสินใจเปิดรับสื่อ ความสามารถ และทักษะส่วนตัว รวมถึงกระบวนการประมวลผลข้อมูล และค้นหาการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาใน 4 มิติ ได้แก่  การรู้เท่าทันสารสนเทศ การรู้เท่าทันด้านภาพและสุนทรียะ การรู้เท่าทันวิธีการโน้มน้าวใจ  และการรู้เท่าทันการส่งเสริมการตลาด  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาในเด็กระดับประถมศึกษา  เนื่องจากเด็กประถมศึกษามีการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาจำกัดจากการมีโครงสร้างความรู้น้อยอีกทั้งยังมีความสามารถมีทักษะการคัดกรองข้อมูลการเชื่อมโยงและการสร้างความหมายใหม่ไม่เพียงพอเพราะยังมีประสบการณ์ในชีวิตน้อยดังนั้นควรได้รับการส่งเสริมที่ถูกต้องจากครอบครัวครูหรือผู้ใหญ่เช่นการอบรมเพิ่มความรู้จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และการสร้างเครือข่ายระหว่างโรงเรียน

References

ไกรฤกธิ์ บุณยเกียรติ. (2561). เส้นทางโฆษณาไทย. ใน ธนเดช กุลปิติวัน (บ.ก.), advertising value 50 Years forward. กรุงเทพฯ: ไทยคูน แบรนด์เอจ โฮลดิ้ง. (น. 49 - 50)

ชัยประนิน วิสุทธิผล. (2561). โฆษณากับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. ใน ธนเดช กุลปิติวัน (บ.ก.), advertising value 50 Years forward. กรุงเทพฯ: ไทยคูน แบรนด์เอจ โฮลดิ้ง. (น. 12)

ชิโนรส ถิ่นวิไลสกุล. (2561). การรู้เท่าทันสื่อโฆษณาในรายการการ์ตูนสำหรับเด็ก (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

นิษฐา หรุ่นเกษม. (2554). รู้เท่าทันสื่อ: แนวคิดและทฤษฎี. ใน ธาม เชื้อสถาปนศิริ (บ.ก.), รู้ทันสื่อ. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด. (น.24)

พรรณพิมล วิปุลากร. (2554). ทำไมเด็กจึงจำเป็นต้องรู้ทันสื่อ. ใน ธาม เชื้อสถาปนศิริ (บ.ก.), รู้ทันสื่อ. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด. (น.47)

พรรณี อมรวิพุธพนิช. (2553). ใครต้องรับผิดชอบ เมื่อเด็กไทยเป็นเหยื่อโฆษณา. ใน พรรณพิมล หล่อตระกูล (บ.ก.), รายงานพิเศษเรื่องการเฝ้าระวังสื่อ จากโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการรายงานข่าวการเฝ้าระวังสื่อ. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด. (น.3)

แพรวพรรณ สุริวงศ์. (2558). เด็ก“โดน” โฆษณาอาหารลวง“วอน” กสทช. เร่งแก้ไข. เข้าถึงได้จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/28387- สืบค้น 26 มิถุนายน 2562

ภาณุ อิงคะวัต. (2561). เส้นทางโฆษณาไทย. ใน ธนเดช กุลปิติวัน (บ.ก.), advertising value 50 Years forward. กรุงเทพฯ: ไทยคูน แบรนด์เอจ โฮลดิ้ง. (น. 64)

สุชาดา จักรพิสุทธิ์. (2554). หน้าที่พลเมืองกับการรู้เท่าทันสื่อ. ใน ธาม เชื้อสถาปนศิริ (บ.ก.), รู้ทันสื่อ. กรุงเทพฯ: ออฟเซ็ท ครีเอชั่น จำกัด. (น.61)

Malmelin, N. (2010). What is Advertising Literacy? Exploring the Dimensions of Advertising Literacy. Journal of Visual Literacy 29(2),129–140.

Potter, W. J. (2011). Media Literacy. Thousand Oaks, CA: Sage Publication, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01