ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะความฉลาดทางดิจิทัลกับพฤติกรรม การเป็นพลเมืองดิจิทัลของเยาวชนไทยในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จุไรรัตน์ ทองคำชื่นวิวัฒน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

ทักษะความฉลาดทางดิจิทัล, พฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัล, เยาวชนไทย

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลและพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลของเยาวชนไทย และ2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลและพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลของเยาวชนไทย โดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในกรุงเทพมหานคร จำนวน  357 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

        ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลและพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมิติการรักษาอัตลักษณ์และข้อมูลส่วนบุคคล อยู่ในระดับมากที่สุด มิติจริยธรรมทางดิจิทัล มิติของกิจกรรมบนสื่อสังคมดิจิทัล และมิติทักษะและความสามารถในสภาพแวดล้อมดิจิทัล อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ  2) ทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัล มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับมากกับพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัล ทั้ง 4 มิติ ทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลและพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียน ในมิติการรักษาอัตลักษณ์และข้อมูลส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับมาก ในมิติจริยธรรมทางดิจิทัล มิติทักษะและความสามารถในสภาพแวดล้อมดิจิทัล  และมิติของกิจกรรมบนสื่อสังคมดิจิทัล มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับปานกลาง

References

กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.(2562).รายงานการพัฒนาเด็กและเยาวชนประจำปี 2561. กรุงเทพฯ: กรมกิจการเด็กและเยาวชน.

กฤตย์ษุ พัชสารนอก และปณิตา วรรณพิรุณ. (2561). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตออฟเอเวอรี่ธิงเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้แบบภควันตภาพสำหรับพลเมือดิจิทัล. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี, 7(1),120-134.

กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (22 มีนาคม 2564). สถานการณ์การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลของประชาชนในประเทศไทย ปี 2563-2564. มติชน, น.13.

ธีรวัฒน์ รูปเหลี่ยม และสมบัติ ท้ายเรือคำ. (2561). การพัฒนาโปรแกรมเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37(5)43-53.

นิตยา วงศ์ใหญ่. (2560). แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของดิจิทัลเนทีฟ. Veridian E-Journal, Silpakorn University.

ปองกมล สุรัตน์. (2561). การรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในมิติสังคมวัฒนธรรม: กรณีศึกษาเยาวชนไทยเจเนอเรชั่น Z. (ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ :นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

ลักษมี คงลาภ และคณะ. (2561). การจัดทำ Fact Sheet ความฉลาดทางดิจิตอล (Digital Intelligence: DQและการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน.

ศิณาภรณ์ หู้เต็ม. (2552). พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาในระดับปริญญาตรีวิทยาลัยราชพฤกษ์. วิทยาลัยราชพฤกษ์, นนทบุรี.

เศกสรร สกนธวัฒน์. (2560). กลยุทธการบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนตคาเบรียลแห่งประเทศไทยตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

เว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ. (24 มิถุนายน 2562). ข้อมูลสารสนเทศกระทรวงศึกษาธิการ.www.moe.go.th/ data/stat

จุฑา ภักดีกุล. (2558).เด็กยุคดิจิตอล.สารานุกรมศึกษาศาสตร์. สืบค้นจากhttp://ejournals.sw u.ac.th/index.php/ENEDU/article/download

ฉัตรพงศ์ ชูแสงนิล. (2561). ยุคพลเมืองดิจิทัล. สืบค้นจาก https://www.scimath.org/article-technology/item/ 8659-2018-09-11-07-58-08

วรัชญ์ ครุจิต. (2560). รูปแบบของการสื่อสารในสื่อดิจิทัลที่ส่งผลกระทบแง่ลบต่อเด็กและเยาวชนและแนวทางในการดูแล. สืบค้นจาก https://tci-thaijo.org

สุกัญญา สุดบรรทัด. (2563). วิถีแห่งพลเมืองเน็ต. สืบค้นจาก https://www.law.cmu.ac.th/ law2011/ journal/e1569224624.pdf

Ribble, M. (2011). Digital Citizenship in schools. The Nine Elements of Digital Etiquette. Washington, DC: International Society for Technology in Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-01