องค์ประกอบทางการสร้างสรรค์งานโฆษณาที่ใช้เทคนิคซิเนมากราฟบนสื่อสังคมออนไลน์
คำสำคัญ:
องค์ประกอบทางการสร้างสรรค์, งานโฆษณา, ซิเนมากราฟบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจองค์ประกอบทางการสร้างสรรค์งานโฆษณาที่ใช้เทคนิคซิเนมากราฟบนสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องได้แก่ 1) แนวคิดเกี่ยวกับซิเนมากราฟ 2) ปรัชญาว่าด้วยสุนทรียภาพทางการสื่อสาร 3) แนวคิดทฤษฎีเทคโนโลยีเป็นตัวกำหนด และ 4) แนวคิดเรื่องการรับรู้ (Perception) มาใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์งานโฆษณาที่ใช้เทคนิคซิเนมากราฟบนสื่อสังคมออนไลน์ การศึกษานี้ทำการวิเคราะห์งานโฆษณาที่ใช้เทคนิคซิเนมากราฟบนสื่อสังคมออนไลน์จำนวน 12 ชิ้นงาน โดยใช้แนวทางวิเคราะห์ตารางกรองการรับรู้ (Repertory Grid) เป็นเครื่องมือทางการศึกษา
ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบการสร้างสรรค์งานโฆษณาที่ใช้เทคนิคซิเนมากราฟที่มีประสิทธิภาพทางการสื่อสาร ประกอบด้วย 1) หลักการสร้างความเคลื่อนไหว (Movement) เป็นการเล่าเรื่องแบบคู่ขนานระหว่างภาพนิ่งกับภาพเคลื่อนไหวบนหลักการปรากฎพร้อมของมิติด้านกาลและเทศะ 2) หลักแห่งชีวิต (Life) เป็นการเล่าเรื่องผ่านความสัมพันธ์แบบชีวาสมาสัย (Symbiotic Relationship) ระหว่างรูปธรรมของภาพนิ่งกับความหมายนามธรรมจากความเคลื่อนไหว 3) การใช้องค์ประกอบ Minimalism 4) สุนทรียะของแสง (Lighting) กับพลังความเคลื่อนไหว 5) การบูรณาการหลักจิตวิทยาของสี (Color) ร่วมกับสีในเชิงสัญลักษณ์เพื่อสื่ออารมณ์ของสินค้า และ 6) การโน้มน้าวใจผ่านเนื้อหาเชิงอารมณ์ (Emotional)
References
กฤษณ์ ทองเลิศ. (2555). อมนุษย์ในสื่อ: จากความพร่ามัวสู่จินตนาการรูปธรรม. กรุงเทพ: โรงพิมพ์เอเซียดิจิตอลการพิมพ์ จำกัด.
วัฒนาพร เขื่อนสุวรรณ. (2547). หลักการทัศนศิลป์. สืบค้นจาก http://watkadarin.com/E-(new)1/index.htm,
สมเกียรติ ตั้งนโม. (2552). 100 ปีลัทธิฟิวเจอร์ริสม์: ลัทธิศิลปะแห่งการทำลาย (Futurism100) สืบค้นจาก http://midnightuniv.tumrai.com/midnighttext/ 0009999758.html, 7 ธันวาคม 2663.
ศุภวิช อิศรางกูร ณอยุธยา, (2552). ความงดงามของความเรียบง่าย? Is Less More?. วารสารศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 13,(1) : 96-103.
Burberry. (2015). Nail colour inspired. Retrieved from https://bit.ly/3iO5pts.
Burg, Kevin. Jamie Beck. (2011). Mystical Wonderland. Retrieved from https://bit.ly/3oP6c11
Burg, Kevin. (2014). Bbalenciaga. Retrieved from https://bit.ly/3anBaES
Burg, Kevin. (2015). Fashion. Retrieved from https://bit.ly/3oPP1MA
Burg, Kevin. (2015). Chopard. Retrieved from https://bit.ly/3oNDqO2)
Burg, Kevin. (2015). Stuart Weitzman. Retrieved from https://bit.ly/3aql5h
Elliot, Andrew. Maier,Markus. (2007) .Color and Psychological Functioning. Journal of Experimental Psychology. 16(5), 250-254
Grit Thonglert. (2003). Imagination themes of photo-text target printed group in advertisements. Journal of Communication Arts. 21(1), 96-103
Jakobson. (1987). Roman. Language in Literature. London, The Belknap Press of Harvard University Press.
Jammer, Max. (2006). Concepts of Simultaneity: From Antiquity to Einstein and Beyond. Baltimore : Johns Hopkins University Press.
Lambert, J. (2013). Digital storytelling: Capturing lives, creating community. NewYork: Routledge.
Leonard, Shlain. (1991). Art&physics parallel visions in space, time & light. New York: Quii William Morrow.
Lubbock,Tom. (2011). Great Works: Dynamism of A Dog on a Leash (1912) Giacomo Balla Retrieved from https://www.independent.co.uk/arts-entertainment/art/great-works/great-works-dynamism-dog-leash-1912-giacomo-balla-1781174.html,
McLuhan, M. (1964). Understanding media: The extensions of man. New York : McGraw-Hill.
Photofunky. (2019). Glass of red wine. Retrieved from https://www.photofunky.net/i/09323
Vera Mevorah. (2017) What is a Cinemagraph? Retrieved from www.widewalls.ch/magazine/cinemagraph.
W Kurokawa, Kisho. (1994). The Philosophy of Symbiosis. Great Britain, Academy Group.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.