การศึกษาความรู้ด้านจิตวิทยาและอาชญาวิทยาเพื่อการสร้างสรรค์บทภาพยนตร์
คำสำคัญ:
ภาพยนตร์, อาชญาวิทยา, จิตวิทยาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิเคราะห์ความรู้ด้านจิตวิทยาและอาชญาวิทยาเพื่อการสร้างสรรค์บทภาพยนตร์ โดยมุ่งเน้นศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมความรุนแรงอันนำไปสู่การเป็นฆาตกรที่จะนำมาประกอบสร้างเป็นรายละเอียดของตัวละครหลัก รวมไปถึงแก่นสาระของภาพยนตร์ ผู้สร้างสรรค์ได้ใช้งานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยารวมถึงนักอาชญาวิทยา โดยการนำแนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์และทฤษฎีอาชญาวิทยามาเป็นแนวทางในการศึกษาองค์ความรู้อีกทั้งยังสนับสนุนผลการวิเคราะห์งานวิจัยในครั้งนี้ได้อีกด้วย ทั้งนี้ผู้สร้างสรรค์ยังได้นำแนวคิดการเล่าเรื่องและแนวคิดภาพยนตร์สะท้อนสังคมมาร่วมศึกษาเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์บทภาพยนตร์ทั้งในส่วนของกระบวนการถ่ายทอดการเล่าเรื่องผ่านบทภาพยนตร์นำไปสู่การให้คุณค่าแก่สังคม
ผลการวิจัยพบว่า อาชญากรรมเกิดจากปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัยที่ต้องอาศัยการเกิดปัจจัยเหล่านั้นร่วมกันคือปัจจัยทางชีววิทยา ปัจจัยทางสังคมวิทยาและปัจจัยทางจิตวิทยา โดยปัจจัยแรกคือปัจจัยทางชีววิทยาที่มีสาเหตุจากสารเคมีในร่างกายหรือความผิดปกติทางพันธุกรรมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทและการทำงานในร่างกายที่มีผลต่อพฤติกรรมของยุวอาชญากร ยิ่งไปกว่านั้นในส่วนของปัจจัยทางสังคมวิทยานั้นพบว่าถ้าหากเยาวชนได้รับการบ่มเพาะเลี้ยงดูที่ขาดความรักความเอาใจใส่ ผู้ปกครองไม่มีเวลาอบรมสั่งสอน เกิดปัญหาภายในครอบครัว การมีเรื่องทะเลาะวิวาทที่อาจสร้างบาดแผลในใจ ก่อให้เกิดความกดดัน บีบคั้นต่อจิตใจสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลต่อสภาพจิตใจของเด็กมากขึ้นนำไปสู่การมีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนและกระทำความผิดในที่สุด จึงสามารถสรุปได้ว่าปัจจัยทางจิตวิทยานั้นเกิดจากอาการบกพร่องทางสมองและสภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมพฤติกรรมทางอาชญากร รวมถึงความผิดปกติทางด้านอารมณ์ที่ขัดแย้งแปรปรวนเป็นผลมาจากสภาพการกดดันและสภาวะทางจิตที่สะสมมาในวัยเด็กทางด้านพฤติกรรมและบุคลิกภาพของยุวอาชญากรเกิดจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ได้รับจากปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นมาตั้งแต่เยาว์วัยไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมในสังคม สภาพความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อม ค่านิยม ทัศนคติ นิสัยใจคอ ความรู้สึกนึกคิดและลักษณะอื่น ๆ ที่เกิดจากการปะทะสัมพันธ์ระหว่างบุคคลล้วนก่อให้เกิดพฤติกรรมส่วนตัวของยุวอาชญากร
References
กฤษดา เกิดดี. (2541). ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์: การศึกษาว่าด้วย 10 ตระกูลสำคัญ.กรุงเทพฯ: พิมพ์คำ.
คมณัฏฐิกรณ คลี่สุวรรณ. (2559). ผลกระทบของความรุนแรงในสังคม (Unpublished Master’s thesis). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
เฉลิมเกียรติ ผิวนวล. (2535). จิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สมิต.
ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2542). วาทกรรมการพัฒนา : อำนาจ ความรู้ ความจริง เอกลักษณ์และความเป็นอื่น. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและผลิตตำรา มหาวิทยาลัยเกริก.
ไทยโพสต์. (2561). เด็กก่อคดีเฉลี่ยวัันละ 83 ราย กรมสุขภาพจิตเผยน่าห่วงยิ่งขึ้น 3 ปี พบก่อคดีซ้ำเพิ่ม 7%. สืบค้นจาก https://www.thaipost.net/main/detail/16642
นพพร ประชากุล. (2552). ยอกอักษร ย้อนความคิด เล่ม 1 ว่าด้วยวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: อ่าน.
นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล. (2543). บทบาทของบิดามารดาของเยาวชนที่กระทำผิดกฎหมาย. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล. (2548). อาชญากรรมการป้องกัน:การควบคุม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เบส ชวลิตปรีชา. (2549). ผู้หญิงกับการกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา: กรณีศึกษาทัณฑสถานหญิงธนบุรี (Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ประธาน วัฒนวาณิชย์. (2546). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาชญาวิทยา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ประกายพรึก.
ปิยกุล เลาวัณย์ศิริ. (2526). ความรู้ทั่วไปทางภาพยนต์. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปิยะวัฒน์ เข็มทอง. (2555). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเป็นยุวอาชญากรของเยาวชนชาย (Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พรจันทร์ เสียงสอน. (2557). การนำเสนอผู้หญิง และความรุนแรงในภาพยนตร์ไทย (Unpublished Master’s thesis). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ภัทรวดี สุพรรณพันธุ์. (2553). ปัญหาในหนังสะท้อนปัญหาสังคมของท่านมุ้ย. สืบค้นจาก https://www.sarakadee.com/2010/02/14/critic-about-film-of-chatreechalerm/
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. (2550). เอกลักษณ์ไทยที่มีผลต่อการสร้างสรรค์งานอุตสาหกรรมสารัตถะ: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรเดช จันทรศร. (2522). สาเหตุของอาชญากรรม: ทฤษฎีและแนวความคิดที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.
วิจิตพาณี เจริญขวัญ. (2551). ระบบและทฤษฏีทางจิตวิทยา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
สมภพ แจ่มจันทร์. (2550). ประสบการณ์ทางจิตใจของผู้ต้องขังหญิงคดีฆาตกรรม ใน ทัณฑสถานหญิงเชียงใหม่ (Unpublished Master’s thesis). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สาวิตรี ไพฑูรย์. (2533). ปัจจัยที่นำมาสู่การกระทำผิดซ้ำของสตรี (Unpublished Master’s thesis). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เอกชัย ไชยอำพร. (2559). รูปแบบและวิธีการควบคุมทางสังคมต่อความเป็นหนึ่งเดียวกัน:กรณีศึกษาชุมชนพฤกษา (Unpublished Master’s thesis). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Gibbons, D. C. (1973). Society Crime and Criminal Careers. New Delhi: Prentice – Hall.
Goff, C. and Geis, G. (2008). The Michael-Adler report (1933): Criminology under the microscope. USA: Wiley Periodicals, Inc.
Mannheim, H. (1973). Comparative Criminology. Trowbridge: Redwood Press Limited.
Sutherland, E. H., & Cressey, D. R. (1978). Criminology (10th ed.). Philadelphia: Lippincott.