การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ และการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของนักศึกษา
คำสำคัญ:
การเปิดรับข่าวสาร, การรับรู้, การมีส่วนร่วม, การสร้างเสริมสุขภาวะบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้และการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของนักศึกษา โดยเป็นการศึกษาในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ จากการใช้แบบสอบถาม ในการเก็บข้อมูลจากนักศึกษาในเครือข่ายสมาคมอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย จำนวน 160 คน ผลการวิจัย พบว่า
ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20-22 ปี มากที่สุด สังกัดวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต มากที่สุด รองลงมา คือ คณะดิจิทัลอาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต และวิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และอาชญาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต มีจำนวนเท่ากัน ตามลำดับ
การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของนักศึกษา พบว่า สื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้เรื่องการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษา คือ สื่อบุคคล เช่น อาจารย์ เพื่อนนักศึกษา ฯลฯ มากที่สุด สื่อกิจกรรมที่ให้ความรู้โดยตรงเกี่ยวกับกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษา มากที่สุด คือ การสัมมนา การอบรม หรือกิจกรรมสันทนาการต่าง ๆ ความเหมาะสมของผู้ส่งสารในการให้ความรู้ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มากที่สุด ผู้รับสารที่ทางมหาวิทยาลัยต้องให้ความสำคัญในการได้รับความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ มากที่สุด คือ นักศึกษา
การรับรู้และการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของนักศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เคยเข้าร่วมกิจกรรมการให้ความรู้เรื่อง การสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม เคยการเข้าร่วมกิจกรรมทางด้านการส่งเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยที่สังกัด ในประเด็นการลด ละ เลิก บุหรี่ สุรา และสิ่งเสพติด มากที่สุด รองลงมา คือ ความรักและเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย และการป้องกันอุบัติเหตุจากจราจร เหตุผลที่เข้าร่วมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อม เพื่อเปิดโลกทัศน์/รับสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเอง/เพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ/ความรอบรู้อื่นๆ มากที่สุด ประโยชน์ที่ได้รับจากการรับรู้และมีส่วนร่วมจากกิจกรรม คือ การสร้างเครือข่ายในการดูแลการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมสำหรับนักศึกษา มากที่สุด ความต้องการต่อรูปแบบกิจกรรม พบว่า ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในรูปแบบการอบรม/การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้และทักษะ มากที่สุด ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในประเด็นพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ มากที่สุด ต้องการให้มีการจัดกิจกรรมในช่วงวันจันทร์ - วันศุกร์ มากที่สุด ต้องการให้มีการจัดกิจกรรม ในช่วงเวลา 1 – 3 ชั่วโมง มากที่สุด ต้องการให้มีการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศและการป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ ผ่านสื่อเฟซบุ๊ก/ แฟนเพจ มากที่สุด
References
กรมอนามัย. (2558). การให้บริการการอนามัยเจริญพันธุ์ : คู่มือสำหรับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ชัชญา สกุณา. (2559). การศึกษาการเปิดรับข่าวสารและความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อโครงการด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจําปี 2559: 1031-1039.
ณฐวัฒน์ พระงาม. (2562). อิทธิพลสื่อประชาสัมพันธ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อของนักเรียนในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ. วารสารหาดใหญ่วิชาการ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.17 (1) : 49-68.
ดวงฤทัย พงศ์ไพฑูลย์. (2544). การเปิดรับข่าวสารความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับเพศศึกษาของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล งามสง่า. (2552). ความต้องการข้อมูลข่าวสารด้านเพศศึกษาทางอินเทอร์เน็ตของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัญฑิต คณะศิลปะศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นรินท์ชัย พัฒนพงศา.(2542). การสื่อสาร-รณรงค์เชิงยุทธศาสตร์เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์เน้นการเจาะจงกลุ่มและมีส่วนร่วม. กรุงเทพมหานคร : รั้วเขียว.
พันธุ์ทิพย์ บุญเกื้อม. (2560). การศึกษาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่นในอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.5(2).15-16
ภาวิณี น้อยช่างคิด.(2560).พฤติกรรมการเปิดรับข่าวและความพึงพอใจต่อรูปแบบการนำเสนอข่าวผ่านเฟซบุ๊กของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เมธาวี จำเนียรและเมธี แก้วสนิท. (2561). การสื่อสารสุขภาพเพื่อสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์,24(2), : 155-166.
เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2563). การสื่อสารสุขภาพผ่านสื่อสังคมเครือข่ายกับกลุ่มโรค NCDs ตาม แนวคิด“สร้างนําซ่อม”. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี,6(1), : 56-67.
วราภรณ์ บุญเชียง. (2558). อนามัยโรงเรียน. (พิมพ์ครั้งที่2). เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภาพร ศรีสัตตรัตน์. (2561). การประเมินผลการสื่อสารโครงการพัฒนาศักยภาพและเครือข่ายผู้หญิงพิการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะผู้หญิงพิการ.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี 12(29),66-76.
สุวัลยา นูเร. (2547).การแสวงหาข่าวสาร การใช้ประโยขน์ และความพึงพอใจต่อความรู้เรื่องเพศของกลุ่มผู้อ่านนิตยสารผู้หญิงภาษาไทยชื่อต่างประเทศในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์พัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หทัยรัตน์ เหล็กกล้า.(2550). การศึกษาองค์ความรู้จากวิทยานิพนธ์ สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.วารสารนิเทศศาสตร์, 25(2): 63-82.
อุทัย สงวนพงศ์ และสุวิจักขณ์ สว่างอารมณ์. (2550). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน สุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1. กรุงเทพมหานคร : เพอร์เพ็คท์.
De fleur, Melvin Lawrence. (1966). Theories of mass Communication. New York: Mckay.
Roger and Shoemaker.(1971).Communication of Innovation : a cross-cultural approach. New York :The Free Press.
Samuel L.Becker. (1972). Discovering Mass Communication. Illinois : Scott Foresman and Company Glenview.
Spradley, J. P. (1979). The ethnographic interview. Fort Worth: Holt, Rinehart and Winston.