กลยุทธ์การนำเสนอข่าวสารในสื่อเฟซบุ๊ก ของสำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 กรมประชาสัมพันธ์
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การนำเสนอข่าวสาร, สื่อเฟซบุ๊ก, สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 กรมประชาสัมพันธ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร 3) ความพึงพอใจของสมาชิกแฟนเพจและเฟซบุ้กกลุ่ม 4) ความต้องการข้อมูลข่าวสารของสมาชิกแฟนเพจและเฟซบุ้กกลุ่ม ของสำนักประชาสัมพันธ์เขต 7
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานฝ่ายประชาสัมพันธ์สื่อเฟซบุ้กสำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 จำนวน 4 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปความ ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกเฟซบุ๊กแฟนเพจและเฟซบุ๊กกลุ่มของสำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 จำนวน 413 คน เลือกตัวอย่างแบบสมัครใจ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการนำเสนอข้อมูลข่าวสารของสื่อเฟซบุ้กสำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 ประกอบด้วย 8 ขันตอน คือ (1) การคัดเลือกข้อมูลข่าวสารจากสื่อประเภทต่างๆ (2) การวิเคราะห์ประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจจากประชาชน โดยยึดโยงกับนโยบายของรัฐบาลและภารกิจของกรมประชาสัมพันธ์ (3) การวิเคราะห์เนื้อหา สรุปใจความสำคัญ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่กระชับและเข้าใจได้ง่าย (4) การเลือกรูปแบบในการนำเสนอ (5) การดำเนินการผลิตตามรูปแบบการนำเสนอที่วางไว้ (6) การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร (7) การดำเนินการไลค์ และ แชร์ ไปยังหน้าเฟซบุ๊กบุคคล และเฟซบุ๊กกลุ่ม ตามกลุ่มเป้าหมายของข่าวสาร (8) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกจากการนำเสนอเพื่อปรับปรุงและแก้ไข 2) กลยุทธ์การนำเสนอข้อมูลข่าวสารประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ คือ (1) กลยุทธ์ด้านผู้ส่งสาร โดยใช้ความน่าเชื่อถือความเป็นหน่วยงานภาครัฐ การสร้างการจดจำในตัวบุคคลผ่านผู้ประกาศ (2) กลยุทธ์ด้านสาร โดยนำเสนอข้อมูลข่าวสารหลายรูปแบบเพื่อตอบสนองความต้องการกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย การกำหนดประเด็นข้อมูลข่าวสารในเรื่องนโยบายและสวัสดิการของทางภาครัฐที่กำลังได้รับความนิยม เพื่อสร้างตลาดที่มีความเฉพาะกลุ่ม (3) กลยุทธ์ด้านช่องทางการสื่อสาร ทางสื่อเฟซบุ๊กเนื่องจากมีระบบการวิเคราะห์ข้อมูลการเข้าถึงที่ทำให้ทราบถึงข้อมูล ของประเด็นข่าวสารที่เป็นที่สนใจ รวมถึงสามารถวัดผลและประสิทธิภาพของข้อมูลข่าวสารที่ทำการเผยแพร่ไปออกมาเป็นตัวเลขทางสติถิที่เป็นรูปธรรมได้ 3) สมาชิกแฟนเพจและกลุ่มเฟซบุ๊กของสำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 มีความพึงพอใจด้านเนื้อหา วิธีการนำเสนอ เทคนิค และการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก 4) ความต้องการเนื้อหา วิธีการนำเสนอ ด้านเทคนิค การมีส่วนร่วม อยู่ในระดับมาก
References
กัณฐ์ทัพ เลิศฤทธิเศรษฐ์. (2562). กระบวนการนําเสนอข่าวและการคัดกรองข่าวปลอมของรายการข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 7HD. สืบค้นจาก : http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/4591/3/gunthap_lert.pdf.
เกศริน รัตนพรรณทอง. (2555). การวิเคราะห์เนื้อหาสารประชาสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนการตลาดของสินค้าอุปโภคบริโภคบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ. สืบค้นจาก : http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45135.
นนทญา หงษ์รัตน์. (2550). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการพัฒนาแบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโรงเรียนชาวนา จังหวัดสุพรรณบุรี. สืบค้นจาก : https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/37644.
บรรพต วรธรรมบัณฑิต. (2559). กลยุทธการใชการตลาดดานเนื้อหา (Content Marketing) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เฟซบุกของสื่อโทรทัศนไทยในป 2560. สืบค้นจาก : http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/2971.
บุญชม ศรีสะอาด. (2561). การแปรผลเมื่อใช้เครื่องมือรวบรวมข้อมูลแบบมาตราส่วนประมาณค่า. สืบค้นจาก : https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemmsu/article/view/154477
พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อบริหารแบรนด์และสื่อสารการตลาดในยุคดิจิทัล (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สมาคมประชาสัมพันธ์ไทย.
ภัทราพร ศิริไพบูลย์. (2559). การวิเคราะห์เนื้อหาของการสร้างตัวตนบนเฟซบุ๊กแฟนเพจที่ส่งผลให้เกิดการแบ่งปันของผู้ติดตาม. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ (JISB), 2(4), 70-81.
ภัศรา ศรีสุโข. (2563). การสื่อสารการตลาดบนทวิตเตอร์ของผลิตภัณฑ์ความงาม และผู้บริโภคเจเนอเรชันวาย. สืบค้นจาก https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/76103/1/6280031928.pdf
มนวิภา วงรุจิระ. (2560). ประมวลสาระชุดวิชา ทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารกิจการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วีระวัฒน์ รุ่งวัฒนะกิจ. (2561). กลยุทธ์การนำเสนอเนื้อหาสารของเฟซบุ๊กแฟนเพจประเภทข่าวหลักล้านในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ
ศิรดา เหรียญวิทยากุล, วิไลวรรณ จงวิไลเกษม. (2559). วัฒนธรรมการทำข่าวออนไลน์ ผ่านเฟซบุ๊คแฟนเพจโพสต์ทูเดย์ กรณีศึกษา อาการป่วยปอ ทฤษฏี สหวงษ์. วารสารสหวิทยาการ. 13(2), 79-110.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). จิตแพทย์ เตือน โรคดิจิทัลจาก 6 พฤติกรรม. สืบค้าจาก : https://www.thaihealth.or.th/Content/42935-จิตแพทย์เตือนโรคดิจิทัลจากพฤติกรรม.html .
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563. สืบค้าจาก : https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx
อิริยาพร อุดทา, อริชัย อรรคอุดม. (2560). กลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพออนไลน์ผ่านสื่อเฟซบุ๊กของโรงพยาบาลพญาไท. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 5(2), 145-156.