การศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ใช้น้ำในเขตบริการของการประปานครหลวงเพื่อออกแบบการรณรงค์ทางการสื่อสารเชิงนวัตกรรมเพื่อส่งเสริม การรับรู้ด้านคุณภาพของน้ำประปา

ผู้แต่ง

  • วรัชญ์ ครุจิต บัณฑิตวิทยาลัยนิเทศศาสตร์และการจัดการ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
  • พรรณพิลาศ กุลดิลก คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ชัชญา สกุณา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การรับรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมต่อการดื่มน้ำประปา, การรณรงค์ทางการสื่อสาร

บทคัดย่อ

        การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ใช้น้ำในเขตบริการของการประปานครหลวง เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้ในการออกแบบการรณรงค์ทางการสื่อสารเชิงนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการรับรู้ของผู้ใช้น้ำเกี่ยวกับคุณภาพของน้ำประปาที่ให้บริการโดยการประปานครหลวง โดยใช้การสนทนากลุ่มกับผู้ใช้น้ำในเขตให้บริการโดยการประปานครหลวง จำนวน 4 กลุ่ม อันได้แก่ กลุ่มผู้ใช้น้ำ Generation X  กลุ่มผู้ใช้น้ำ Generation Y (ตอนต้น) กลุ่มผู้ใช้น้ำ Generation Y (ตอนปลาย) และ กลุ่มผู้ใช้น้ำ Generation Z ผลการวิจัยพบว่า ผู้ใช้น้ำมีการรับรู้คุณภาพน้ำประปา ณ จุดผลิตอยู่ในระดับที่ดี แต่เมื่อน้ำประปาถูกส่งออกผ่านระบบท่อประปามีระดับการรับรู้คุณภาพน้ำอยู่ในระดับปานกลาง และการรับรู้คุณภาพน้ำประปาที่ออกจากก๊อกน้ำในครัวเรือนอยู่ในระดับปานกลางจนถึงต่ำ อีกทั้งผู้ใช้น้ำส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่องกระบวนการผลิตน้ำประปา สำหรับประเด็นเรื่องทัศนคติต่อการดื่มน้ำประปาพบว่า ปัจจัยเรื่องกลิ่น สี และรสชาติของน้ำทำให้เกิดทัศนคติไม่ดีส่งผลให้เกิดความไม่เชื่อมั่น และไม่เกิดพฤติกรรมในการดื่มน้ำประปา

        ทั้งนี้กลุ่มผู้ใช้น้ำได้ให้ข้อเสนอแนะในการสื่อสารรณรงค์ว่า ควรนำเสนอสารที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความมั่นใจในคุณภาพน้ำประปาตลอดทั้งกระบวนการจากแหล่งผลิตสู่ครัวเรือน ผ่านสื่อทั้งออฟไลน์และออนไลน์ โดยใช้ผู้นำทางความคิดเห็นเข้ามามีส่วนร่วมในการสื่อสารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

References

การประปานครหลวง. (2563). ข้อมูลองค์กร. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://web.mwa.co.th/main.php?filename=about_us&t=top, วันที่ 2 ธันวาคม 2563.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐัทธนา แสงอร่าม. (2542). การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับ “โครงการน้ำประปาดื่มได้” ความรู้ ทัศนคติ และ พฤติกรรมการบริโภคน้ำประปาของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิติพร แก้ววิมล. (2559). การสื่อสารเพื่อการรณรงค์ในโครงการ “อย่าให้ใครว่าไทย”. การค้นคว้าอิสระวารสารศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2556). การใช้แบบจำลอง KAP กับการศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติการป้องกันการติดเชื้อเอช ไอ วี / เอดส์ของคนประจำเรือไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 8(2) :84-102.

พยัต วุฒิรงค์. (2562). การจัดการนวัตกรรม : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ยุทธิพงศ์ แซ่จิว. (2555). การสื่อสารตราสินค้าบุคคลผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ของคนดังข้ามคืน. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรัชญ์ ครุจิต. (2561). หน่วยที่ 3 แนวทางการประชาสัมพันธ์และการโฆษณายุคดิจิทัล. ในเอกสารการ

สอนชุดวิชาหลักการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา (หน้า 3-1 – 3-51). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรวุฒิ ภักดีบุรุษ. (2560). นวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการจัดการแบรนด์องค์กรของธนาคารพาณิชย์ไทย: กรณีศึกษาธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน). วารสารนักบริหาร, 37(1), 36-44.

ศรัญญา รัตนจงกล. (2554). กลยุทธ์การสื่อสารด้านการตลาดผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) ของธุรกิจอาคารชุดกรณีศึกษา บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท เอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สุมณฑา สร้อยน้ำ และสุมาลี วงศ์สุรเศรษฐ์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและ การปฏิบัติตนในการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน บ้านหนองใยบัวอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี. นครปฐม: คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2542). การสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Gursoy, D., Maier, T. & Chi, C. (2008). Generational differences: An examination of work values and generational gaps in the hospitality workforce, International Journal of Hospitality Management, 27, 448-458.

Hanna, N. & Wozniak, R. (2001). Consumer Behavior: An Applied Approach. Upper Saddle River, NJ : Prentice - Hall.

Wong, M., Gardiner, E., Lang, W. and Coulon, L. (2008). Generational differences in personality and motivation: Do they exist and what are the implications for the workplace?, Journal of Managerial Psychology, 23, 8, 878-90.

Solomon. (2009). Consumer Behavior: Buying, Having and Being. (8th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-13