ความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารการตลาด ความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และพฤติกรรมการซื้อสินค้าในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พิทักษ์ ชูมงคล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

โควิด-19, การสื่อสารการตลาด, พฤติกรรมการซื้อ

บทคัดย่อ

        งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสื่อสารการตลาด ความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และพฤติกรรมการซื้อสินค้าในช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณเพื่อรวบรวมข้อมูลจากประชากรในการวิจัยคือ ผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 524 ราย

        ผลวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 18-24 ปี มีรายได้เฉลี่ยที่ต่ำกว่า 15,000 บาท โดยสื่อสตรีมมิ่งส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในช่วงวิกฤตโควิด-19 มากที่สุด โดยรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความวิตกกังวลมากที่สุดในประเด็นที่ไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้านพฤติกรรมการซื้อภาพรวมพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเลือกใช้จ่ายอย่างระมัดระวังและซื้อสินค้าเท่าที่จำเป็น ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า สื่อสารการตลาด ความวิตกกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 และพฤติกรรมการซื้อสินค้าในช่วงวิกฤตโควิด-19 ทุกคู่ตัวแปรมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ฉัฐวัฒน์ ชัชณฐาภัฏฐ์ .(2563). การจัดการองค์การในภาวะวิกฤต กรณีโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 20(4), 197-208.

ถนอมขวัญ ทองโปร่ง. (2559). การศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อตัวแทนการ ท่องเที่ยวออนไลน์ระหว่างเบบี้บูมเมอร์ เจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจนเนอเรชั่นวายในการซื้อ ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและบริการ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 2(2), 395-405.

พรจันทร์ วงค์คุ้มสิน. (2557). การตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการตลาดแบบไวรัลเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มเบบี้บูมเมอร์ส เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชั่นวาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พระมหาสุริยะ มทฺทโว. (2564). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อเป็นแนวทางการรับมือปัญหา โรคระบาด COVID-19. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 10(1), 323-332.

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ .(2563). ตัวชี้วัดความสำเร็จของการใช้บริการแอปพลิเคชันสั่งอาหารในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร, 17(2).

วิไลลักษณ์ พงษ์โสภา. (2549). สุขวิทยาจิต. เอกสารประกอบการสอนวิชาสุขวิทยาจิต. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สิรินทิพย์ เกลี้ยงพร้อม. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความตั้งใจซื้อบ้านของผู้สูงอายุที่อาศัยในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุคNEW NORMALCOVID-19.วารสารรัชต์ภาคย์ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 15(40), 33-42.

เสรี วงษ์มณฑา. (2552). กลยุทธ์การตลาด: การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ.

อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อของกลุ่มเจ็นเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจ็นเนอเรชั่นวาย. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 6(1), 59-65.

อาภาภัทร บุญรอด. (2563). พฤติกรรมการใช้สื่อของคนไทยหลังโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564 เข้าถึงได้ที่ https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/650398.

Positioning. (2564). คนภาคตะวันออก “รัดเข็มขัด” หนักสุด! โควิดรอบสามกระทบ “ความต้องการซื้อ” .สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2564 เข้าถึงได้ที่ https://positioningmag.com/1334935?fbclid=IwAR3Cc8rBlXNGrZTSVXJ9cL6KcUZ9iTIoPMBsqLzopmoFO63ETjdiRlwxR6k

Akter, M., & Sultana, N. (2020). Digital marketing communication and consumer buying decision process in pandemic standpoint (Covid-19): an empirical study of Bangladeshi customers’ in branded cosmetics perspective. Open Journal of Business and Management, 8(06), 2696.

Huang, Y., & Zhao, N. (2020). Generalized anxiety disorder, depressive symptoms and sleep quality during COVID-19 outbreak in China: A web-based cross-sectional survey. Psychiatry Research, 288, 112954. doi: 10.1016/j.psychres.2020.112954.

Jisana, T. K. (2014). Consumer behaviour models: an overview. Sai Om Journal of Commerce & Management, 1(5), 34-43.

Kotler, P. (2004). “Marketing redefined: Nine top marketers offer their personal definitions”.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2014). “Principles of marketing (15 ed.)”. New Jersey: Prentice Hall.

Lake, L. (2009). Consumer behavior for dummies. John Wiley & Sons.

Miller, K. R., ve Washington, K. (2011). Consumer Behavior. Richard K. Miller &Associates.

Spielberger, C.D., Gorsuch, R.L., & Lushene, R.E.(1970). Manual for the State-Trait AnxietyInventory (Self Evaluation Questionnaire).Palo Alto, CA: Consulting Psychologists Press.

Spielberger, C.D. (Ed.). (1966). Anxiety and Behavior. New York: Academic Press.

Yamane, Taro. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-13