การสื่อสารการตลาดของตัวแทนจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทยในการนำภาพยนตร์ไปเผยแพร่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน

ผู้แต่ง

  • ภัคคิณี บุญคูณ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กฤษดา เกิดดี วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ดิสทรีบิวเตอร์, กองเซ็นเซอร์, Flat Deal

บทคัดย่อ

        การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารการตลาดของตัวแทนจำหน่าย ภาพยนตร์ไทย ในการนำภาพยนตร์ไทยไปเผยแพร่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งกรณีศึกษาภาพยนตร์“ฉลาด เกมส์โกง” ซึ่งผู้วิจัยได้คัดเลือกบริษัทภาพยนตร์ไทย ซึ่งเป็นตัวแทนในการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทยในประเทศไทย 2 แห่ง คือ คุณฤดี ผลทวีชัย ฝ่ายติดต่อต่างประเทศ บริษัท จีดีเอช 559 จำกัด และคุณพิทยา สิทธิอำนวยชัย บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยใช้แนวคิดหลักคือ แนวคิดการตลาดและการสื่อสารการตลาด และแนวคิดการตลาดภาพยนตร์และการจัดจำหน่ายภาพยนตร์ ผลการศึกษาการสื่อสารการตลาดของตัวแทนจัดจำหน่ายภาพยนตร์ไทยในการนำภาพยนตร์ไปเผยแพร่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีน เสนอตามวัตถุประสงค์ดังนี้

        1. กลยุทธ์การตลาดของตัวแทนจำหน่ายภาพยนตร์ไทยในสาธารณรัฐประชาชนจีน โอกาสภาพยนตร์ ไทยในสาธารณรัฐประชาชนจีน มีโอกาสที่น่าจะมีอัตราการเติบโตของตลาดภาพยนตร์ที่ขยายเพิ่มขึ้นทุกปีและที่สำคัญคือกระแสความนิยมภาพยนตร์ไทย ละครไทยและดาราไทยเพิ่มมากขึ้นในสาธารณรัฐประชาชนจีน จาก รายได้การขายตั๋วภาพยนตร์ไทยเรื่องที่ทำรายได้ในสาธารณรัฐประชาชนจีนหลายเรื่อง อันเนื่องมาจากความ ต้องการรับชมภาพยนตร์ที่สูงขึ้น 1) ด้านราคา 2) ช่องทางการจัดจำหน่าย 3) ผลิตภัณฑ์ 4) การส่งเสริมการขาย

        2. กรณีศึกษา ภาพยนตร์ไทย “ฉลาดเกมส์โกง” จากผลการสัมภาษณ์และวิเคราะห์แนวคิดด้านการจัด จำหน่ายภาพยนตร์และการตลาดภาพยนตร์ พบรายละเอียดการเจรจาซื้อขายดังนี้ 1) ขั้นตอนก่อนการเลือกตัวแทนจำหน่ายในสาธารณรัฐประชาชนจีน 2) ช่องทางในการสื่อสารเพื่อการซื้อขาย 3) การตกลงเรื่องราคาในการซื้อขายภาพยนตร์ฉลาดเกมส์โกง 4) ขั้นตอนก่อนส่งตรวจสอบกองเซ็นเซอร์ 5) ราคา 6) ช่องทางการจัดจำหน่าย

        3. ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการส่งออกภาพยนตร์ไทยในสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐ ประชาชนจีนมีความเข้มขวดเรื่องของสื่อที่ถูกเผยแพร่ โดยเฉพาะสื่อที่บริโภคกันในวงกว้างอย่างภาพยนตร์ งาน ศิลปะ หรือเกมในจีน ต้องไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพนัน, ความรุนแรง, ฉากโป๊ เปลือย, การละเมิดลิขสิทธิ์, ไม่นำ เสนอเกี่ยวกับความตาย เช่น กะโหลก, โครงกระดูก, เลือด, การส่งเสริมลัทธิ รวมถึงไม่เปิดเผยข้อมูลความลับ ของรัฐบาล ฯลฯ ซึ่งกฎระเบียบมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกปี รวมถึงระบบโควต้า โดยนโยบายการตรวจสอบ และ ระบบโควตาที่กล่าวมานั้น ถูกควบคุมโดยพรรคการเมืองในสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อปกป้องความสงบของ ประเทศให้เป็นไปตากฎระเบียบ ซึ่งด้านการเผยแพร่ภาพยนตร์ไทยในสาธารณรัฐประชาชนจีนนั้น มีอุปสรรคมากกว่าประเทศอื่น เนื่องจากต้องใช้เวลาในการตรวจสอบหลายเดือน และอาจไม่ได้รับการอนุญาตจากกอง เซ็นเซอร์ในการเผยแพร่ออกสู่สาธารณชนจีน จึงเป็นประเทศที่มีความซับซ้อน ยากมากในการเผยแพร่สื่อทุกชนิดมากที่สุดในโลก

References

จันทิรา สมบุญเกิด(2552) แนวโน้มภาพยนตร์เทยเพื่อการส่งออกสู่ต่างประเทศ:กรณีศึกษาเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติปูซาน.,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ทิพย์ลักษณ์ โกมลวาณิช (2550) .การศึกษาโอกาสเพื่อการส่งออกของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย,นิเทศศาสตร์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประดิษฐ์ จุมพลเสถียร (2544). การสื่อสารการตลาดเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: อาร์ตโปรเกส.

สุโขทัยธรรมาธิราช. (2532). การสอนชุดวิชาการบริหารงานภาพยนตร์ หน่วยที่ 1-15 .นนทบุรี :โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุธาทิพย์ แซเผือก(2549) การสื่อสารการตลาดเพื่อการส่งออกภาพยนตร์ไทย.นิเทศศาสตร์.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

หลาน เฟิน (2557).กลยุทธการสื่อสารการตลาดของบริษัทในสาธารณะรัฐประชาชนจีนที่นำเข้าละครโทรทัศน์ไทย.คณะนิเทศศาสตร์,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

อัญชลี ชัยวรพร(2557).การจัดจำหน่ายและตลาดภาพยนตร์ไทยในต่างประเทศ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-13