สภาพอุตสาหกรรมโฆษณาไทยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุช ปัญญไพโรจน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

อุตสาหกรรมโฆษณาไทย, หลังสงครามโลกครั้งที่สอง, สื่อโทรทัศน์, บริษัทตัวแทนโฆษณาในประเทศไทย

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาสภาพอุตสาหกรรมโฆษณาไทยหลังสงครามโลกครั้งที่สองตั้งแต่ลักษณะของบริษัทตัวแทนโฆษณา โครงสร้าง ตำแหน่งงาน และกระบวนการทำงานด้านการโฆษณาในยุคดังกล่าว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก ผลวิจัยนำเสนอ 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ยุคก่อนที่จะมีสื่อโทรทัศน์เข้ามา (พ.ศ. 2488 - 2498) ยุคหลังจากที่สื่อโทรทัศน์เข้ามาในระยะแรก (พ.ศ. 2498 - 2500)  และหลังจากสื่อโทรทัศน์เจริญรุ่งเรือง (พ.ศ. 2501 - 2520) 

        ผลการศึกษาพบว่า ในยุคก่อนที่มีสื่อโทรทัศน์เข้ามานั้น เจ้าของสินค้ามักจะโฆษณาลงในสื่อสิ่งพิมพ์เป็นหลักและมีเจ้าของสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีทั้งชาวต่างชาติและชาวไทยเป็นผู้ดำเนินการผลิตและเผยแพร่ จนเมื่อสื่อโทรทัศน์เข้ามาในประเทศไทยส่งผลให้อุตสาหกรรมการโฆษณาเติบโตอย่างไม่เคยมีมาก่อน ในยุคแรก การทำงานด้านโฆษณายังไม่เป็นระบบเพราะบริษัทที่ดำเนินการในส่วนนี้ คือ บริษัทตัวแทนนำเข้าและจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ ต่อมา บริษัทฯ เหล่านี้เริ่มเห็นความสำคัญของการโฆษณาจึงได้ก่อตั้งแผนกโฆษณาเล็ก ๆ ขึ้นในบริษัทของตนเอง แต่โครงสร้าง ตำแหน่งงาน และกระบวนการทำงานด้านการโฆษณายังไม่เป็นระบบมากนัก จนเมื่อสื่อโทรทัศน์สามารถเผยแพร่สัญญาณได้ทั่วประเทศ ค่าโฆษณาทางสื่อโทรทัศน์มีราคาที่สูงขึ้น อีกทั้งการออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ที่เป็นกฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และการออก พระราชบัญญัติสงวนอาชีพ ส่งผลทำให้บริษัทดังกล่าวต้องเปลี่ยนรูปแบบด้วยการเปิดบริษัทตัวแทนโฆษณาในประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้อุตสาหกรรมโฆษณาของประเทศไทยเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง    

References

ฐานเศรษฐกิจ. (2564). เม็ดเงินโฆษณา 7 เดือนทะลุ 6.22 หมื่นล้านบาท โต 6%. สืบค้นจาก https://www.thansettakij.com/business/491861

ธนัญญา ประภาละโนบล. (2527). รายงานการวิจัยเรื่อง วิวัฒนาการของโฆษณาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัยเสริมหลักสูตร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรทิพย์ เฉิดฉินนภา. (2545). ลักษณะการเสนอสารในข้อความโฆษณาในหนังสือพิมพ์ภาษาไทยระหว่าง พ.ศ. 2387 - 2487. วารสารวรรณวิทัศน์, 2(พฤศจิกายน), 137-147.

เพ็ญพรรณ เสนารักษ์. (2547). พัฒนาการของการศึกษาด้านการโฆษณาในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศ ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มานิต รัตนสุวรรณ และสมฤดี ศรีจรรยา. (2555). การตลาดยุคสร้างสรรค์ 4.0. กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ ลิฟ.

วสันต์ จันทร์ประสิทธิ์. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทตัวแทนโฆษณาและบริษัทผู้โฆษณา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 2(1), 44-68. สืบค้นจาก https://graduate.pkru.ac.th/images/journals/doc/2_1/44-68.pdf

วิลลา วิลัยทอง. (2552) กำเนิดอาชีพนักโฆษณาไทย ระหว่างทศวรรษ 2490 ถึง 2510. วารสาร ศิลปวัฒนธรรม, 30(กุมภาพันธ์), 122-137.

วิไลรักษ์ สันติกุล. (2543). วิวัฒนาการของการโฆษณาไทยตั้งแต่อดีตจนถึง พ.ศ.2453. กรุงเทพมหานคร: คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ กุลวงษ์วาณิชย์. (2543). พัฒนาการของบริษัทตัวแทนโฆษณาในประเทศไทย (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถึง เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2540). วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา ภาควิชาประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมใจ วิริยะบัณฑิตกุล. (2552). สหพัฒน์ โตแล้วแตก และแตกแล้วโต. กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (ม.ป.ป.). โฆษณา. สืบค้นจาก http://legacy.orst.go.th/?knowledges =โฆษณา-๒๖-กันยายน-๒๕๕๑

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2552). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจการเมืองไทย. เชียงใหม่: สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวืทยาลัยเชียงใหม่.

อวยพร พานิช. (2533). พัฒนาการของคำขวัญในงานโฆษณาและงานประชาสัมพันธ์ในสื่อสิ่งพิมพ์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวาทวิทยาและสื่อสารการแสดง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต และอวยพร พานิช. (2526). วิวัฒนาการของภาษาโฆษณาในหนังสือพิมพ์ไทย (พ.ศ. 2387 – 2527) รายงานผลการวิจัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการประชาสัมพันธ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอนก นาวิกมูล. (2551). โฆษณาไทย เล่ม 1 รวมโฆษณายุค 2460-2470-2480-2500 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สายธาร.

แอนนา จุมพลเสถียร. (2557). พัฒนาการและแนวทางในอนาคตของอุตสาหกรรมโฆษณาในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Weaver, B. (2021). The 3 most common advertising agency hierarchies & how to structure your team. Retrieved from https://instapage.com/blog/advertising-agency-hierarchy

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-13