การวิเคราะห์ความเป็นพลเมืองดิจิทัล ผ่านกิจกรรมการผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนสังคม ในรายวิชา RSU160 รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล
คำสำคัญ:
พลเมืองดิจิทัล, การผลิตสื่อดิจิทัล, การขับเคลื่อนสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์ความเป็นพลเมืองดิจิทัล ผ่านกิจกรรมการผลิตสื่อดิจิทัลขับเคลื่อนสังคม ในรายวิชา RSU160 รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล การรู้เท่าทันสารสนเทศดิจิทัล รวมถึงการรู้เท่าทันทักษะอื่น ๆ ผ่านกิจกรรมการผลิตสื่อดิจิทัล ในรูปแบบแอนิเมชัน และคลิปวิดีโอ เพื่อขับเคลื่อนสังคม ในกลุ่มนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา RSU160 รู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ภาคการศึกษา 1/2564
ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมการผลิตสื่อดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนสังคม ในรูปแบบแอนิเมชันและคลิปวิดีโอ สามารถพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัล ที่มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวมและสร้างเสริมความรู้และทักษะดิจิทัล ใน 3 มิติ
การรู้เท่าทันสารสนเทศดิจิทัล 1) สามารถเข้าถึง เข้าใจสารสนเทศทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ในรูปแบบตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง สัญลักษณ์ต่าง ๆ รวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2) การวิเคราะห์ ประเมินผลสารสนเทศ มี 2 ระดับ คือ วิพากษ์ภายนอก และวิพากษ์ภายใน 3) การสร้างสรรค์เนื้อหา คือ การประกอบสร้างเป็นเนื้อหาใหม่ หรือเป็นการสร้างความรู้ใหม่อย่างสร้างสรรค์ 4) การตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสมทั้งในด้านกฎหมาย และจริยธรรม 5) การแบ่งปันให้ทีมได้รับรู้ และเข้าใจตรงกัน
การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล 1) การเข้าถึงสื่อดิจิทัลที่หลากหลายทั้งในและต่างประเทศ เข้าใจจุดเด่น จุดด้อยของสื่อดิจิทัลในแต่ละรูปแบบ 2) การวิเคราะห์ ประเมินผลสื่อดิจิทัลว่าผู้ผลิตสื่อเป็นใคร ผลิตสื่อเพื่อวัตถุประสงค์ใด รูปแบบสื่อมีลักษณะอย่างไร กลุ่มเป้าหมายเป็นใคร 3) การสร้างสรรค์สื่อดิจิทัล การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต้องเหมาะสมกับการผลิตสื่อดิจิทัล และไม่เกินความสามารถของผู้ผลิตสื่อ 4) การตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสม ของเนื้อหา ภาพ สี เสียง 5) การแผยแพร่ ต้องเลือกช่องทาง หรือแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับสื่อดิจิทัลที่ผลิต
การรู้เท่าทันทักษะอื่น ๆ 1) การทำงานร่วมกับผู้อื่น 2) ทักษะการทำงานพร้อมกันหลายอย่าง 3) ทักษะความรู้ทางด้านกฎหมายและจริยธรรมในการผลิตสื่อ 4) ความรู้ด้านกราฟิก 5) ความรู้ความสามารถทางการแสดง 6) ทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อ 7) ทักษะในการนำเสนอผลงาน 8) ทักษะในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 9) ทักษะการแสดงความคิดความเห็นอย่างมีเหตุผล
นอกจากนี้ยังพบอีกว่า การนำเสนอผลงานสื่อดิจิทัลให้กลุ่มอื่น ๆ ได้แลกเปลี่ยน เรียนรู้ และการวิพากษ์ผลงานของวิทยากรนักวิชาชีพ ทำให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้ใหม่ เห็นมุมมองใหม่ ๆ และพร้อมที่จะนำไปต่อยอด พัฒนาผลงานให้ดีขึ้น
References
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2560). Social Movement การเคลื่อนไหวทางสังคม. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2565, จาก https://libmode.mju.ac.th/pr/?p=5969
ลภัสภาส์ หิริรนทรานุกูล. (2559). ความเป็นพลเมืองดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 25565, จาก http://www.mtrs.ac.th/krupu/week-10/
วรลักษณ์ สงวนแก้ว. (2558). Digital Citizens : พลเมืองดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565, จาก https://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-59(500)/page2-1-59(500).html
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ที่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สุกัญญา สุดบรรทัด. (2559). ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการสื่อสารสำหรับพลเมืองยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2565, จาก http://legacy.orst.go.th/wp-content/uploads/2018/01/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.