การเล่าเรื่องเพื่อการสื่อสารภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยรังสิตสู่สังคมธรรมาธิปไตย

ผู้แต่ง

  • สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิชานิเทศศาสตร์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กฤษณ์ ทองเลิศ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การเล่าเรื่อง, กลยุทธ์การสื่อสาร, ภาพลักษณ์องค์กร, สังคมธรรมาธิปไตย

บทคัดย่อ

        งานวิจัยเรื่อง “การเล่าเรื่องเพื่อการสื่อสารภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยรังสิตสู่สังคมธรรมาธิปไตย” เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล เอกสาร และกิจกรรมการสื่อสารของมหาวิทยาลัยรังสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทผู้นำองค์กรในฐานะผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อศึกษาการประกอบสร้างความหมายภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต และเพื่อศึกษาวิเคราะห์วิธีการเล่าเรื่องในการขับเคลื่อนแนวคิดร่วมสร้างสังคมธรรมาธิปไตย

 

        ผลการศึกษา พบว่า ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ มีคุณสมบัติของผู้นำการเปลี่ยนแปลง 5 ประการ ได้แก่ 1. ทักษะการเล่าตำนานที่ทรงพลัง 2. ทักษะการสร้างแรงจูงใจ 3. การเป็นคนต้นแบบ 4. ศักยภาพในการจัดการบรรยากาศที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง และ 5. การคิดนอกกรอบ ส่วนบทบาทในฐานะผู้นำองค์กรเมื่อเผชิญวิกฤตในหลายวาระ ได้ใช้กลยุทธ์การสื่อสารที่เสมือนเป็นแนวปฏิบัติประจำตัว ดังนี้ 1. เรียกพนักงานทุกคนต้องเข้าร่วมประชุมเพื่อรับฟังปัญหา  2. พูดถึงปัญหาที่ทุกคนกำลังเผชิญอย่างจริงใจ  3. กำหนดเป้าหมายและโน้มน้าวให้มุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายร่วมกัน

 

        การสร้างภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยรังสิต ประกอบไปด้วยการกำหนดแก่นเนื้อหาด้านการสร้างสังคมเกื้อกูล ส่งเสริมค่านิยมยึดความถูกต้อง กล้าหาญ เสียสละ ผ่านการประกอบสร้างความหมายหลายรูปแบบ อาทิ การใช้สัญลักษณ์ การใช้สัมพันธบท การใช้ปฏิพจน์ การเล่าเรื่องด้วยการสร้างคุณค่าด้านอารมณ์ โดยได้ออกแบบเนื้อหาด้วยการใช้ถ้อยคำเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วยคำว่า “ร่วมสร้างสังคมแห่งการให้และการแบ่งปัน”

 

       วิธีการเล่าเรื่องของผู้นำองค์กรคือการสร้างตำนานเรื่องเล่าที่ชื่อ “สังคมธรรมาธิปไตย” ให้กลายเป็นปกรณัม (Myth) หรือตำนานที่ทรงพลังของมหาวิทยาลัยรังสิต จากนั้นได้ผลิตซ้ำกิจกรรมการสื่อสารเพื่อเพิ่มคุณค่าความหมายจนเรื่องเล่านี้กลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2558). สัมพันธบท (Intertextuality) เหล้าเก่าในขวดใหม่ในสื่อสารศึกษา ในแนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2548). การจัดการสื่อสารแบบประยุกต์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สนั่น เถาชารี. (2539). กลยุทธ์การบริหารความเสี่ยงด้านทรัพยากรบุคคลเพื่อความสำเร็จขององค์กรIndustrial Technology Review (Master’s thesis). สืบค้นจาก โครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย (ThaiLIS).

อริชัย อรรคอุดม, และสราวุธ อนันตชาติ. (2553). การพัฒนาแนวคิดและมาตรวัดต้นแบบตราสินค้าวีรบุรุษในเชิงการสื่อสารการตลาด. วารสารนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 28(4), 1-20.

D’Aprix, R. M. (1996). Communicating for change: connecting the workplace with the marketplace. San Francisco: Jossey-Bass Publishers.

Denning, S. (2005). The Leader's Guide to Storytelling. Strategy and Leadership, 33(3), 11-16.

Gabriel, Y. (2000). Storytelling in Organization: Facts, Fictions, Fantasies. London: Oxford University Press.

Gary, H., & Prahalad, C.K. (1993). Competing For The Future. Boston: Harvard Business School Press.

Rangsit University. (2011a, April 21). ภาพยนตร์โฆษณา “สึนามิ” [Video file]. Retrieved from https://www.youtube.com/watch?v=i1O-8JVdcUg&feature=youtu.be

Rangsit University. (2011b, April 21). ภาพยนตร์โฆษณา “หมอม้ง” [Video file]. Retrieved from https://www.youtube.com/watch?v=Q5cveUI9luQ

Rangsit University. (2011c, April 21). ภาพยนตร์โฆษณา “Success Together” [Video file]. Retrieved from https://www.youtube.com/watch?v=k96VtJpOFDE

Rangsit University. (2012, April 12). ภาพยนตร์โฆษณา “Why Sharing เพราะอะไรเราถึงแบ่งปัน” [Video file]. Retrieved from https://www.youtube.com/watch?v=abxCfO-mOJk

Rangsit University. (2013, May 24). ภาพยนตร์โฆษณา “คุณคือคนนั้น คนที่จะเปลี่ยนประเทศนี้” [Video file]. Retrieved from https://www.youtube.com/watch?v=NEKbC1h3-LI

Rangsit University. (2014, March 13). ภาพยนตร์โฆษณา “เสียงของความฝัน” [Video file]. Retrieved from https://www.youtube.com/watch?v=WoMxKW5kfF0

Rangsit University. (2019, July 29). ภาพยนตร์โฆษณา “สัตว์ประหลาด” [Video file]. Retrieved from https://youtu.be/VsoxzM7KJfg

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-23