การศึกษาและการสร้างสรรค์ภาพถ่ายชุดไทยเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครครีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • วัชรีภรณ์ ชัยบูรณ์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • สรพงษ์ วงศ์ธีระธรณ์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์, ภาพถ่ายชุดไทย

บทคัดย่อ

        การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาพถ่ายชุดไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อสร้างสรรค์ภาพถ่ายชุดไทยที่สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา การศึกษาครั้งนี้แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

 

        ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ภาพถ่ายชุดไทยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการคัดเลือกภาพถ่ายชุดไทยสมัยอยุธยาที่นำเสนอแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 13 ภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยเชิงพรรณนานา ผลการศึกษาพบว่า 1) อัตลักษณ์ความเป็นไทยผ่านการแต่งกายชุดไทย ผ้าไทย และเครื่องประดับ 2) ชุดไทยกับความผูกพันกับพุทธศาสนา 3) ชุดไทยกับการเชื่อมโยงกับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

 

        ส่วนที่  2 การสร้างสรรค์ภาพถ่ายชุดไทยเพื่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถนำผลการศึกษามาประยุกต์เพื่อสร้างสรรค์ภาพถ่ายชุดไทย จำนวน 10 ภาพ

References

ญาณาธร เธียรถาวร. (2559). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ กรณีศึกษา อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา. กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

ปรวรรณ ทรงบัณฑิตย. (2549). นิตยสารต้าเจียห่าว กับการนำเสนออัตลักษณ์ภาษาจีน-สยาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

กาญจนา แก้วเทพ (2542). การวิเคราะห์สัญญะในภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ที่มีเด็กเป็นตัวละครหลัก. ปริญญานิเทศสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นิธิมา ชูเมือง. (2544). การผลิตซ้ำและการนำเสนอแนวคิดทางการเมือง. วิทยานิพนธ์นิเทศศสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28