พลังการสื่อสารผ่านแนวคิดอำนาจละมุน (Soft power) ของประเทศญี่ปุ่นในหนังสือการ์ตูนยอดตีพิมพ์อันดับ 1 ของโลก “วันพีซ”

ผู้แต่ง

  • เอกรงค์ ปั้นพงษ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

อำนาจละมุน, หนังสือการ์ตูนวันพีซ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาแนวทางการสื่อสารผ่านแนวคิดอำนาจละมุนในการ์ตูนวันพีซของประเทศญี่ปุ่น และ 2. ประยุกต์แนวทางการสื่อสารผ่านแนวคิดอำนาจละมุนสำหรับอุตสาหกรรมการ์ตูนในประเทศไทย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนำเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ ใช้วิธีการศึกษาด้วยการวิเคราะห์/วิจัยเอกสาร ตำรา และเว็บไซด์ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องทั้งในวงการและนอกวงการเพื่อเป็นข้อมูลเสริม ผลการวิจัย พบว่า 1. กระบวนการสื่อสารผ่านแนวคิดอำนาจละมุนในการ์ตูนวันพีซของประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการภายใต้นโยบาย Cool Japan โดยรัฐบาลญี่ปุ่นได้วางแนวทางดำเนินการส่งเสริมการ์ตูนวันพีซอย่างแข็งขันมากขึ้น โดยร่วมมือกับภาคเอกชนด้วยวิธีการได้แก่ การนำการ์ตูนวันพีซไปเป็นสินค้าเพื่อเสริมพลังอำนาจละมุน โดยมีการส่งเสริมการจำหน่ายและขยายตลาดในต่างประเทศของบริษัทและสำนักพิมพ์ต้นสังกัดการ์ตูนอย่างชูเอฉะที่สามารถสร้างผลกำไรได้อย่างน่าพึงพอใจ หรือการดำเนินการส่งเสริมการ์ตูนวันพีซโดยร่วมมือกับภาคเอกชนในการประชาสัมพันธ์ในหลายรูปแบบ อาทิ การจัดนิทรรศการและงานแสดงต่างๆ การจัดทำแคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดทำเว็บไซต์ และการใช้ตัวการ์ตูนเป็นสื่อโดยการแต่งคอสเพลย์ในงานสำคัญต่างๆ นอกจากนี้ภาครัฐมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในด้านการทูต มีการแต่งตั้ง “ทูตวัฒนธรรมการ์ตูน” โดยการ์ตูนวันพีซได้ถูกนำมาเป็นทูตทางวัฒนธรรมในการแข่งขันโอลิมปิค 2020 ที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ และ 2.ประยุกต์แนวทางการสื่อสารผ่านแนวคิดอำนาจละมุน สำหรับอุตสาหกรรมการ์ตูนในประเทศไทย รัฐบาลไทยต้องมีการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมการ์ตูนโดยมีการเพิ่มอิทธิพลเพื่อเสริมพลังอำนาจละมุนในประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้จำเป็นต้องมีการปรับแนวคิดอำนาจละมุนมาเป็นเชิงรุก โดยให้ความสำคัญการทูตวัฒนธรรมมากขึ้น ผ่านการเผยแพร่วัฒนธรรมสมัยนิยมของประเทศไทย อาทิ ดนตรี ภาพยนตร์ ละคร เกม ฯลฯ โดยมีการแบ่งยุทธศาสตร์ออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 การเตรียมความพร้อมพื้นฐานในประเทศไทย ช่วงที่ 2 การเผยแพร่คอนเทนต์สร้างสรรค์และข้อมูลข่าวสารสู่ต่างประเทศ และช่วงที่ 3 การส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่ายในต่างประเทศ

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์. (2559). ทำนโยบาย Cool Japan สคต. กรุงโตเกียว. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2565, แหล่งที่มา

https://www.ditp.go.th/ditp_web61/article_sub_view.php?filename=contents_attach/148923/148923.pdf&title=148923&cate=1236&d=0

คมชัดลึกออนไลน์. (2564). "One Piece" Ver.Live Action เตรียมฉายบน Netflix เผยรายชื่อ 5 นักแสดงหลักแล้ว. กรุงโตเกียว.

https://www.komchadluek.net/hot-social/491950

วาสนา ปานนวม. (2555). การส่งเสริมการ์ตูนของญี่ปุ่น: เครื่องมือเพิ่ม Soft Power และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ. วิทยานิพนธ์.ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาญี่ปุ่นศึกษา ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Marketingoops. (2563). เปิดเบื้องหลังกระบวนการปั้น “ONE PIECE” ฮิต 20 ปี! ทั้ง Animation-ยอดขายกว่า 460 ล้านเล่ม.

https://www.marketingoops.com/media-ads/one-piece-japanese-manga-series-and animation-key-success-factors/

Nye, Joseph S, (2005). Soft Power: The Means to Success in World Politics. Retrieved October 30, 2022,

https://wcfia.harvard.edu/publications/soft-power-means-success-world-politics.

Peters, M. (2021). Japan’s Manga and Comic Industry Hits Record Profits in 2020. Retrieved October 1, 2022, https://comicbook.com/anime/news/japan-manga-anime-industry-profit-2020-success/

Seijuro, A. (2017). TOKYO 2020. Retrieved October 1, 2022,

https://aminoapps.com/c/animeymangashonen/page/blog/tokyo2020/oMVQ_q1Udu7a0rm7raK5Pjb1Wn4omvKQw4

Suzuki, Noriyuki. (2008). Japanization in Thailand in the age of globalization. The 10th International Conference on Thai Studies, January 9-11. Bangkok: Thai Khadi Research Institute, Thammasat University.

TLK. (2022). รูปปั้นสมาชิกกลุ่มหมวกฟางที่คุมะโมโตะ.

https://www.facebook.com/THAIONEPIECEbyTLK/posts/pfbid022V3Q4sxbhwxVhbH1i7kPXhdiEY3P1MWq79E1pLeGxJxfotRQNSsoxTB2FMBdKWNEl

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28