กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์สินค้าโอทอปกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อภิญญ์พัทร์ กุสิยารังสิทธิ์ คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์, โอทอป, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการประชาสัมพันธ์สินค้าโอทอปกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อจัดทำกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์สินค้าโอทอปกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งสิ้น 5 คน ได้แก่ ผู้บริหารด้านการประชาสัมพันธ์สินค้าโอทอปกรุงเทพมหานคร และผู้ประกอบการสินค้าโอทอปกรุงเทพมหานคร ทั้ง 5 ประเภทผลิตภัณฑ์     

 

        ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการประชาสัมพันธ์สินค้าโอทอปกรุงเทพมหานคร มีทั้งสิ้น 1) การบริหารงานแบบส่วนราชการพิเศษส่งผลกระทบต่อการทำงานด้านการประชาสัมพันธ์ เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นหน่วยงานแบบส่วนราชการพิเศษ ซึ่งต้องรับผิดชอบในการดำเนินงานของหน่วยงานเพียงลำพัง 2) การกำหนดผู้รับผิดชอบด้านการประชาสัมพันธ์สินค้าโอทอปกรุงเทพมหานคร โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบกลับเป็นสำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร ส่งผลให้กลุ่มผู้ทำงานด้านประชาสัมพันธ์ของสินค้าโอทอปกรุงเทพมหานครเป็นกลุ่มที่ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์โดยตรง ทำให้ลักษณะการนำเสนอเนื้อหาอาจไม่สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้รับสาร 3) การปรับตัวของหน่วยงานภาครัฐ ที่ยังไม่สามารถดำเนินการผลิตเนื้อหาที่ดึงดูดใจต่อผู้รับสาร และความสามารถในการเผยแพร่ในช่องทางออนไลน์ได้เป็นอย่างดี 4) งบประมาณในการประชาสัมพันธ์ที่มีอย่างจำกัดในประเด็นการประชาสัมพันธ์สินค้าโอทอปกรุงเทพมหานคร 5) ความต้องการในการจำหน่ายสินค้าโอทอปกรุงเทพมหานครของผู้ประกอบการที่มีกำลังการผลิตอย่างจำกัด หากมีการประชาสัมพันธ์สินค้าไปอย่างกว้างขวาง อาจส่งผลกระทบต่อการยอดจำหน่ายสินค้า ตลอดจนความสามารถในการผลิตสินค้าของผู้ประกอบการที่มีลักษณะเป็น SMEs มากกว่าการจ้างผลิตในรูปแบบอุตสาหกรรม 6) การไม่แบ่งกลุ่มผู้ประกอบการตามขนาดของธุรกิจ สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานครไม่ได้มีการจัดกลุ่มผู้ประกอบการตามขนาดของธุรกิจ และเป้าหมายในการจำหน่ายสินค้าและบริการ ส่งผลให้การดำเนินการประชาสัมพันธ์ไม่สอดคล้องกับความต้องการในการขายสินค้าของผู้ประกอบการแต่ละราย

 

        กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์สินค้าโอทอปกรุงเทพมหานคร มีทั้งสิ้น 9 กลยุทธ์ คือ 1) กลยุทธ์การออกร้านในงานกิจกรรมพิเศษของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน 2) กลยุทธ์การเปิดพื้นที่จัดแสดงสินค้าโอทอปกรุงเทพมหานคร 3) กลยุทธ์การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ 4) กลยุทธ์การแต่งเพลงสำหรับสินค้าโอทอปกรุงเทพมหานคร 5) กลยุทธ์การสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าออนไลน์ 6) กลยุทธ์การสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายทางโทรศัพท์ 7) กลยุทธ์การส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าในต่างประเทศ 8) กลยุทธ์การคัดเลือกบางกอกแบรนด์เพื่อยกระดับสินค้าโอทอปกรุงเทพมหานคร 9) กลยุทธ์การเล่าเรื่องในการประชาสัมพันธ์

References

เกรียงไกร กาญจนะโภคิน. (2562). Hybrid Event Marketing. นนทบุรี : ภาพพิมพ์.

จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ. (2559). เอกสารการสอนชุดวิชา กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์. หน่วยที่ 10 กลยุทธ์การรณรงค์ทางการประชาสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2559). หลักการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เดอะแบงค์คอกอินไซต์. (2565). กทม. ดัน ‘Bangkok Brand’ ลุยตลาดต่างประเทศ ของขวัญ ของฝากต่างชาติ. https://www.thebangkokinsight.com/news/business/930359/

ทักษิณา ชัยอิทธพรวงศ์. (2565). Digital Content Creation: หลักและแนวปฏิบัติในมิติการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2566). SWOT Analysis and TOWS Matrix. http://www.drmanage.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538632242.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2554). การวางแผนและการประเมินผลการสื่อสารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.

วทัญญู ใจบริสุทธิ์. (ม.ป.ป.). การศึกษาโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ภายใต้วาทกรรมความเป็นสินค้า. ThaiJOhttps://so02.tci-thaijo.org › article › Download.

วรวรรณ องค์ครุฑรักษา. (2563). การบริหารภาพลักษณ์และเอกลักษณ์ที่พึงประสงค์ของสินค้าและองค์กร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิกานดา พรสกุลวานิช. (2561). สื่อใหม่และการจัดการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิชุดา พันธ์วิเชียร. (2565, 9 กุมภาพันธ์). สัมภาษณ์.

วิรัช ลภิรัตนกุล. (2553). การประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาติ กิจยรรยง. (2555). การตลาดไร้กรอบเทคนิคเพื่อการรู้เท่าทันการตลาด. กรุงเทพฯ : Smart Life.

สมิทธิ์ บุญชุติมา และรุ่งโรจน์ รุ่งวิมลสิน. (2560). กลยุทธ์การสร้างสรรค์เพื่อการสื่อสารการตลาด. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่.

สำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิสาหกิจชุมชน. (2564). การตลาด. https://cep.cdd.go.th/otop-data/การตลาด

สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร. คู่มือการปฏิบัติงาน สำนักงานการส่งเสริมอาชีพ สำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร. https://drive.google.com/drive/folders/1mba5rgwIzjaYQ3qo63GciyMcC7rUQKAu

อมรรัฏค์ เจริญโชติธรรม. (2564). เอกสารการสอนชุดวิชาหลักการสื่อสารการตลาด. หน่วยที่ 7 เครื่องมือการสื่อสารการตลาด : การประชาสัมพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อรวรรณ องค์ครุฑรักษา. (2559). เอกสารการสอนชุดวิชากลยุทธ์การประชาสัมพันธ์. หน่วยที่ 3 การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายและสื่อ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อวยพร พานิช. (2559). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาการสร้างสารในงานนิเทศศาสตร์ หน่วยที่ 7 การสร้างสารด้วยการเขียน. (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Pricken, M. (2002). Creative Advertising. New York: Thames & Hudson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28