หลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สำหรับโครงการวิจัยด้านนิเทศศาสตร์

ผู้แต่ง

  • ฐิติ วิทยสรณะ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

บทคัดย่อ

        บทความเรื่องหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สำหรับโครงการวิจัยด้านนิเทศศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอแนวทางการพิจารณาโครงการวิจัยด้านนิเทศศาสตร์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย ที่เป็นมนุษย์ เช่น การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผู้ส่งสาร หรือผู้รับสารให้ได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบในศักดิ์ศรีสิทธิและความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามหลักจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์อันประกอบไปด้วยหลักสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรกหลักความเคารพในบุคคล (Respect for person) คือ การเคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย ประการที่สองหลักคุณประโยชน์ (Benefit) คือ ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการวิจัยกับผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย ชุมชนหรือสังคมในภาพรวม และประการสุดท้ายหลักความยุติธรรม (Justice) คือ การพิจารณาคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการวิจัยด้วยวิธีการที่เป็นธรรมไม่อคติรวมทั้งการกระจายผลประโยชน์และความเสี่ยงจากการดำเนินโครงการวิจัยอย่างเท่าเทียมกัน

References

คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. (2559). นโยบายแห่งชาติและแนวทางปฏิบัติการวิจัยในมนุษย์ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิติ วิทยสรณะ. (2560). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการเผยแผ่ธรรมะของพระนิสิตมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยนิเทศศาสตรปริทัศน์, 20(2) : 102-122.

ทิพิชา โปษยานนท์ (2552). แนวทางจริยธรรมสากลสำหรับการวิจัยในมนุษย์ขององค์การสากลด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์.

ธาดา สืบหลินวงศ์. (2551). แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในคนในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุสรา ไทยธวัช. (2552). จริยธรรมในการวิจัยการดูแลสุขภาพ ในประเทศกำลังพัฒนา. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์.

พรณรงค์ พงษ์กลาง. (2562). แนวคิดนโยบายและแนวโน้มการบริหารสถานีโทรทัศน์ชุมชนในประเทศไทย. นิเทศศาสตรปริทัศน์, 23(1) : 60-72.

วิชัย โชควิวัฒน. (2551) รายงานเบลมองต์. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาการคุ้มครองการวิจัยในมนุษย์.

ไวพจน์ จันทร์วิเมลือง. (2562), วิวัฒนาการของจริยธรรมการวิจัยและหลักจริยธรรมการวิจัยพื้นฐาน. ปทุมธานี: สำนักงานจริยธรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. (2564). แนวทางจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์. กรุงเทพฯ: อาร์ตแอนด์พาร์ทอัพเดท.

สุนีย์ กัลยะจิตร. (2563). จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์. ปทุมธานี: สำนักงานจริยธรรมการวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28