การใช้สื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • หฤษฐ์ เติมสูงเนิน มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ศิริวรรณ อนันต์โท มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์, การใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์, การท่องเที่ยว

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์ 2) การใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์ และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะประชากรของนักท่องเที่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์

 

        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวในบริเวณแหล่งท่องเที่ยวเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่เคยเข้าถึงสื่อออนไลน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการท่องเที่ยวผ่านช่องทางเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการทดสอบไคสแควร์

 

        ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้เวลาในการใช้สื่อออนไลน์แต่ละครั้งประมาณ 15-30 นาที ในช่วงเวลา 16.01-20.00 น. ส่วนความถี่ในการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยวในแต่ละวันไม่แน่นอน ประเภทสื่อออนไลน์ที่กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เลือกใช้เป็นประจำเพื่อการท่องเที่ยว ทั้งก่อนการเดินทาง ระหว่างการเดินทาง และหลังการเดินทาง คือเฟซบุ๊ก 2) นักท่องเที่ยวมีการใช้ประโยชน์จากสื่อออนไลน์ก่อนการเดินทางเพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทาง สิ่งอำนวยความสะดวก ในระหว่างการเดินทางนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้สื่อออนไลน์เพื่อค้นหาข้อมูลกิจกรรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ ที่น่าสนใจ ส่วนหลังการเดินทางนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ใช้สื่อออนไลน์เพื่อแบ่งปันข้อมูลข่าวสารในกลุ่มเฉพาะการท่องเที่ยว และนำเสนอข่าวสารในกลุ่มเพื่อนและคนรู้จัก โดยอุปสรรคและปัญหาส่วนใหญ่ของนักท่องเที่ยว คือปัญหาเกี่ยวกับรายละเอียดข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวที่ไม่ชัดเจน ปัญหาข่าวเท็จ เพจซ้ำซ้อน และปัญหาข้อมูลไม่ทันสมัย 3) ลักษณะประชากรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และสถานภาพสมรส

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). การศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีศักยภาพในการใช้จ่าย.

http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/sector7rabbithood.pdf

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2564). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ ๔ (พ.ศ. 2560 – 2564).

http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER065/GENERAL/DATA0000/00000675.PDF

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถานการณ์ท่องเที่ยวเดือนธันวาคม 2563. https://web.facebook.com/ETSMOTS/photos/pcb.714366025935853/714361669269622/?type=3&theater&_rdc=1&_rdr.

กฤษฎากร ชูเลม็ด. (2557). พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตและความพึงพอใจต่อการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวต่างชาติในอำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณัฐชา พุทธารักษ์สกุล. (2560). พฤติกรรมการท่องเที่ยว พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวกลุ่มเจเนอเรชั่นซี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดวงใจ จิวะคุณานันท์. (2561). อิทธิพลของReviewer ในสื่อออนไลน์กับการตัดสินใจเลือกเดินทางท่องเที่ยวในจังหวัดที่เป็นจุดหมายปลายทางในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธีรพล ยั่งยืน. (2562). การใช้ประโยชน์กับความพึงพอใจและพฤติกรรมผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการท่องเที่ยวของกลุ่มผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

รัดเกล้า เปรมประสิทธิ์ และรสสุคนธ์ ประดิษฐ์. (2555). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พื้นที่ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วันทิกา หิรัญเทศ. (2562). พฤติกรรมการใช้สื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

วลัยนุช สกุลนุ้ย. (2564). การยอมรับและการใช้สื่อออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกสถานที่ท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร. คณะเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA). (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2563.

https://www.etda.or.th/th/newsevents/pr-news/ETDA-released-IUB-2020.aspx

อานนท์ หวังสว่างกุล. (2557). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวนานาชาติต่อสื่อออนไลน์การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Katz,E. and Jay ßG,B. and Gurevitch,M.(1974). Utilization of Mass Communication by The Individual in the usr of Mass Communication.Beverly Hills.

McCombs, M.E., & Becker, L.E. (1979). Using mass communication theory. New Jersey: Prentice-Hall.

Merrill, J. C., & Lowenstein, R. L. (1971). Media message and men. New York: Longman.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28