การเปิดรับข้อมูลข่าวสารและความตระหนักรู้ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิตในสถานการณ์ โควิด19*

ผู้แต่ง

  • นัดดา กาญจนานนท์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การเปิดรับข้อมูลข่าวสารและความตระหนักรู้ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต ในสถานการณ์โควิด19 ผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล (Questionnaire) ซึ่งการรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว (One-Short Descriptive Study) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 18-19 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 ด้านการเปิดรับข้อมูลข่าวสาร พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตั้งใจและสนใจที่จะติดตามข่าวสารอยู่แล้ว รองลงมา คือ สนใจติดตามเมื่อเห็นการแชร์ในสื่อออนไลน์ มีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด19 วันละ 1 ครั้ง ประเภทของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด19 ที่เปิดรับมากที่สุด คือ เรื่องรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อ รองลงมา คือ ข่าวสารการฉีดวัคซีน และมีเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อโซเชียลมีเดีย มากที่สุด

 

        ด้านความตระหนักรู้เกี่ยวกับการป้องกันของนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต โดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ต้องสวมหน้ากากอนามัยเสมอเมื่อออกนอกบ้าน สำหรับความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาที่พบเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด 19 ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต โดยรวมอยู่ในระดับสูง โดยปัญหาที่พบเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด 19 มากที่สุด คือ การเรียนไม่ต่อเนื่อง ไม่เข้าใจ และประสิทธิภาพลดลง เนื่องจาก ต้องเรียนออนไลน์เพียงอย่างเดียว การทดสอบสมมติฐาน ความแตกต่างระหว่างลักษณะทางประชากรของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต กับพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคไวรัสโควิด19 และความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโควิด19 ไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้ พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคไวรัสโควิด19 กับความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคไวรัสโควิด19 มีความสัมพันธ์กัน

References

กรรณิการ์ แสนสุภา,เอื้อทิพย์ , อุมาภรณ์ สุปารมณ์ และ ผกาวรรณ นันทะเสน. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถาการณ์โควิด 19. วารสารมจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศ์, 6(2):83-97.

จิระศักดิ์ สาระรัตน์. (2560). การรับรู้ และความพึงพอใจ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อพัฒนาแผนประชาสัมพันธ์ โครงการโรงไฟฟ้าหงสา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.

ฐิติ วิทยสรณะ และ ลฏาภา เลืองอ่อน. (2555). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจที่มีต่อเนื้อหาทางด้านนาฎศิลป์ผ่านเว็ปไซต์สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์ใ 16(2) : 258-274.

ณัฐนรี ไชยภักดี. (2553) การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วม ในโครงการ 7 สี ปันรักให้โลก ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

นุชจิรา โมระประเสริฐ. (2544). พฤติกรรมการับรู้ข่าวสาร ความรู้ ความตระหนัก และการมีส่วนร่วมของประชาชนในกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับแผนการลดมูลฝอย. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บีซีซี นิวส์. 2563. โควิด-19: ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ภัยคุกคามชาวโลกปี 2020. https://www.bbc.com/thai/international-55217851

ปทุมมา ลิ้มศรีงาม และคณะ. (2564). การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคในกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(9), 18-33.

ยุบล เบญจรงค์กิจ. (2534). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ : คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนาวลี จันทนสมิต. (2546). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารของประชาชนกับความรู้ ความตระหนักและการมีส่วนร่วมในการป้องกันรักษาและการเฝ้าระวังปัญหามลพิษเฉพาะมลพิษทางน้ำและทางอากาศของประชาชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรทัย ราวินิจ และ พิธิวัฒน์ เทพจักร. (2564). การเปิดรับสื่อเกี่ยวกับโควิด 19 จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขและการรู้เท่าทันข่าวปลอมของผู้รับสาร. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2564. หน้า 313-323 ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (2564). https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B2_2019

เสกสรร สายสีสด. (2564). พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารและความตระหนักรู้ของนักเรียนนักศึกษา จังหวัดอุดรธานี ในช่วงไวรัสโควิด-19 ระบาด. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 11(1) : 13-25.

โอภาส พุทธเจริญ. (2564). ตระหนัก เรียนรู้ ป้องกันไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. https://www.chula.ac.th/cuinside/26952/

DIY Inspirenow. (2563). ตระหนักรู้ (Self-Awareness). www.diyinspirenow.com/bm-ตระหนักรู้

Good, C. V. (1973). Dictionary of education. New York: McGraw-Hill.

Wolman,B.B.(1973).Dictionary of Behavioral Science.Van Nostrand: Reingeld Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28