กลยุทธ์การสื่อสารทางสื่อออนไลน์เพื่อโน้มน้าวใจการตัดสินใจซื้อ คอนโดมิเนียมเลี้ยงสัตว์ได้

ผู้แต่ง

  • ณัฐชยา ไกรพรศักดิ์ ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี ภาควิชานิเทศศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

กลยุทธ์การสื่อสาร, คอนโดมิเนียมเลี้ยงสัตว์, การโน้มน้าวใจ

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารทางสื่อออนไลน์เพื่อโน้มน้าวใจการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมเลี้ยงสัตว์ได้ และศึกษาองค์ประกอบที่โน้มน้าวใจการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมเลี้ยงสัตว์ได้ของผู้บริโภค โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ 2 ส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) เพื่อศึกษาการสื่อสารออนไลน์ของบริษัท เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และศึกษาองค์ประกอบที่โน้มน้าวใจการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมเลี้ยงสัตว์ของผู้บริโภค ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) ผู้บริโภค จำนวน 10  คน ผลการวิจัย พบว่า กลยุทธ์การสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์ความน่าเชื่อถือของแหล่งสาร 2) กลยุทธ์การใช้สื่อหลากหลาย 3) กลยุทธ์การใช้ข้อความและคำบรรยาย 4) กลยุทธ์การออกแบบและผลิตสื่อ 5) กลยุทธ์การสื่อสารงานกิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม 6) กลยุทธ์การใช้แฮชแท็ก 7) กลยุทธ์การสื่อสารผ่านบุคคลที่สาม 8) กลยุทธ์การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย 9) กลยุทธ์การใช้จุดจูงใจที่หลากหลาย ส่วนองค์ประกอบที่โน้มน้าวใจการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ได้แก่ 1) แบรนด์ มีชื่อเสียง ในด้านการเป็นคอนโดมิเนียมเลี้ยงสัตว์ 2) ราคา ที่เหมาะสมและจับต้องได้ 3) ทำเล อยู่ในทำเลศักยภาพ การเดินทางสะดวก 4) สิ่งอำนวยความสะดวก ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค 5) สภาพแวดล้อม เหมาะสมกับทั้งคนและสัตว์ 6) โปรโมชั่น ความประหยัดและคุ้มค่า 7) รูปแบบห้องและขนาดพื้นที่ การออกแบบห้องสวยงามและทันสมัย 8) ความสุข ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่สบายขึ้น

References

กมลวร เรืองแก้ว และ วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ. (2561). การใช้ปัจจัยส่วนประสมการตลาดในการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมของผู้บริโภคในเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร (เอกสารนำเสนอ). การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ, ประเทศไทย

เจริญจิตต์ ผจงวิริยาทร. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครของประชากรในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. TU Digital Collections. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:93607

ฐานเศรษฐกิจ. (2565). 20 ปี อสังหาฯไทย ผ่าตลาดคอนโดฯ จากเริ่มต้น สู่ "ยุคโควิด".

https://www.thansettakij.com/property/510938

ณัฐสินี กรรโมทาร. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดดิจิทัลของร้านค้าผลิตภัณฑ์ความงามอีฟแอนด์บอย (EVEANDBOY) บนอินสตาแกรมสตอรี่ (Instagram stories) กับรูปแบบการดำเนินชีวิต การใช้สื่อ และ พฤติกรรมตอบสนองของผู้ใช้งาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. NIDA KM: WISDOM FOR CHANGE. https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5142

ธงชัย ชูสุ่น. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. BU Research. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1055

พลอยกนก ผาสุขตระกูล. (2561). รูปแบบการโฆษณาบนเฟชบุ๊กที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อและเลือกใช้บริการสินค้ากลุ่มธุรกิจความงาม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/2827

ยุทธพล คุณวงศ์วิวัฒน์. (2559). การเลือกใช้และออกแบบสื่อโฆษณาที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และทัศนคติของผู้บริโภค: กรณีศึกษาบ้านทาวน์เฮาส์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบัณบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. NIDA KM: WISDOM FOR CHANGE. https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5416

รัฐญา มหาสมุทร. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารของผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดในโลกออนไลน์ที่มีผลต่อทัศนคติของกลุ่มผู้ติดตาม. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 2(1), 81-106.

ศาศวัต จันทนะ. (2565). กลยุทธ์การสื่อสารผ่านสื่อใหม่ของกระทรวงสาธารณสุขและความไว้วางใจของ ประชาชนในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(5), 570-584.

หนึ่งฤทัย ทาเอื้อ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียมของกลุ่มลูกค้า GEN Y ประเภทเพื่ออยู่อาศัย (Real Demand) ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล. CMMU Digital Archive. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/3851

Appme. (2562). วิถีชีวิตคนเมือง เรียบง่ายหรือวุ่นวายกันแน่. https://appme.org/วิถีชีวิตคนเมือง-เรียบง/

Brand Buffet. (2564). ปรากฏการณ์ “Pet Humanization” ทำไมมนุษย์ยอมเป็น “ทาสหมา – ทาสแมว” ดันตลาดสัตว์เลี้ยงโตมหาศาล. https://www.brandbuffet.in.th/2021/10/pet-humanization-trend/

Lavidge, R. J., & Steiner, G. A. (1961). A model for predictive measurements of advertising effectiveness. Journal of marketing, 25(6), 59-62.

Property 101 Thailand. (2563). รู้ก่อนเลี้ยง กฎการเลี้ยงสัตว์ในคอนโดมีอะไรบ้าง?. https://property101thailand.com/knowledge/pet-policies-for-condominium/

The 101 World. (2563). คนไทยในอนาคตล้วนเป็นคนเมือง. https://www.the101.world/future-urbanites/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28