กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์

ผู้แต่ง

  • ธนภรณ์ เมธาวรนันท์ชัย คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ธีรภัทร วรรณฤมล คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การสื่อสารการตลาด, ธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของธุรกิจสั่งอาหารออนไลน์ของ Grab Food และ foodpanda (2) เพื่อศึกษารูปแบบและประสบการณ์การใช้งานแอปพลิเคชัน Grab Food และ foodpanda  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกลุ่ม (Focus group) จากผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน Grab Food และ foodpanda จำนวน 20 คน เพื่อศึกษาข้อมูลและประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้งานแอปพลิเคชันทั้งสองแบรนด์

 

        ผลการวิจัยพบว่า ด้านกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของ Grab food และ foodpanda กลยุทธ์ทั้ง 2 แบรนด์มีความคล้ายคลึงกันในหลายด้าน ทั้งในด้านการโฆษณา การให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ การส่งเสริมการขาย และการตลาดทางตรง ซึ่งทั้ง 2 แบรนด์จะมุ่งเน้นไปที่การนำเสนอการโฆษณาเกี่ยวกับการลด แลด แจก แถมสินค้า และการโฆษณาร้านอาหาร โดยด้านที่เน้นการแข่งขันกันมากที่สุด ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการขาย นอกจากนี้กลยุทธ์ดังกล่าวที่ Grab food สร้างความแตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ คือการสร้างรางวัล Grab Thumbs Up Awards ให้แก่ร้านค้าที่เป็นพันธมิตร และในส่วนกลยุทธ์ของ foodpanda ได้มีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการขายในรูปแบบการจัดแคมเปญวันอังคารฟู้ดแพนด้า

 

        ในส่วนของ User Interface (UI) และ User Experience (UX) พบว่ากระบวนการออกแบบ กระบวนการออกแบบตอบสนอง และการออกแบบรูปลักษณะภายนอกของทั้ง 2 แบรนด์มีความคล้ายคลึงกันทั้งในด้านกระบวนการออกแบบ , กระบวนการออกแบบตอบสนอง , การออกแบบรูปลักษณะภายนอกในเรื่องของการใช้สี ตัวหนังสือ ระบบการใช้งาน และการนำเสนอข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันของแบรนด์ตนเอง นอกจากนี้ทั้ง 2 แบรนด์ยังมีความแตกต่างกันในเรื่องของรูปภาพ คือ ทาง foodpanda ใช้วิธีการนำเสนอรูปภาพอาหารที่ใช้เพื่อการโฆษณาของแบรนด์ นำมาใส่กับร้านค้าที่ไม่ได้อัพโหลดรูปภาพของอาหารลงบนแอปพลิเคชัน จึงทำให้ผู้ใช้บริการไม่สามารถเห็นภาพอาหารที่เป็นเมนูอาหารของทางร้านค้าได้เลยทำให้ผู้ใช้บริการเกิดความลังเลที่จะสั่งอาหารในแอปพลิเคชัน foodpanda  ในส่วนของ Grab food ใช้วิธีการนำเสนอรูปภาพอาหารที่เป็นไปตามจริงจากร้านค้าของตนเอง และในส่วนของ User Experience (UX) พบว่า ในด้านความหลากหลายประสิทธิภาพและการปรับปรุงคุณภาพมีความแตกต่างกันโดยแอปพลิเคชัน Grab food ยังให้บริการด้านอื่นๆนอกเหนือจากบริการการส่งอาหาร เช่น Grab Taxi ส่วนเรื่องของการปรับปรุงคุณภาพเนื่องจาก Grab food มีขอบเขตการให้บริการที่กว้างกว่าจึงทำให้มีการเพิ่มเติมร้านอาหารใหม่ๆอยู่เสมอ ทำให้มีตัวเลือกที่หลากหลายให้แก่ผู้ใช้งานอยู่ตลอดเวลา

References

ธัญรัตน์ รัตนกุล. (2558). การสื่อสารทางการตลาดและการรับรู้ภาพลักษณ์ตราสินค้าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อชุดชั้นในยี่ห้อวาโก้สตรีในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาโท มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปิยมาภรณ์ คุ้มทรัพย์. (2555). ปัจจัยการสื่อสารทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางสกินฟู้ด ของประเทศเกาหลี. การค้นคว้าอิสระปริญญาโท มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สกนธ์ ภู่งามดี. (2546). การออกแบบและผลิตงานโฆษณา. แซทโฟร์พริ้นติ้ง จำกัด.

สุวิมล ว่องวานิช. (2560). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 19). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิณพร ภูจีระและณัฐพงศ์ พลสยม. (2560). การพัฒนาแอพพลิเคชั่นแอพพลิเคชั่นคำศัพท์ภาษาไทยพื้นฐานสำหรับเด็กชั้นอนุบาล 1 บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 3(2), 7-14.

buffohero. (2016). UX คืออะไร ? “User Experience” สิ่งสำคัญที่ทุกคน จำเป็นต้องรู้. สืบค้นเมื่อ 14 กันยายน พ.ศ. 2565, จาก https://buffohero.com/learning-center/ux-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0% B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84% E0%B8%A3-user-experience/

Masley, S., Roetzheim, R., & Gualtieri, T. (2009). Aerobic exercise enhances cognitive flexibility. Journal of Clinical Psychology Medical Setting, 16, 186-193.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28