การสื่อสารภาพลักษณ์และกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อความภักดีของกลุ่มเกมเมอร์แฟนคลับ Vtuber : กรณีศึกษา ค่าย Nijisanji และ ค่าย Hololive Production

ผู้แต่ง

  • จิรัชญา พันธ์พา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ธีรติร์ บรรเทิง คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

นิจิซันจิ, โฮโลไฟล์ โปรดักชั่น, วีทูบเบอร์, การสื่อสารภาพลักษณ์, กลยุทธ์

บทคัดย่อ

        การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของเกมเมอร์ค่าย Nijisanji และ ค่าย Hololive Production 2) ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารภาพลักษณ์ของเกมเมอร์ค่าย Nijisanji และ ค่าย Hololive Production 3) ศึกษาพฤติกรรมการมีส่วนร่วม การสนับสนุน และการตัดสินใจซื้อสินค้าของค่าย Nijisanji และ ค่าย Hololive Production ของแฟนคลับ และ 4) เปรียบเทียบกลยุทธ์การนำเสนอการสื่อสารภาพลักษณ์ของเกมเมอร์ค่าย Nijisanji และ ค่าย Hololive Production โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยเก็บข้อมูลผ่านการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) จากผู้ที่ติดตามรับชมเนื้อหาของวีทูบเบอร์ทั้งสองค่าย และเคยมีประสบการณ์ในการสนับสนุนวีทูบเบอร์ผ่านช่องทางใดช่องทางหนึ่ง จำนวน 5 คน

 

        ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาของค่าย Nijisanji มีการใช้เนื้อหารูปแบบวิดีโอไลฟ์สตรีมมิ่ง  วิดีโอสั้น ข้อความ รูปภาพ ลิงค์ ภาพเคลื่อนไหว และเนื้อหาที่สร้างการมีส่วนร่วม และค่าย Hololive Production มีการใช้เนื้อหารูปแบบวิดีโอไลฟ์สตรีมมิ่ง ข้อความ รูปภาพ และลิงค์ ทั้งนี้ในส่วนของกลยุทธ์การสื่อสารภาพลักษณ์ ทั้งสองค่ายมีการใช้กลยุทธ์การผลิตเนื้อหาให้มีความสอดคล้องและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ใช้ภาษาที่เหมาะสมกับบริบทและสามารถสื่ออารมณ์ออกมาได้ดี ใช้เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความเป็นตัวตน และสื่อสารกับผู้ชมและให้ผู้ชมมีส่วนร่วมขณะเผยแพร่เนื้อหาด้านพฤติกรรมการมีส่วนร่วม การสนับสนุน และการตัดสินใจซื้อสินค้า พบว่า มีการสมัครสมาชิก ส่งซุปเปอร์แชทและโดเนท ซื้อสินค้า Official แชร์คอนเทนต์ สร้างสรรค์เนื้อหา และ Gifted Membership เมื่อทำการเปรียบเทียบกลยุทธ์การนำเสนอการสื่อสารภาพลักษณ์จะเห็นได้ว่าวีทูบเบอร์ค่าย Nijisanji มีการใช้รูปแบบการนำเสนอเนื้อหาที่มากกว่าวีทูบเบอร์ค่าย Hololive Production แต่กลยุทธ์ที่ใช้มีความเหมือนกัน

References

ชนกานต์ รักชาติ. (2558). วิธีการสื่อสารและการธำรงอยู่ของกลุ่มแฟนคลับศิลปินนักร้องกลุ่มจากประเทศเกาหลีใต้ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ณัฏฐา อุ่ยมานะชัย. (2560). วิดีโอคอนเทนต์กับการตลาดแบบบอกต่อ. วรสารนักบริหาร, 37(2), 22-28.

ณัฐพร กาญจนภูมิ และคณะ. (2562). ปรากฏการณ์วัฒนธรรมแฟนตัวละครการ์ตูนไทย. Veridian E – Journal, Silpakorn University. 12(2), 739-757.

ณัฐพัชญ์ วงษ์เหรียญทอง. (2557). Content Marketing เล่าให้คลิก พลิกแบรนด์ให้ดัง. สมุทรปราการ: เนชั่นบุ๊คส์.

ปรมะ สตะเวทิน. (2533). หลักนิเทศศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พริมา ภิญโญลาภะ. (2560). อิทธิพลของการทำการตลาดแบบเนื้อหา (Content Marketing) ที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการNetflix ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ภัคชุดา อำไพพรรณ. (2558). กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานต่อสื่อมวลชน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ศลิษา วงศ์ไพรินทร์. (2561). กระบวนการคิดเชิงออกแบบผ่านวิดีโอคอนเทนต์โดยใช้เทคนิคการเล่าเรื่องของเฟซบุ๊กแฟนเพจ Minutevideos Thailand. วารสารนิเทศศาสตร์. 37(2), 86-99.

สพล จันทร์ไพศาลสิน. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการธุรกิจขนส่งสินค้าทางถนน. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เสริมยศ ธรรมรักษ์. (2554). การสร้างแบรนด์บุคคล: ปั้นคนให้เป็นแบรนด์. Executive Journal, 106-116.

สมชาย เล็กเจริญ และญัสมิน บินโซดาโอะ. (2565).ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิผลต่อการตัดสินใจสมัครสมาชิกวีทูบเบอร์ในประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 6(3):1080-1095.

อรวรานันท์ พัศธนไพศาล. (2564). การสื่อสารการตลาดเชิงเนื้อหา (Content Marketing) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกการท่องเที่ยวเสมือนจริง Virtual Tour บนช่องทาง Youtube ของกลุ่ม Gen Z. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.

Pawar, Avinash. (2016). The Power of Personal Branding. International Journal of Engineering and Management Research, 6(2), 840-847.

Sadana, Shweta. (2022). 6 Types of Tweets that Reap Maximum Engagement. Retrieved from https://insights.vaizle.com/6-types-of-tweets-for-max-engagement/

Taylor, Ivy. (2020). Gaming and live streaming rise globally amid COVID-19 crisis. Retrieved from https://www.gamesindustry.biz/gaming-and-live-streaming-rise-globally-amid-covid-19-crisis

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28