พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเน็ตฟลิกซ์ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ตรีชฎา ชูรส คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ธีรภัทร วรรณฤมล คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ, ความพึงพอใจ, วิดีโอสตรีมมิ่ง, เน็ตฟลิกซ์

บทคัดย่อ

        การศึกษาเรื่อง “พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเน็ตฟลิกซ์ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่” การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิดีโอสตรีมมิ่งเน็ตฟลิกซ์ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อวิดีโอสตรีมมิ่งเน็ตฟลิกซ์ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของภาครัฐและเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ที่มีพฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจต่อการใช้งานสื่อวิดีโอสตรีมมิ่งเน็ตฟลิกซ์ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยพายัพ จำนวน 400 คน โดยมีการใช้แบบสอบถามออนไลน์ เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยสถิติการทดสอบแบบ t-test และแบบสถิติความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) หากพบความแตกต่างจะนำไปเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของ LSD

 

        ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ทำให้มีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวีดิโอสตรีมมิ่งเน็ตฟลิกซ์ที่แตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย (1) ปัจจัยด้านเพศ มีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อวิดีโอแตกต่างกันทั้งหมด 2 ด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมการเปิดรับการเลือกใช้แพ็กเกจ และด้านพฤติกรรมการเปิดรับระยะเวลาในการใช้งาน และในส่วนที่สอง นักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่แตกต่างกัน ทำให้มีความพึงพอใจต่อสื่อวิดีโอสตรีมมิ่งเน็ตฟลิกซ์แตกต่างกัน โดยแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) ปัจจัยด้านเพศ ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพึงพอใจต่อสื่อวิดีโอสตรีมมิ่งเน็ตฟลิกซ์ที่แตกต่างกัน ในด้านราคาและด้านการส่งเสริมการตลาด (2) ปัจจัยด้านรายได้ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาที่มีความพึงพอใจต่อสื่อวีดิโอสตรีมมิ่งเน็ตฟลิกซ์ที่แตกต่างกันในด้านการใช้งาน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลทำให้เกิดความพึงพอใจและสามารถสร้างความไว้วางใจต่อผู้ใช้บริการเน็ตเน็ตฟลิกซ์ และยังส่งผลต่อการใช้งานต่อไปในระยะยาวท่ามกลางการแข่งขันของธุรกิจสื่อวิดีโอสตรีมมิ่งที่กำลังพัฒนาและปรับตัวไปอย่างรวดเร็วต่อไปในอนาคต

References

เกษมสันต์ พิพัฒน์ศิริศักดิ์. (2551). การจัดการทางการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธนชาติ นุ่มนนท์. (2565). สถิติใช้ดิจิทัลทั่วโลก “คนไทย” เป็นอันดับต้นหลายด้าน. https://www.bangkokbiznews.com/columnist/988063.

ปรมะ สตะเวทิน. (2546). การสื่อสารมวลชน : กระบวนการและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.

พีระพงศ์ วีระวุฒิ. (2561). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความพึงพอใจแอพพลิเคชัน Netflix ของผู้ใช้งาน Netflix ในประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญานิเทศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2534). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วชิรวัชร งานละม่อม. (2558). แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์ 2016.

http://learningofpublic.blogspot.com/2015/09/blog-post_11.html

สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2557). เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ. ซีเอ็ดยูเคชั่น.

หัฏฐพัชร์ เคนพะนาน และสุรัชดา เชิดบุญเมือง. (2019). พหุปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการ Video Streaming Netflix ประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทัศน์, 8 (1). 169-183.

Becker, S. L. (1972). Discovering Mass Communication. Illinois: Scott Foresman and Company Glenview.

Kotler, P., Hermawan, K., & Iwan, S. (2017). Marketing 4.0: Moving from Traditional to Digital. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc

McLeod, J. K., & Keefe, G. J. O. (1972). Mass communication research. London: Sage.

Netflix Thailand. (2563). ข้อมูล Netflix. https://www.netflix.com/browse.

Taokaemai. (2017). กรณีศึกษา Blockbuster อดีตยักษ์ใหญ่แห่งวงการเช่าภาพยนตร์. https://taokaemai.com/กรณีศึกษา-blockbuster-อดีตยักษ์/

Tui Sakrapee. (2019). การจัดอันดับคุณภาพด้านวิชาการของเว็บโบเมตริกส์จากประเทศสเปน. www.eduzones.com

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28