การสื่อสารเพื่อการจัดการท่องเที่ยวของตลาดใต้โหนด จังหวัดพัทลุง

ผู้แต่ง

  • พจศกร ชูทอง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การสื่อสารเพื่อการจัดการการท่องเที่ยว, รูปแบบการสื่อสาร, การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม, บทบาทการสื่อสารของผู้นำ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการสื่อสารในการจัดการท่องเที่ยว ของตลาดใต้โหนด  2) การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวของตลาดใต้โหนด และ 3) บทบาททางการสื่อสารของผู้นำในการจัดการท่องเที่ยวของตลาดใต้โหนด 

 

        การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง คือ  คณะกรรมการตลาดใต้โหนด  จำนวน 13 คน และ  สมาชิกของตลาดใต้โหนด ที่ร่วมดำเนินงานมาอย่างน้อย 5 ปี จำนวน 13 คน รวม 26 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ  แบบสัมภาษณ์  และการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วมและเอกสารที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป

 

        ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสื่อสารในการจัดการท่องเที่ยวของตลาดใต้โหนดในสถานการณ์ การเตรียมความพร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว การขอความร่วมมือในการจัดการท่องเที่ยว  การประชาสัมพันธ์ตลาดใต้โหนด  และการสื่อสารเพื่อแก้ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการจัดการท่องเที่ยว   ประกอบด้วยการสื่อสาร 3 รูปแบบ ตามทิศทางการไหลของข่าวสาร ได้แก่ (1) การสื่อสารจากบนลงล่าง เน้นการสื่อสารของคณะกรรมการตลาดใต้โหนดสู่สมาชิกตลาดใต้โหนด  โดยการประชุม  หอกระจายข่าว  ป้ายประชาสัมพันธ์  ป้ายบอกทาง  บอร์ดประชาสัมพันธ์ และสื่อใหม่  (2) การสื่อสารจากล่างขึ้นบน  เป็นการสื่อสารจากสมาชิกตลาดใต้โหนดสู่คณะกรรมการตลาดใต้โหนด โดยใช้สื่อบุคคล การประชุมกลุ่มย่อย การอบรมเชิงปฏิบัติการ สภากาแฟ  การพูดคุยในวงเหล้า สื่อใหม่ สมุดเยี่ยม และกล่องรับความคิดเห็น  (3) การสื่อสารตามแนวนอน เป็นการสื่อสารระหว่างคณะกรรมการตลาดใต้โหนด  การสื่อสารระหว่างสมาชิกตลาดใต้โหนดด้วยกันเองและการสื่อสารระหว่างนักท่องเที่ยวกับสมาชิกตลาดใต้โหนด โดยใช้  สื่อบุคคล   มัคคุเทศก์น้อย  คาราวานกิจกรรม  กิจกรรมทำบุญวันสารทเดือนสิบ กิจกรรมสานเสวนา  คอนเสิร์ต และ สื่อใหม่ 2) การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวของตลาดใต้โหนด พบว่ามี 3 ระดับ คือ (1) การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในฐานะผู้กำหนดนโยบาย และวางแผน ได้แก่ คณะกรรมการตลาดใต้โหนด  (2) การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในฐานะผู้ส่งสาร ผู้ผลิต ผู้ร่วมผลิต ผู้ร่วมแสดง  ได้แก่  สมาชิกตลาดใต้โหนด  มีทั้ง ผู้ค้าขาย  ผู้ร่วมจัดกิจกรรม  สมาชิกในชุมชนที่ร่วมจำหน่ายสินค้าและบริการ  และ (3) การสื่อสารแบบมีส่วนร่วมในฐานะผู้รับสาร ผู้ใช้สาร  ได้แก่ สมาชิกในตลาดใต้โหนด หน่วยงานภาครัฐ  รวมทั้งนักท่องเที่ยวในการให้ข้อเสนอแนะ ติชมการดำเนินงาน  3) บทบาททางการสื่อสารของผู้นำในการจัดการท่องเที่ยวของตลาดใต้โหนด  พบว่า  มีบทบาททางการสื่อสาร คือ การถ่ายทอดแนวคิดใหม่  การประสานงานในการจัดการท่องเที่ยว การประชาสัมพันธ์ตลาดใต้โหนด การสื่อสารในการบริการนักท่องเที่ยว  และการให้คำปรึกษาในการช่วยแก้ไขปัญหา

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). สื่อสารมวลชน : ทฤษฎีแนะแนวทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2543). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนศึกษา. กรุงเทพฯ : เอดิสันเพราสโปรดักส์

กาญจนา แก้วเทพ. (2557). เรื่องสื่อสาร-การท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).

เณริศา ชัยศุภมงคลลาภ. (2552) . รูปแบบการสื่อสารเพื่อจัดการการท่องเที่ยว ของชุมชนตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัชนันท์ มุขแจ้ง. (2550). เครือข่ายและกระบวนการสื่อสารเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรกรของชมรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปานตา ดารามิตร. (2552). รูปแบบการสื่อสารเพื่อจัดการการท่องเที่ยว ของอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรรัตน์ ทองเลิศ และปาริชาติ สถาปิตานนท์. (2556). การสื่อสารในการจัดการท่องเที่ยวของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา,6(2): 72-87.

สมฤทัย เสือปาน. (2549). รูปแบบการสื่อสารเพื่อจัดการการท่องเที่ยวชุมชนตลาดสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สินธุ์ สโรบล. (2546). การท่องเที่ยวโดยชุมชนแนวคิดและประสบการณ์ภาคเหนือ. โครงการประสานงานวิจัยและพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวและชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค. (พิมพ์ครั้งที่ 1) เชียงใหม่ : วนิดาเพรส.

ธันยพร วิณิชฤทธา. (2550). การจัดการความรู้ในชุมชน : กรณีศึกษาด้านการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดสมุทรสงคราม มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ

วรรณวิมล หุติณทรวงศ์. (2549). การสื่อสารในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบ โฮมเสตย์ของชุมชนบางโพงพาง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตร มหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-28