การสื่อความหมาย “จิตวิญญาณความเป็นครู” ที่สะท้อนผ่านวีดิทัศน์เพื่อการส่งเสริมสังคม ของเซเว่นอีเลฟเว่น

ผู้แต่ง

  • ธนวัฒน์ เจียมจิตวานิชย์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ณชรต อิ่มณะรัญ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การประกอบสร้างความหมาย, จิตวิญญาณความเป็นครู, วีดิทัศน์เพื่อการส่งเสริมสังคม, วีดิทัศน์ออนไลน์, องค์ประกอบทางการสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อให้เข้าใจถึงการประกอบสร้างความหมายเรื่องจิตวิญญาณความเป็นครูที่สะท้อนผ่านวีดิทัศน์เพื่อการส่งเสริมสังคมของเซเว่นอีเลฟเว่นและ (2) เพื่อให้เข้าใจถึงองค์ประกอบทางการสร้างสรรค์ที่มีพลังทางการสื่อสารต่อกลุ่มเป้าหมาย โดยแนวคิดและทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นแนวทางในการเข้าสู่ปัญหานำวิจัยประกอบด้วยแนวคิดเรื่องความเป็นครู แนวทางการศึกษาเชิงสัญญะวิทยา แนวการวิเคราะห์ภาษาภาพเชิงเทคนิค แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับภาพลักษณ์องค์กร และแนวคิดการตลาดเพื่อความยั่งยืน โดยผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลชิ้นงานวีดิทัศน์ในช่วงวันที่ 1-15 เมษายน พ.ศ. 2565 เพื่อนำมาวิเคราะห์ตัวบท และทำการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายจำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา ครูระดับมัธยมศึกษา อาจารย์ในระดับอุดมศึกษา

 

        ผลการวิจัยพบว่า (1) การประกอบสร้างความหมายเรื่องจิตวิญญาณความเป็นครูที่สะท้อนผ่านวีดิทัศน์ ได้แก่ การใช้ภาพเพื่อการอุปมา อุปลักษณ์ ปฏิพจน์ การสร้างความเป็นคู่ตรงข้าม การใช้สัญลักษณ์ภาพ อวัจนภาษาผ่านการแสดงออกทางสีหน้าและท่าทาง ความหมายแฝงจากภาษาภาพเชิงเทคนิค การยุบรวมความหมายมิติด้านเวลา การเปลี่ยนจังหวะดนตรีในจุด Turning point การใช้เทคนิคเสียงก้อง การใช้เพลง และบทสวดไหว้ครูประกอบวีดิทัศน์เพื่อสื่อความหมาย (2) องค์ประกอบทางการสร้างสรรค์ของงานวีดิทัศน์ที่มีพลังทางการสื่อสารต่อกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ การสร้างเรื่องราวจากเหตุการณ์จริง การใช้สัญลักษณ์ที่สื่อถึงความเป็นครูได้โดดเด่น การใช้แสงในการสื่อความหมาย การใช้เสียงดนตรี และเสียงเพลงประกอบ การนำเสนอเนื้อหาเชิงอารมณ์ เทคนิคการเล่าเรื่องให้ชวนติดตาม การสื่อความหมายในเชิงเปรียบเทียบ

References

กฤษณ์ ทองเลิศ, และณชรต อิ่มณะรัญ. (2564). การประกอบสร้างมโนทัศน์เรื่อง “สุวรรณภูมิ” ที่ สะท้อนผ่านงานสารคดีทางสื่อออนไลน์. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 25(2), 7-22.

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในการสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

จามจุรี ยรรยง. (2559). การตอบสนองของผู้บริโภคต่อภาพยนตร์โฆษณาเกี่ยวกับครูของ 7-Eleven[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5807010284_7150_5096.pdf

ณชรต อิ่มณะรัญ. (2564). องค์ประกอบทางการสร้างสรรค์วีล็อกเพื่อการสื่อสารการท่องเที่ยว. วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 25(1), 96-109.

นธกฤต วันต๊ะเมล์. (2561). การตลาดเพื่อความยั่งยืน : Sustainability Marketing. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูสังฆรักษ์จักรกฤษณ์ ภูริปญฺโญ, พระครูโสภณพุทธิศาสตร์, พระครูโอภาสนนทกิตติ์, สมศักดิ์ บุญปู่,และพีรวัฒน์ ชัยสุข. (2562). จิตวิญญาณความเป็นครูมืออาชีพ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 31-37.

พีรดนย์ บุญมา. (2560). การวิเคราะห์สัญญะของนักกีฬาในภาพยนตร์โฆษณา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3152/1/phiradon_bunm.pdf

รัญดา พลเยี่ยม, และลักษณา คล้ายแก้ว. (2563). ปัจจัยที่ทำให้ไวรัลวิดีโอเพื่อการโฆษณาได้รับความนิยมบน สังคมออนไลน์. วารสารเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มทร.พระนคร, 5(2), 59-66.

รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี. (2563). พระราชดำรัสพิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 ครั้งที่ 3. https://www.pmca.or.th/thai/?p=6542

วราพร ดำจับ. (2562). รูปแบบการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจในยุค 4.0. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี, 5(2), 44-56.

วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์. (ม.ป.ป.). ประวัติความเป็นมา. https://www.panyapiwat.ac.th/history/

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (ม.ป.ป.). วันครู. https://www.nectec.or.th/thailand/thai_teacher.html

อดิษฐ์ เมธยาภิรมย์. (2561). การเล่าเรื่องผ่านภาพยนตร์โฆษณาส่งเสริมสังคมระหว่าง พ.ศ. 2558 – 2560 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ,สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.]. http://gscm.nida.ac.th/uploads/files/1600058417.pdf

Combe, I., Greenland S., & Crowther, D. (2003). The Semiology of Changing Brand Image. Journal of Research in Marketing and Entrepreneurship, 5(1), 1-21. doi:10.1108/14715200380001277

Lacey, N. (2009). Image and representation key concepts in media studies. London: Macmillan Press Ltd.

Udomrak, S. (2016, November 28). ความสำคัญกับนิยามคำว่าครู 02 [Web log message]. https://www.gotoknow.org/posts/619339

Eleven Thailand. (2015, January 13). อาจารย์ใหญ่ ครูผู้ให้ (The Everlasting Teacher) [Video]. https://youtu.be/Fc8CaO0LgXA

Eleven Thailand. (2016, January 12). เชิดชูพระคุณครู [Video]. https://youtu.be/kktv5MWRmpY

Eleven Thailand. (2018, January 14). โรงเรียนปลายข้าว [Video]. https://youtu.be/HuG-OiNRToE

Eleven Thailand. (2022, January 14). ครู...โลกเงียบ [Video]. https://youtu.be/8n6ocbjrZw8

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31