พฤติกรรมการใช้ ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ต่อสื่อโซเชียลมีเดีย ของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เสกสรร สายสีสด สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ภราดร ศิริมนตรี สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ณัชธิชา สุขคำ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

โซเซียลมีเดีย, พฤติกรรมการใช้, ความพึงพอใจ, การใช้ประโยชน์, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยเรื่อง พฤติกรรมการใช้ ความพึงพอใจและการใช้ประโยชน์ต่อสื่อโซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครอุดรธานีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรม ความพึงพอใจ และการใช้ประโยชน์จากการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครอุดรธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ จากแบบสอบถาม จากกลุ่มผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล

 

        ผลการศึกษา พบว่า

 

        1. พฤติกรรมการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครอุดรธานี พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ช่วงอายุส่วนใหญ่ของกลุ่มตัวอย่างอยู่ที่  60 – 64 ปี รายได้ไม่เกิน 10,000 บาท ระดับการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ที่ประถมศึกษา  อาชีพส่วนใหญ่คือ เจ้าของธุรกิจ ลักษณะการอยู่อาศัยส่วนมากจะอยู่กับคู่สมรสและบุตร กลุ่มตัวอย่างใช้เฟซบุ๊กมากกว่าแอพพลิเคชั่นอื่น รองลงมาคือแอพพลิเคชั่นไลน์ เวลาในการใช้จะอยู่อยู่ในช่วงเวลาเย็น 17:00 – 19:00 น. ระยะเวลาการใช้ คือ ใช้น้อยกว่า 1 ชั่วโมงต่อวัน สถานที่ที่ใช้สื่อโซเชียลมีเดียส่วนมากจะใช้ในที่พักอาศัยของตนเอง รูปแบบการใช้จะเป็นการเข้าไปกดไลด์ เพื่อแสดงความรู้สึก ปัญหาในการใช้ ส่วนมากจะมีปัญหาเรื่องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต  ผู้แนะนำและให้ความช่วยเหลือส่วนมากจะเป็นลูกหลาน

 

        2. ความพึงพอใจในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครอุดรธานี พบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจมากในการใช้สื่อโซเชียลมีเดียในการสนทนาโต้ตอบกับเพื่อน และบุคคลที่ต้องการ รองลงมาคือ การติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของดารา เพลง และข่าว

 

        3. ประโยชน์การใช้สื่อโซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครอุดรธานี พบว่า ประโยชน์ของการใช้สื่อโซเชียลมีเดียของผู้สูงอายุคือ การได้เพิ่มช่องทางติดต่อสื่อสารกับสมาชิกในครอบครัว รองลงมาคือ การได้ติดต่อกับเพื่อนที่อยู่ห่างไกล

References

กานต์ชนก ม่วงกล่ำ.(ม.ป.ป) ผู้สูงอายุกับ Social Media วารสารพัฒนาข้าราชการกทม. https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000112/News/Panyapat/Panyapat40_2/content13.pdf

ฉายสิริ พัฒนถาวร. (2565) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจสื่อออนไลน์ของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของผู้ประกอบการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 9(1) 62-79.

มนัสนี บุญมีสีสง่า (2560) รูปแบบการใช้โซเซียลมีเดียของผู้สูงอายุในสังคมไทย กรณีศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลครั้งที่ 9 “ราชมงคลสร้างสรรค์กับนวัตกรรมที่ยั่งยืนสู่ประเทศไทย 4.0” (1598 – 1605) กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ: ที.พี.พริ้นท์.

วรัชญา ทิพย์มาลัย (2562) พฤติกรรมและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสิทธิของผู้สูงอายุผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ [วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต] มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วริศรา จินดาผ่อง (2565) การรู้เท่าทันสื่อโซเชียลของผู้สูงอายุในเรื่องการเปิดรับเนื้อหาทางการเมืองในการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ และนานาชาติ ครั้งที่ 13 (น.330-352) สงขลา

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี, (2563) รายงานประจำปี 2563.

https://udo.moph.go.th/thepost/upload/fDAGpewyXpJ4pQYaLbUftR7p6i/oEYZuHniCHbgh3TxvEaVbti1Dm.pdf

สุทธยา สมสุข” (2563) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุ วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ 33(1), 62-77

สุนทรีย์ ชุ่มมงคล (มปพ.) การสื่อสารเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้วยใหม่ผ่านโซเชียลมีเดีย. (รายงานการวิจัย) สาขานวัตกรรม การออกแบบและการผลิตสื่อคณะนิเทศศาสตร์ กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี https://research.bkkthon.ac.th/abstac/ab_09092562080951.pdf

อารยา ผลธัญญา, (2564) การใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์กับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 15(3), 272-288 .

อุทัย ยะรี, (2562) การใช้สื่อสังคมออนไลน์กับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในยุคไทยแลนด์ 4.0 วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 8(1). 222-238.

https://www.hu.ac.th/Conference/conference2022/proceedings/doc/03%20มนุษยศาสตร์/4-Hu-157%20(330%20-%20352).pdf

Marketer Team, (2564). สถิติผู้สูงอายุไทยปี 65 จำนวนผู้สูงวัยเพิ่มต่อเนื่อง แต่อัตราการเกิด. https://marketeeronline.co/archives/272771

Krejcie ,V.R.and Morgan , W.D. (1970).Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31