ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพในซีรีส์วาย

ผู้แต่ง

  • ปณต สิริจิตราภรณ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ซีรีส์วาย, ความรุนแรงบนฐานเพศสภาพ, เพศหลากหลาย

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรุนแรงบนฐานเพศสภาพที่ปรากฏในซีรีส์วาย และผลกระทบจากการนำเสนอความรุนแรงดังกล่าว โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบทซีรีส์วาย และสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มนักกิจกรรมด้านความเป็นธรรมทางเพศและกลุ่มผู้ชมที่ทำงานภายใต้เครือข่ายภาคประชาสังคมด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ ที่เป็นบุคคลเพศหลากหลาย ผลการศึกษาพบว่าความรุนแรงบนฐานเพศสภาพที่ปรากฏในซีรีส์วาย มีดังนี้ 1) การใช้กำลังประทุษร้าย 2) การแสดงออกถึงความเหยียดหยามทางวาจา 3) การกระทำทางเพศอันปราศจากความยินยอม 4) การปฏิบัติต่อคู่รักเสมือนอีกฝ่ายเป็นสมบัติของตน 5) การแบ่งแยกบทบาททางเพศ โดยมักจะถูกนำเสนอออกมาในลักษณะของการลดทอนความรุนแรงลง และละเลยที่จะถ่ายทอดให้เห็นถึงผลกระทบที่ตามมา ซึ่งการนำเสนอเช่นนี้ส่งผลให้ 1) ปัญหาความรุนแรงบนฐานเพศสภาพถูกลดความสำคัญ (2) สร้างภาพจำหรือภาพลักษณ์เหมารวมให้กับกลุ่มบุคคลเพศหลากหลาย 3) สร้างความกดดันแก่บุคคลเพศหลากหลาย 4) เรื่องสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลเพศหลากหลายถูกละเลย

References

กฤตพล สุธีภัทรกุล. (2563). การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].

กันตพงศ์ เชี่ยวพิมลพร. (2022). 10 สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจใหม่ เพื่อลบการตีตรา อคติต่อ lgbt+. https://spectrumth.com/2022/04/05/10-สิ่งที่ต้องทำความเข้า/

คงเดช ปัญญาเพิ่ม. (2019). เกย์กับการช่วงชิงพื้นที่ทางสังคมในสถานที่ทำงาน. http://multied.sri.cmu.ac.th/เกย์กับการช่วงชิงพื้นท-2/

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. (2019). ทนรับ แต่ไม่ยอมรับ รายงานผลสำรวจเรื่องการเลือกปฏิบัติและทัศนคติทางสังคมต่อผู้มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย. https://www.undp.org/Publiccations/tolerance-not-inclusion

จเร สิงหโกวินท์. (2013). สื่อตีตรา : การผลิตซ้ำมายาคติเกย์ในสังคมไทย. วารสารนิด้าภาษาและการสื่อสาร, 18(20): 64-76.

ชุณิภา เปิดโลกนิมิต. (2563). การสร้างตัวตนในพื้นที่สาธารณะของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11(2): 200-212.

ณัฐธิดา แขวงสวัสดิ์. (2560). การวิเคราะห์เนื้อหาด้านเพศ การใช้ภาษา ความรุนแรง ภาพตัวแทน และการเปิดรับ และทัศนคติที่มีต่อการถ่ายทอดสดบนเฟซบุ๊ก. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].

ทักษญา หมอกบัว. (2563). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อที่มีผลต่อความชื่นชอบซีรีส์วายเรื่องเพราะเราคู่กัน ของ เยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

นรินทร์ นำเจริญ. (2550). การวิเคราะห์เนื้อหาที่เสริมสร้างสันติภาพในสื่อมวลชนท้องถิ่น : ศึกษากรณีการนำเสนอข่าวชาวเขา ในหนังสือพิมพ์รายวัน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการสื่อสารมวลชน, 1(1): 54-76.

นุชณาภรณ์ สมญาติ. (2561). ซีรีส์วาย (Y): ลักษณะเฉพาะและการนำเสนอความรักของชายรักชาย. การนำเสนอโครงการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติของนักศึกษา ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1/2561, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2564). ดึงเอกชนปั้นคอนเทนต์รับตลาด Lgbt. https://www.prachachat.net/economy/news-698774

พรจันทร์ เสียงสอน. (2557). การนำเสนอผู้หญิงและความรุนแรงในภาพยนตร์ไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].

พราว อรุณรังสีเวช และคณะ. (2018). ความรุนแรงไม่ใช่เรื่องสนุก: อิทธิพลของความรุนแรงและความแปลกแยก ที่มีผลต่อความสนุกของละครโทรทัศน์. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 10(1): 1-11.

ภัทรวดี แก้วเทศ. (2558). ความคิดเห็นต่อความรุนแรงเชิงวัฒนธรรมของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา เนื้อหาความรุนแรงบนสื่อออนไลน์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

ภาณิชา พิมพ์ทองงาม. (2560). ความรุนแรงที่ปรากฏในละครชุด Club friday the series 9. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

รุ่งโรจน์ เรืองรอง. (2563). ยังโตต่อ-รอวันดับ? ซีรีส์วาย ดังแรงทะลุต่างประเทศ โกยเงินทะลุพันล้าน. https://www.thairath.co.th/entertain/news/1964554

วรยุทธ มูลเสริฐ. (2559). Critical essay ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม. https://www.academia.edu/36800254/Critical_Essay_ความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม

วิรยาพร กมลธรรม. (2560). ความรุนแรงที่ปรากฏในสื่อ กรณีศึกษา ละครโทรทัศน์เรื่อง ล่า 2017. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

สุพมิตรา วรพงศ์พิเชษฐ. (2554). การสร้างสุนทรียภาพแห่งความรุนแรงในภาพยนตร์ของ มิชาเอล ฮาเนเคอ. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

อักษราภัค พีบุ้ง. (2563). การศึกษาองค์ประกอบที่ไม่เหมาะสมในละครซีรีส์ไลน์ทีวี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1): 1-27.

เอกชัย สุทธิยั่งยืน. (2563). เรียนรู้ รับฟัง ความหลากหลายทางเพศ Lgbtq+ ผ่านสื่อบันเทิง. https://www.gqthailand.com/gq-hype/article/gq-hype-vol-26

Anitime. (2017). Yaoi101 ปูศัพท์พื้นฐาน สำหรับการเป็นหนุ่ม/สาววาย (มือใหม่). https://anitime.asia/news/introduction-to-yaoi/

Health Policy Project, Asia Pacific Transgender Network & United Nations Development Programme. (2015). แนวทางต้นแบบการให้บริการสุขภาพที่ครอบคลุมแก่บุคคลข้ามเพศ ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก. Futures group, health policy project. https://weareaptn.org/wp-content/uploads/2018/11/rbap-hhd-2018-trans-health-blueprint-thai.pdf

Rocket Media Lab. (2021). สำรวจจักรวาลซีรีส์วายไทย ปี 2020 – ต้นปี 2021 : โลกของชายแท้รักกันยังเหมือนเดิมอยู่ไหม. https://rocketmedialab.co/yseries/

UNESCO. (2016). คู่มือจัดทำหลักสูตร เพื่อป้องกันความรุนแรงบนฐานเพศภาวะ. UNESCO Bangkok Office. https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000243252_tha

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31