การปรับตัวและทักษะที่จำเป็นต่อนักข่าวโทรทัศน์ในยุคเทคโนโลยีก่อกวน

ผู้แต่ง

  • นันทนา แสงมิตร คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • พัชนี เชยจรรยา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การปรับตัวของนักข่าวโทรทัศน์, ทักษะของนักข่าวโทรทัศน์, ยุคเทคโนโลยีก่อกวน

บทคัดย่อ

        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการปรับตัวของนักข่าวโทรทัศน์ในยุคเทคโนโลยีก่อกวนและ 2) เพื่อศึกษาทักษะที่จำเป็นต่อนักข่าวโทรทัศน์ในยุคเทคโนโลยีก่อกวน ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยเชิงเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์จำนวน 2 กลุ่มรวม 10 ท่าน                                             

 

         ผลการวิจัยพบว่า จากการที่องค์กรข่าวสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลปรับตัวนำสื่อออนไลน์เข้ามาหลอมรวมกับสื่อดั้งเดิม กระบวนการสื่อข่าวใหม่มีการนำเสนอรูปแบบใหม่ทางสื่อออนไลน์และขยายช่องทางสื่อสารผ่านแพลตฟอร์ม OTT ควบคู่กับการออกอากาศผ่านโทรทัศน์ส่งผลให้นักข่าวต้องปรับตัว แนวทางการปรับตัวของนักข่าวโทรทัศน์ในยุคเทคโนโลยีก่อกวน เริ่มจากกรอบความคิด (Mindset) ทำความเข้าใจกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป มีทัศนคติต่อความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเป็นโอกาสในการเรียนรู้ และพัฒนาตัวเอง พร้อมยืดหยุ่นให้องค์กรและรูปแบบงานใหม่ ปรับวิธีการรวบรวมข้อมูลข่าวโดยใช้แหล่งข้อมูลจากสื่อดิจิทัลควบคู่กับแหล่งข้อมูลเดิม ปรับเทคนิคการทำงานด้วยความสามารถหลากหลาย (Multitasking) และทำงานทุกอย่างด้วยตัวเอง (Multi Skills) ปรับรูปแบบการเผยแพร่ข่าว การเล่าเรื่องและช่องทางการสื่อสาร นำเสนอหลากหลายแพลตฟอร์มสื่อ                                                          

 

        ด้านทักษะที่จำเป็น จากการปรับการทำงานภายใต้ระบบนิเวศวิทยาสื่อดิจิทัลจึงต้องเรียนรู้และเพิ่มทักษะจำเป็น 7 ด้าน คือ ด้านการตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact Checking) ด้านการทำงานด้วยความสามารถหลากหลาย (Multitasking skills) ด้านการใช้เทคโนโลยีมาปฏิบัติงานข่าว ด้านการเล่าเรื่องหลากหลายแพลตฟอร์มสื่อ ด้านวิชาชีพสื่อมวลชน ด้านความเป็น Specialist และด้านความฉลาดทางอารมณ์

References

กมลพร กัลยาณมิตร. (2564). ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตการทำงานยุคหลังโควิด-19. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/256756

กมลรัฐ อินทรทัศน์.(2550). เอกสารชุดวิชาการผลิตรายการโทรทัศน์เบื้องต้น. หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กมลรัฐ อินทรทัศน์.(2556). เทคโนโลยีการสนเทศและทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กวี จงกิจถาวร, และสุระชัย ชูผกา. (2554). การข่าวเบื้องต้น หน่วยที่ 6 หน้าที่และบทบาทของผู้สื่อข่าว. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กาญจนา แก้วเทพ, และนิคม ชัยขุนพล. (2555). คู่มือสื่อใหม่ศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

ชนิดา รอดหยู่. (2563). ข่าวในยุคสื่อดิจิทัล. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 33(2), 17-33. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/download/180325/167473/854018

ชนิตา รุ่งเรือง และเสรี ชัดแช้ม. (2559). กรอบความคิดเติบโต: แนวทางใหม่แห่งการพัฒนาศักยภาพมนุษย์. วิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 14(1), 1-13. https://rmcs2.buu.ac.th/jn/14-1/001.pdf

ชนากานต์ สุวรรณรัตนศรี, ฉัตรมณี บัววรรณ, และชุติกร ปรุงเกียรติ. (2562). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของบุคลากรในยุคประเทศไทย 4.0. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัย นครราชสีมา ครั้งที่ 6ประจำปี พ.ศ. 2562 "สังคมผู้ผู้สูงวัย: โอกาสและความท้าทายของ อุดมศึกษา. http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2562Vol10No1_30.pdf

ญาดาภา แซ่ลิ้ม.(2564).กระบวนการผลิตข่าวในยุค New normal ของสำนักข่าวออนไลน์ The Reporters. [การศึกษาค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:274242

ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2560). ทีวีโปรดิวเซอร์: สถานะ บทบาท และการพัฒนาทักษะสำคัญในยุค ดิจิทัลสร้างสรรค์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://www.dpu.ac.th/dpurdi/research/483

ณัฐกานต์ แก้วขำ และยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2564). บทบาทของอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ในภูมิทัศน์ของสื่อใหม่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจดิจิทัล. วารสารนิเทศศาสตร์, 39(1), 107-114. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcomm/article/download/244229/167918

ณัฐธัญ โอกาศ.(2558).การศึกษาถึงอิทธิพลของการหลอมรวมสื่อที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน).[การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัญฑิต,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,กรุงเทพฯ]. http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/2445?mode=full

ธนาคาร ธนาเกียรติภิญโญ.(2563).การปรับตัวขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทยในยุค Digital Transformation และ COVID-19.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/486

พฤกษา เกียรติเมธา .(2564). การปรับตัวของกระบวนการสร้างสรรค์ภาพยนตร์โฆษณาในยุค Digital disruption [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์].

พรชัย ฉันต์วิเศษลักษณ์.(2559). เมื่อเทคโนโลยีก้าวสู่ยุคดิจิทัล ย่อมส่งผลต่อกระบวนการนำเสนอข่าวโทรทัศน์.วารสารศาสตร์, 9(3), 117-118. https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jcmag/article/view/158284

พัชรินทร์ รักสัตย์. (2560). กระบวนการสื่อข่าวของรายการข่าวบันเทิงทางโทรทัศน์ในยุคหลอมรวมสื่อ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2554

พิมพ์มาส รัตนาวัฒน์วรรณา.(2545).การปรับตัวของนักข่าวกรณีการขยายธุรกิจข้ามสื่อในกลุ่ม เดอะเนชั่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]. https://dric.nrct.go.th/Search/ShowFulltext/1/133788

พีระ จิระโสภณ. (2551). เอกสารการสอนวิชาทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มาร์เก็ตเทียร์.(2564).TV-Streaming 2022 กับบริบทผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป. https://marketeeronline.co/archives/244532

มาร์เก็ตติ้ง อุปส์. (2565). ทดสอบ ChatGPT เขียนบทความภาษาไทยทำได้ดีแค่ไหน และนักการตลาดใช้ประโยชน์อะไรได้อีกบ้าง. https://www.marketingoops.com/how- to-4/chatgpt-ai-chatbot-openai-how-to/

รุ่งนภา เพ่งรุ่งเรืองวงษ์. (2562). คุณลักษณะของแรงงานไทย 4.0 ตามทัศนะของผู้ประกอบการในจังหวัดนครปฐม. https://publication.npru.ac.th/handle/123456789/766

รุ่งลักษณ์ นาคพงษ์. (2561).ปัจจัยในการบริหารงานข่าวของสถานีโทรทัศน์ดิจิทัลและการปรับตัวในยุคที่ภูมิทัศน์สื่อมีการเปลี่ยนแปลง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. http://dspace.bu.ac.th/handle/123456789/3472

วัฒณี ภูวทิศ. (2560). ผู้สื่อข่าวกับการใช้ประโยชน์และความน่าเชื่อถือของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อรายงานข่าวสาร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/92644

วิไลวรรณ จงวิไลเกษม. (2564). Fake news-Fact checking-Fact checkers. ใน วิไลวรรณ จงวิไลเกษม(บก.).ทักษะนักข่าวในยุคดิจิทัล Journalists' survival guide in digital age.สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย. https://www.thaibja.org/wp-content/uploads/2022/11/หนังสือคู่มือนักข่าวยุคดิจิทัล-2565.pdf

ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์ .(2560). การวิเคราะห์ผู้รับสารในยุคดิจิทัล.วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 34(1),168-187. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/HUSO/article/view/91454

เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ.(2561). The year of disruption. http://tct.or.th/images/article/special_article/25610110/198410_Disruption.pdf

สกุลศรี ศรีสารคาม .(2554). สื่อสังคม (Social Media) กับการเปลี่ยนแปลงกระบวนการสื่อข่าว. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. https://libdoc.dpu.ac.th/research/145134.pdf

สมสุข หินวิมาน และคณะ.(2554). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุและโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมสุข หินวิมาน และคณะ. (2557). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุและโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) (2559). คู่มือแนวปฏิบัติและมาตรฐานจริยธรรมในการใช้ข้อมูลจากสื่อออนไลน์ในกระบวนการสื่อข่าว. https://broadcast.nbtc.go.th/data/academic/file/601100000005.pdf

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)(2564).รายงานสภาพการแข่งขันและพฤติกรรมในอุตสาหกรรมกิจการโทรทัศน์ประจำปี2564. https://broadcast.nbtc.go.th/data/academic/file/641100000004.pdf

สิขเรศ ศิรากานต์. (2564). 2 ทศวรรษ (2000-2020) วิถีทรรศน์ “ภูมิทัศน์สื่อ” ก้าวสู่ทศวรรษใหม่. ใน Media Disruption the Series เพราะ โลก ‘สื่อ’ เปลี่ยน.องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่ง ประเทศไทย (ส.ส.ท.).กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

สุนันทา แย้มทัพ. (2565).งานข่าวในยุคดิจิทัล: นักข่าวและการทำข่าวในศตวรรษที่ 21. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ.(2565).งานข่าว: หลักการและเทคนิค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31