พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและทัศนคติทางทวิตเตอร์ของกลุ่มคนเจเนอเรชันวายต่อ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ, ทัศนคติ, โควิด 19บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อทางทวิตเตอร์และทัศนคติต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ของกลุ่มคนเจเนอเรชั่นวายเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ จำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มคนเจนวายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 22-32 ปี สถานภาพโสด การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัท รายได้ 10,001-40,000 บาท พฤติกรรมการเปิดรับสื่อทางทวิตเตอร์ส่วนใหญ่ติดตามข่าวสารผ่านทวิตเตอร์ โดยผ่านบัญชีบุคคลสาธารณะ ระยะเวลาในการใช้ทวิตเตอร์ต่ำกว่า 2 ชั่วโมงต่อวันใช้เวลาช่วงหลัง 16.00 น.ในการใช้งานทวิตเตอร์มากที่สุด การใช้อุปกรณ์ในการเปิดรับสื่อทางทวิตเตอร์ คือ สมาร์ทโฟนความถี่ในการใช้งานทวิตเตอร์ 3-4 วันต่อสัปดาห์ วัตถุประสงค์ เพื่อติดตามข่าวสารและเพื่อความบันเทิง การติดตามข่าวสารเรื่องโควิด-19 ในทวิตเตอร์เกี่ยวกับเรื่องจำนวนยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากที่สุด การได้รับข้อมูลวิธีการป้องกันตัวเองจากโควิด-19 ทางทวิตเตอร์ เพื่อได้ปฏิบัติตนตามคือการสวมหน้ากากอนามัย มากที่สุด การใช้แฮชแท็กในการค้นหามากที่สุดคือ #Covid19 การใช้แฮชแท็ก "#" เรื่องติดตามมาตรการการป้องโควิด-19มากที่สุด
จากการทดสอบสมมุติฐานลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อทัศนคติในการค้นหาข่าวสารทางทวิตเตอร์ที่แตกต่างกันพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามที่อายุแตกต่างกันมีทัศนคติในการค้นหาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ มีค่า ANOVA 23.394 ค่านัยสำคัญ 0.000* เช่นเดียวกับสถานภาพ มีค่า ANOVA 12.072 ค่านัยสำคัญ 0.000* ระดับการศึกษามีค่า ANOVA 8.895 มีค่านัยสำคัญ 0.000* อาชีพ มีค่า ANOVA 6.953 ค่านัยสำคัญ 0.000*และรายได้ มีค่า ANOVA 8.715 ค่านัยสำคัญ 0.000* และจากการเปรียบเทียบรายคู่ที่น่าสนใจพบว่ากลุ่มคนโสดมีทัศนคติ ที่แตกต่างจากกลุ่มคนแต่งงาน หย่าร้าง และแยกกันอยู่ กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาระดับมัธยมศึกษามีทัศนคติแตกต่างจากกลุ่มการศึกษาอื่น ๆ กลุ่มที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท มีทัศนคติแตกต่างจากกลุ่มอื่น
และจากสมมติฐานพบว่าพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารการเเพร่ระบาดของโควิด-19 ทางทวิตเตอร์ของกลุ่มคนเจเนอเรชั่นวายแตกต่างกัน ต่อทัศนคติในการค้นหาข่าวสารทางทวิตเตอร์ที่แตกต่างกัน พบว่าพฤติกรรมการเปิดรับสื่อเกือบทั้งหมดส่งผลต่อทัศนคติยกเว้นด้านอุปกรณ์ในการเปิดรับสื่อทวิตเตอร์ไม่ส่งผลต่อทัศนคติ โดยมีการเปรียบเทียบรายคู่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติที่เปิดรับสื่อทวิตเตอร์จากบัญชีหน่วยงานราชการมีทัศนคติแตกต่างต่างจากบัญชีสำนักข่าว และบัญชีบุคคลทั่วไป โดยมีค่าเฉลี่ยด้านทัศนคติมากกว่าสำนักข่าวและมากกว่าบัญชีบุคคลทั่วไป
นอกจากนี้กลุ่มที่มีความถี่ในการใช้ทวิตเตอร์น้อยกว่า 1-2 วันต่อสัปดาห์ มีทัศนคติแตกต่างจากกลุ่มอื่น ๆ โดยมีระดับทัศนคติน้อยกว่ากลุ่มอื่น ๆ
References
กระทรวงสาธารณสุข.(2564).รายงานผลการทบทวนสถานการณ์โรคโควิด-19และมาตรการควบคุมป้องกันในระดับโลกและในประเทศไทย. https://ddc.moph.go.th
ณัฐนรี ไชยภักดี. (2552). การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในโครงการ 7 สี ปันรักให้โลกของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาเฉพาะบุคคล หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต.มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปภัสนันท์ ชมจันทร์ทึก.(2561).พฤติกรรมการเปิดรับ ทัศนคติ และกระบวนการตัดสินใจท่องเที่ยวตามแฮชแท็กท่องเที่ยวบนทวิตเตอร์.วารสารศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสื่อสารมวลชนคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปทุมมา ลิ้มศรีงาม และคณะ.(2564).การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัวโคโรนา 2019 (โควิด-19)ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคในกรุงเทพมหานคร.วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 8(9),18-33.
วรทัย ราวินิจ และ พิธิวัฒน์ เทพจักร. (2564). การเปิดรับสื่อเกี่ยวกับโควิด 19 จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และการรู้เท่าทันข่าวปลอมของผู้รับสาร.การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิตประจำปี 2564.(หน้า 313-323).ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.
สุภาวดี ลิ่มสกุล.(2562).ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกเปิดรับข่าวบันเทิงบนทวิตเตอร์ ของคนรุ่นใหม่ในเขตกรุงเทพมหานคร.นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เสาวคนธ์ วิทวัสโอฬาร 2550. (Generation Y):จับให้มั่นคั้นให้เวิร์ค. กรุงเทพฯ : บริษัทเนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ปจำกัด (มหาชน)
สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.(2564). สถิติประชากรกรุงเทพมหานคร. https://stat.bora.dopa.go.th/new_stat/file/63/stat_c63.xlsx
Castells (2007) Communication, Power and Counter-power in the Network Society. International Journal of Communication Vol.1
Defleur, M. L. & Ball-Rokeach, S. J. (1996). Theories of Mass Communication. London: Longman.