สัญลักษณ์ มายาคติ และการสื่อสารของประเพณีแห่นางดานในจังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
การประกอบสร้างความหมาย, มายาคติ, สุนทรียภาพทางการสื่อสาร, ประเพณีแห่นางดานบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “สัญลักษณ์ มายาคติ และการสื่อสารชองประเพณีแห่นางดาน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช” นี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์การประกอบสร้างความหมาย องค์ประกอบด้านสุนทรียภาพ บทบาทหน้าที่ทางการสื่อสารในการดำรงอยู่ทางวัฒนธรรมของประเพณีแห่นางดานของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการศึกษาภาคสนาม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผลการวิจัยพบว่า
1)การประกอบสร้างความหมายเชิงสัญญะของประเพณีแห่นางดาน ของจังหวัดนครศรีธรรมราช มีวิธีการประกอบสร้างความหมายผ่านสัญลักษณ์และมายาคติเรื่องความอุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วย การใช้สัญลักษณ์ทางประติมานวิทยา การใช้กฎของการเชื่อมโยง การสร้างสัมพันธบท และการใช้รหัสในเชิงพิธีกรรม 2)องค์ประกอบด้านสุนทรียภาพทางการสร้างสรรค์ในประเพณีแห่นางดานประกอบด้วย สุนทรียะจากการใช้รหัสเชิงซ้อน การยุบรวมความหมาย คุณค่าแสงเงาสลัว สุนทรียะแบบนาฏการ สุนทรียะความสนุกบนความไร้ระเบียบอย่างเป็นระบบ สุนทรียภาพบนสัมพันธภาพกลมกลืนระหว่างเนื้อหาและอารมณ์ 3)บทบาทหน้าที่ทางการสื่อสารในการดำรงอยู่ทางวัฒนธรรมของประเพณีแห่นางดาน พบว่า การสื่อสารมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่ในการถ่ายทอดเล่าเรื่องประเพณีแห่นางดานให้มีการดำรงอยู่ทางวัฒนธรรมสืบต่อไปผ่านพิธีกรรมและการแสดง ได้แก่ บทบาทหน้าที่สืบทอดคติความเชื่อ การสื่อสารในการดำรงอยู่ทางวัฒนธรรมของประเพณีแห่นางดาน การสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดภูมิปัญญา การระดมพลังชุมชน การให้ความบันเทิง การจัดระบบทางสังคม การสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมไทย และการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
References
กฤชณัช แสนทวี.(2552). ลำพวน : การวิเคราะห์การสื่อสารกับการสืบทอดอัตลักษณ์ชาวไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]
กาญจนา แก้วเทพ. (2549). เมื่อสื่อพิธีกรรมเป็นลานาแห่งความสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ศาลาแดง.
ประพิศ พงศ์มาศ. (2558). พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย (พิธีโล้ชิงช้า). ศิลปากร, 45(1) (พฤษภาคม-มิถุนายน 2558)
ประหยัด เกษม. (2545). ประเพณีแห่นางดาน: ประเพณีต้อนรับพระอิศวรของพราหมณ์นครศรีธรรมราช. สารนครศรีธรรมราช.
มาลีนี จุฬามณีรัตน์. (2545). ศึกษาพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำนาและผลกระทบต่อชาวนาบ้าน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส.[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ].
สุพัตรา สุภาพ. (2534). สังคมและวัฒนธรรมไทย: ค่านิยม ครอบครัว ศาสนา ประเพณี.กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สุธีรา เผาโภคสถิต. (2537). การศึกษาความคิดเห็นของคนเชื้อสายมอญเกี่ยวกับบทบาทของสื่อบคคล สื่อประเพณี และสื่อมวลชน ในการอนรักษ์วัฒนธรรม : ศึกษาเฉพาะ กรณีชมชนมอญเกาะเกร็ด ปากลัดและบางกระดี. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
Hall, S. (1996). Proxemics. Current. Anthropology, 9(2/3), pp. 83-108.
Hall, S. (1997). Representation: Cultural representations and signifying practices. Sage Publications, Inc; Open University Press.
Jakobson, Roman. (1987). Language in Literature. London: The Belknap Press of Harvard University Press.
Saussure. Ferdinand de. 1974. Course in general linguistics. (Eds.) by Charles Bally, and Albert Sechehaye. in Collaboration with Albert Riedlinger. Trans with an Introduction and notes by Wade Baskin. New York:McGraw-Hill.