ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กานต์ระพี อารีประชาภิรมย์ นักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสื่อสารเชิงกลยุทธ์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • พรพรหม ชมงาม อาจารย์ประจำภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการเปิดรับ, , การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจ, ซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up

บทคัดย่อ

        การศึกษาเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับซีรีส์เกาหลี เรื่อง Start-Up กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up ของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร 2) การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up ของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับซีรีส์เกาหลี เรื่อง Start-Up กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มวัยทำงาน เพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุ 18-59 ปี ที่มีพฤติกรรมการเปิดรับซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 136 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation)

 

        ผลการศึกษาพบว่า 1) พฤติกรรมการเปิดรับซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up ของกลุ่มตัวอย่างคือ การเลือกรับรู้หรือตีความ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up ทำให้รับรู้ถึงวิธีการทำธุรกิจ ภายใต้การแข่งขันทางธุรกิจ 2) กลุ่มตัวอย่างเกิดการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up ด้านความต้องการหลีกหนีจากโลกความเป็นจริงชั่วขณะ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการรับชมซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน 3) พฤติกรรมการเปิดรับซีรีส์เกาหลีเรื่อง Start-Up มีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

เกรียงชัย เหลืองภัทรเชวง. (2540). การเปิดรับสาร ความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมในระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ของพนักงานในโรงงานกลุ่มบริษัทมินีแบ (ประเทศไทย). [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].

คฑาวุธ ก่อสินประสิทธิ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การโน้มน้าวใจของเฟซบุ๊กเพจหมอแล็บแพนด้ากับการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของผู้ติดตามเพจในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

จรรยา ยามาลี. (2553). การโฆษณาภาพยนตร์อินดี้มีผลต่อการเลือกชมของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง].

จารุวรรณ กิตตินราภรณ์. (2550). พฤติกรรมการเปิดรับ การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจจากการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต “เวิลด์ ไวด์ เว็บ” (World Wide Web WWW) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

เจิมสิริ เหลืองศุภภรณ์. (2563). ซีรีส์เกาหลีแห่งปี 2020. https://thestandard.co/20-Korean-dramas-2020/

ชานันต์ รัตนโชติ. (2552). ประโยชน์ในการรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์ออนไลน์ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง].

ชัชนันท์ วีระฉายา. (2546). การเปิดรับสื่อ ความรู้ ทัศนคติ กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: ศึกษาเฉพาะกรณีนิสิตชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].

ดวงทิพย์ เจริญรุกข์. (2564). อิทธิพลสื่อบันเทิงเกาหลีและค่านิิยมในวัฒนธรรมเกาหลีต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรภาษาเกาหลีของนักศึกษาไทย.วารสารนิเทศศาสตรปริทัศน์, 25(2),126-139.

นันทินี พิศวิลัย. (2558). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารและความพึงพอใจของผู้ใช้เว็บไซต์ www.ginraidee.comในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

ปิติ ศรีแสงนาม. (2561). บทเรียนจากความสำเร็จของกระแสนิยมวัฒนธรรมเกาหลี. https://www.chula.ac.th/cuinside/6930/.

พัชนี เชยจรรยา และประทุม ฤกษ์กลาง. (2540). รูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวและการเปิดรับสื่อมวลชนของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิจิตรา มงคลศรีพิพัฒน์. (2559). พฤติกรรมการเปิดรับ และความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์โครงการเที่ยวไทยเท่ กับพฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวไทย. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

พีระ จิรโสภณ. (2532). การเลือกสรรและการแสวงหาข่าวสาร เอกสารประกอบการสอนชุดวิชาประสบการณวิชาชีพนิเทศศาสตร์ (หน่วยที่ 7). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.

ไพบูลย์ ปีตะเสน. (2560). “สื่อเกาหลี” สู่ธุรกิจบันเทิงเต็มรูปแบบในประเทศไทย. https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/761920.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิศรุต สินพงศพร. (2563). กลยุทธ์ K-POP สร้างชาติเกาหลี ครองโลกด้วยวงการบันเทิง. http://workpointtoday.com/K-pop/.

สิตา โพธิพิพิธ. (2556). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ ความคาดหวังและความพึงพอใจต่อปัจจัยด้านความได้เปรียบเชิงการแข่งขันที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการของผู้ใช้บริการเฟสบุ๊คแฟนเพจธุรกิจรับปรึกษาและวางแผนจัดงานแต่งงานในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].

สุกัญญา อำพันแสง. (2546). การเปิดรับความพึงพอใจ และการใช้ประโยชน์จากการรับฟังรายการข่าวสารความรู้ทางหอกระจายข่าวในเขตตำบลหนองตาด จังหวัดบุรีรัมย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2556). ทฤษฎีการสื่อสาร. กรุงเทพมหานคร: ระเบียงทอง.

Atkin, C. K. (1973). New model for mass communication research. New York: Free Press

Hawkins, D. I., & Mothersbaugh, D. L. (2010). Consumer behavior: Building marketing strategy (11th ed.). New York: McGraw-Hill Irwin.

Klapper, J. T. (1960). The effects of mass communication. Glencoe: Free Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-20