การเปิดรับ ความพึงพอใจ ความผูกพัน ความต้องการ และความคาดหวัง ของผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อสื่อกรมประชาสัมพันธ์

ผู้แต่ง

  • สันทัด ทองรินทร์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • มนวิภา วงรุจิระ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

การเปิดรับสื่อ, ความพึงพอใจ, ความผูกพัน, ความคาดหวัง, กรมประชาสัมพันธ์

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับสื่อ 2) ความพึงพอใจ 3) ความผูกพัน 4) ความต้องการ และ5) ความคาดหวังของผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อสื่อต่างๆ ของกรมประชาสัมพันธ์ ประจำปี 2565 โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อบริการสื่อกรมประชาสัมพันธ์ จำนวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควต้า ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 

        ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมี 1) การเปิดรับสื่อโทรทัศน์ผ่านช่องทางเฟซบุ๊กและทางเครื่องรับโทรทัศน์โดยตรง เปิดรับสื่อวิทยุผ่านเครื่องรับวิทยุและช่องทางโซเชียลมีเดีย การใช้บริการสื่อบุคคลของกรมประชาสัมพันธ์ผ่านเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุและสถานีโทรทัศน์และเปิดรับสื่อดิจิทัล/สื่อโซเชียล ทางเฟซบุ๊ก เว็บไซต์และกลุ่มไลน์ 2) ความพึงพอใจต่อสื่อในระดับมากทุกสื่อ โดยเรียงตามลำดับคือ สื่อบุคคล วิทยุ โทรทัศน์และสื่อสื่อดิจิทัล/ สื่อโซเชียล 3) ความผูกพันต่อสื่อในระดับมากทุกสื่อ โดยเรียงตาม ลำดับคือ สื่อวิทยุ สื่อบุคคล สื่อโทรทัศน์ และสื่อสื่อดิจิทัล/ สื่อโซเชียล 4) ความต้องการให้สื่อโทรทัศน์และสื่อวิทยุมีรายการข่าว วิเคราะห์ข่าว เล่าข่าวมากที่สุด มีความรวดเร็วทันสถานการณ์ ถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน เข้าใจง่ายรูปแบบรายการทันสมัย น่าสนใจ การสร้างความสมานฉันท์ในสังคม ส่วนสื่อบุคคลต้องการให้บริการด้วยอัธยาศัยไมตรีมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี กระตือรือร้น เต็มใจให้ บริการ สำหรับสื่อดิจิทัล/ โซเชียลต้องการให้มีความรวดเร็ว ทันสถานการณ์ น่าสนใจ ถูกต้องแม่นยำ เจาะลึกชัดเจนรอบด้าน 5) ความคาดหวังจากสื่อวิทยุในระดับมากที่สุดและมีความคาดหวังในระดับมากต่อสื่อโทรทัศน์ สื่อดิจิทัล/  โซเชียลและสื่อบุคคลตามลำดับ โดยคาดหวังให้สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์และสื่อสื่อดิจิทัล/สื่อโซเชียลเป็นหน่วย งานให้บริการเพื่อประโยชน์ของประชาชน เป็นมืออาชีพ มีจริยธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ บริหารจัดการข้อมูลและข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชาติและสังคมได้ ส่วนสื่อบุคคล คาดหวังให้มีความคิดสร้างสรรค์ สะท้อนความคิดเห็นจากประชาชนสู่รัฐ สร้างและพัฒนาเครือข่ายประชาสัมพันธ์เพื่อการสื่อสารประเด็นความคิดสำคัญอย่างต่อเนื่อง

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2566). ยุทธศาสตร์ประชาสัมพันธ์. http://www.prd.go.th/th/content/page/index/id/2

จรีรัตน์ รณรงค์นุรักษ์. (2549). ภาพลักษณ์กรมประชาสัมพันธ์ในทัศนะของประชาชนกรุงเทพมหานคร.[วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช].

พรรณอร กลิ่นศรีสุข. (2560). ภาพลักษณ์และช่องทางการสื่อสารของกรมประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความ เชื่อมั่นของประชาชน. [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

พีระ จิรโสภณ. (2528). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน ในเอกสารการสอนชุดวิชา 15201 หลักและทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Goldsmith, Lafferty, & Newell. (2002). The Dual Credibility Model: The Influence of Corporate and Endorser Credibility on Attitudes and Purchase Intentions. Journal of Marketing Theory and Practice, 10(3), 1-12.

Katz, E. and Blumler, J. (1974). The Uses of Mass Communication Current Perspective on Gratification Research. Beverly Hills, CA. Sage.

McQuail, D., Blumler, J. and Brown, R. (1972). The Television Audience: A Revised Perspective. London: Longman.

Rayburn, J. D.,& Palmgreen, P.(1984). Merging uses and gratifications and expectancy value theory. Communication Research, 11(4), (pp. 537-562)

Samuel L. Becker. (1972). Discovering Mass Communication. Illinois: Scott Foresman and Company Glenview.

Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46–56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-20