ประสิทธิผลโครงการบูรณาการวิชาชีพนิเทศศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมชุมชน ของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้แต่ง

  • ธิราภรณ์ กลิ่นสุคนธ์ สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร.วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลโครงการ, สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมชุมชน

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ศึกษากับผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการบูรณาการวิชาชีพนิเทศศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมชุมชนของวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ จำนวน 131 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลกับนักศึกษาทุกคนที่เข้าร่วมโครงการ ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยผลการวิจัยพบว่า

 

        1. กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการมีสถานะเป็นนักศึกษาและบุคลากร ส่วนใหญ่รู้จักโครงการจากการสั่งงานของอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาที่เรียน และรู้จักจากเฟซบุ๊กของมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ สำหรับเหตุผลที่เข้าร่วมโครงการ คือ เพื่อเรียนรู้การทำงานด้านการสื่อสาร ด้านนิเทศศาสตร์ เรียนรู้การอยู่ร่วมกันบนวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อมและวัตนธรรมชุมชนที่แตกต่าง และเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับเพื่อนผู้เรียนด้วยกัน และกลุ่มตัวอย่างใช้ความรู้และทักษะด้านการสื่อสารเพื่อพัฒนาชุมชนและวัฒนธรรมในการทำกิจกรรมมากที่สุด รองลงมา คือ การทำงานเป็นทีม และการสื่อสารระหว่างบุคคล ตามลำดับ

 

        2. ประสิทธิผลโครงการบูรณาการวิชาชีพนิเทศศาสตร์เพื่อสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมชุมชน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.39 เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านกระบวนการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.45 รองลงมา คือ ด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ย 4.39 ด้านบริบท มีค่าเฉลี่ย 4.36 และด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าเฉลี่ย 4.34 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า 2.1) ด้านกระบวนการ พบว่า ช่วงเวลาในการจัดโครงการมีความเหมาะสมและชัดเจน วิทยากรเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ และสถานที่ในการฟังบรรยายและการผลิตสมุดทำมือมีความเหมาะสม 2.2) ด้านผลผลิต พบว่า โครงการทำให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจปัญหาสังคมจากประสบการณ์โดยอาศัยความรู้และทักษะที่มี เกิดการเรียนรู้และเข้าใจสังคมการอยู่ร่วมกันบนวิถีที่แตกต่าง และมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมที่สร้างคุณค่าและประโยชน์ให้แก่สังคม 2.3) ด้านบริบท พบว่า โครงการสร้างการเรียนรู้และประสบการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมวัฒนธรรมชุมชน สอดรับกับเรื่องจิตอาสาและการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม และมุ่งสร้างให้มีสำนักรับผิดชอบต่อส่วนรวมและเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยเหลือสังคม และ 2.4) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า กระบวนการดำเนินโครงการที่มีชัดเจนและประสิทธิภาพ โดยผู้มีความเชี่ยวชาญทั้งทีมนักศึกษาเรียน บุคลากร อาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในการแนะนำ มีการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสมุดทำมือ และจุดบริการรับกระดาษรีไซเคิลชัดเจนเพียงพอ และมีทีมงานและวิทยากรที่เพียงพอต่อการดำเนินโครงการ ตามลำดับ

References

กัลยา ศรีวิเชียร. (2557). การประเมินโครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ (นบส.ศธ.) รุ่นที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร : ซัคเซส มีเดีย.

คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา 2557. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). Active Learning. ข่าวสารวิชาการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ประจำเดือนพฤศจิกายน.

บุญชม ศรีสะอาด. (2558). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : สุริยาสาส์น.

บุรินทร์ ภู่สกุล และคณะ. (2558). การประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการการบริหารจัดการสำหรับผู้นำชุมชนในมิติพุทธและวิทยาการสมัยใหม่. กำแพงเพชร : รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ประชุม รอดประเสริฐ. (2553). การบริหารโครงการ. กรุงเทพมหานคร : เนติกุลการพิมพ์.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2549). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร : สำนักทดสอบการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัย ศรีนครินทร์ทรวิโรฒ.

พระศรชัย วังคำ. (2553). การประเมินผลสัมฤทธิ์หลักสูตรฝึกอบรมคุณธรรม “ค่ายพุทธบุตร-พุทธธรรม”. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี].

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การบูรณาการเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.

มัติกร บุญคง. (สัมภาษณ์ 15 มกราคม 2566)

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. โครงการจัดการความรู้ (Knowledge Management) คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2545). การบริหารโครงการ. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม.

สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2559). วิธีวิทยาการประเมินศาสตร์แห่งคุณค่า. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. https://www.onec.go.th/th.php/page/category/CAT0000018.______. (2562). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=51594&Key=infographics.

ศรีสกุล เจริญสร และปัญญพนต์ จันทร์อ่อน. (2560). การประเมินโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารตำรวจ. (452.). 101-106.

Beane, James A. (1990). Curriculum Planning and Development. Boston : Allyn and Bacon.

Bonwell Charles C. & Eison James A. (1991). Active Learning : Creative and Excitement in the Classroom. Washington D.C. : The George Washington University.

Daniel L. Stufflebeam and Anthony J. Shinkfield. (2007). Evaluation Theory, Models, and Applications. USA. : Jossey–Bass A Wley Imprint.

Donnelly, J.H. Jr. et. al. (1978). Fundamental Management : Selected Reading. (3rd ed.). Texas : Business Publication Inc.

Fedler and Brent. (1996). Navigating the Bumpy Road to Student-Centered Instruction. Journal of College Teaching. 44(2), 43-47 p.

Louis J. Goodman & Ralph N. Love. (1980). Project Planning and Kanagement : An Integrated Approach. New York : Pergamon Press.

Tumer, J. Rodney. (1993). The Handbook of Project-based Management: Improving the Processe for Achieving Strategic Objectives. London : McGraw-Hill Co.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-20