วิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์วัยรุ่นไทยและจีน
คำสำคัญ:
ภาพยนตร์ไทยและจีน, การเล่าเรื่อง, วัยรุ่นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างการเล่าเรื่องในภาพยนตร์วัยรุ่นไทยและจีน ภาพยนตร์ที่นำมาศึกษาได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง สิ่งเล็กเล็กที่เรียกว่า...รัก 20 ใหม่ ฉลาดเกมส์โกง You Are the Apple of My Eye Miss Granny และ The Ark of Mr. Chow แนวคิดที่นำมาใช้เป็นกรอบในการศึกษา ได้แก่ ทฤษฎีภาพยนตร์วัยรุ่น และ ทฤษฎีโครงสร้างการเล่าเรื่อง
ผลจากการศึกษาพบว่า ภาพยนตร์ทั้งหมดมีกลวิธีการเล่าเรื่อง ดังนี้ 1) โครงเรื่อง มีโครงสร้างเป็นไปตามโครงสร้าง 3 องก์ ใช้การลำดับเหตุการณ์ในการเล่าเรื่อง 5 ขั้นตอน คือ การเริ่มเรื่อง การพัฒนาเหตุการณ์ ภาวะวิกฤต ภาวะคลี่คลายและการยุติเรื่องราว 2) แก่นเรื่อง พบว่า ทั้ง 6 เรื่องนี้มีแก่นความคิดเกี่ยวเนื่องกับการเติบโตของวัยรุ่น 3) ตัวละคร พบว่า ในภาพยนตร์ทั้งหมดนี้ มีตัวละคร 2 ประเภท คือ ตัวกลม และตัวแบน 4) ความขัดแย้งพบว่าภาพยนตร์ทั้งหมดนี้ความขัดแย้งมี 3 ประเภท คือความขัดแย้งระหว่างคนและคน ความขัดแย้งภายในจิตใจและความขัดแย้งระหว่างคนกับสังคม 5)ฉาก พบว่า ฉากส่วนใหญ่ที่เป็นการดำเนินชีวิตของตัวละคร ส่วนมากเป็นฉากพื้นที่เมือง โดยอิงยุคสมัยตามเนื้อเรื่อง 6) มุมมองการเล่าเรื่อง พบว่าภาพยนตร์ทั้งหมดนี้ เน้นมุมมองบุรุษที่ 1 และบุรุษที่ 3
โดยเมื่อเปรียบเทียบการเล่าเรื่องในภาพยนตร์วัยรุ่นไทยและจีน พบว่ามีลักษณะดังนี้ ด้านความเหมือน 1.โครงเรื่องในภาพยนตร์วัยรุ่นไทยและจีน มักจีนโครงสร้างเป็นไปตามโครงสร้าง 3 องก์ 2.แก่นเรื่องในภาพยนตร์จีนและไทยมักแสดงออกถึงความฝันและคุณค่าของชีวิตวัยรุ่น 3.ตัวละครหญิงในภาพยนตร์จีนและไทยมักเป็นนักเรียนมัธยม 4.ฉากในภาพยนตร์จีนและไทยมักเป็นโรงเรียนหรือบ้านเป็นสำคัญ 5.ความขัดแย้งในภาพยนตร์จีนและไทยส่วนใหญ่เป็นเป็นความขัดแย้งระหว่างคนกับคน 6.มุมมองในภาพยนตร์จีนและไทยมักเป็นมุมมองบุรุษที่ 1 และ บุรุษที่ 3 ด้านความแตกต่าง 1. ภาพยนตร์วัยรุ่นจีนมักมีโครงเรื่องที่เรียบง่ายมีความกระชับและชัดเจน ในขณะที่ภาพยนตร์วัยรุ่นไทยมีโครงเรื่องที่หลากหลายและ มีความซับซ้อนซับซ้อน 2. แก่นเรื่องในภาพยนตร์มักได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมประจำชาติของตนเอง 3. ตัวละคร ภาพยนตร์วัยรุ่นจีนให้ความสำคัญกับการแสดงภาพโลกภายในของตัวละครและให้ความสำคัญกับการแสดงอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของตัวละคร ในขณะที่ ภาพยนตร์วัยรุ่นไทย เน้นให้ความสำคัญกับบุคลิกของตัวละคร 4. ความขัดแย้ง ภาพยนตร์วัยรุ่นจีนมักนำเสนอความขัดแย้งในครอบครัว โดยเฉพาะพ่อแม่กับลูก ขณะที่ภาพยนตร์ไทย ไม่เน้นภาพความขัดแย้งระหว่างพ่อแม่กับลูก 5.ฉาก ในภาพยนตร์ไทยมักอยู่ในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพ ขณะที่ฉากภาพยนตร์วัยรุ่นจีนมีความหลากหลายของกว่า 6.มุมมองการเล่าเรื่อง ภาพยนตร์ไทยส่วนใหญ่ใช้มุมมองจากตัวเอกเพศชาย แต่ภาพยนตร์จีนส่วนใหญ่ใช้มุมมองจากตัวเอกเพศหญิง
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2545). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสัน เพรสโปรดักส์.
ณัฐปคัลภ์ อัครภูริณาคินทร์. (2563). กลวิธีการเล่าเรื่อง และการใช้ภาษาภาพยนตร์ ในภาพยนตร์ที่กำกับโดย หม่อมหลวงพันธุ์เทวนพ เทวกุล.ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยรังสิต.
ปรัชญา เปี่ยมการุณ. (2560). การประกอบสร้างสุนทรียะแห่งรัก และภาพสะท้อนสังคม ในภาพยนตร์รักของไทย พ.ศ. 2548-2552. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รัตนา จักกะพาก และจิรยุทธ์ สินธุพันธ์. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องจินตทัศน์ทางสังคมและกลวิธีการเล่าเรื่องในภาพยนตร์ของสัตยาจิต เรย์ : การศึกษาวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Gu Xinxi. (2560). ศึกษาการเล่าเรื่องและวัฒนธรรมในภาพยนตร์นอกกระแสไทยและจีนกรณีศึกษาเรื่อง “Mary is Happy, Mary is Happy” และ “Ne Zha. ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Xu Nanming (1986). Dictionary of Film Art. Beijing : China Film Publishing House.