การวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารแบรนด์บุคคลผ่านแอพพลิเคชัน TikTok กรณีศึกษา คุณวาเลนไทน์ เจ้าของแบรนด์วาลิเชน

ผู้แต่ง

  • ชัชญา สกุณา วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

แอพพลิเคชัน TikTok, การสื่อสารแบรนด์บุคคล, การวิเคราะห์เนื้อหา, วาเลนไทน์, แบรนด์วาลิเชน

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาการสื่อสารแบรนด์บุคคลผ่านแอพพลิเคชัน TikTok ของคุณวาเลนไทน์ เจ้าของแบรนด์วาลิเชนด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีแหล่งข้อมูลคือ คลิปวีดีโอทางแอพพลิเคชัน TikTok ของคุณวาเลนไลน์ โดยกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือกด้วยระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 – เดือนตุลาคม 2566 รวม 10 เดือน โดยศึกษาทุกคลิปที่เผยแพร่ในช่วงเวลาดังกล่าว จำนวน 110 คลิปเพื่อให้เห็นการสื่อสารแบรนด์บุคคลในหลากมิติ ผลการศึกษา พบว่า คุณวาเลนไทน์มีการใช้องค์ประกอบของการสื่อสารแบรนด์บุคคลครบทั้ง 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) รูปแบบการสื่อสาร ได้แก่ มุ่งสร้างความสัมพันธ์ มุ่งให้ข้อมูล และมุ่งสร้างการรับรู้ ชื่อเสียง ความคุ้นเคย หรือจุดเด่น 2) บุคลิกภาพของแบรนด์บุคคล ผลการวิเคราะห์พบบุคลิกภาพจริงใจ (Sincerity) บุคลิกภาพเลิศหรูดูดี (Sophistication)  และบุคลิกภาพฉลาดประสบความสำเร็จ (Competence) 4) การสื่อสารจุดแข็งของแบรนด์บุคคลเพื่อก่อให้เกิดชื่อเสียง จากการวิเคราะห์การสื่อสารแบรนด์บุคคลของคุณวาเลนไทน์ พบว่า การสื่อสารจุดแข็งของคุณวาเลนไทน์ ประกอบด้วย ความรู้ ประสบการณ์ ตำแหน่ง และปฏิกิริยาตอบกลับ โดยการสื่อสารจุดแข็งเรื่องของตำแหน่งอินฟูลเอนเซอร์ (Influencer) ถูกพบมากที่สุด 4) ความเชื่อมโยงกับแบรนด์สินค้า โดยคุณวาเลนไทน์เป็นเจ้าของแบรนด์วาลิเชน พบว่า คุณวาเลนไทน์มีการสวมใส่แบรนด์วาลิเชนเกือบทุกคลิปของการนำเสนอเนื้อหาผ่าน TikTok เนื่องจากเนื้อหาหลักของการสื่อสารเป็นเรื่องแฟชั่นความสวยความงามทำให้การสอดแทรกแบรนด์วาลิเชนเข้าไปกลมกลืนและดูเชื่อมโยงได้เป็นอย่างดี

References

กฤษณะ อิสระ. (2556). การวิเคราะห์การสื่อสารแบรนด์บุคคลของนักออกแบบกราฟิกผ่านสื่อสังคม. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

ตระหนักจิต ยุตยรรยง. (2561). การสร้างแบรนด์บุคคลในยุคประเทศไทย 4.0. ในการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2.

ยาดา บูรพาแสงสรย์. (2557). กลยุทธ์การตลาด การสร้างตราสินค้าบุคคล และการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการเพื่อสร้างความเป็นผู้นำทางการตลาด: กรณีศึกษา ตัน ภาสกรทีและชาเขียวอิชิตัน. [วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

เสริมยศ ธรรมรักษ์. (2554). การสร้างแบรนด์ : ปั้นคนให้เป็นแบรนด์ Presonal Branding : Creating Brand Heroes. วารสารนักบริหาร. 31(1), 18-33.

Aaker, D.A. (1991). Managing brand equity: Capitalizing on the value of a brand name. New York: Free Press.

A’lvarez, B. R. (2010). Personal brands: Manage your life with talent and turn it into a unique experience. Houndmills, Basingstoke: Palgrave Macmillan.

Deckers, Erik., & Lacy, Kyle. (2013). Branding Yourself. United States of America: Pearson Education.

Schawbel, D. (2015). Me 2.0: 4 Steps to Building Your Future. New York: Diversion Publishing Corp.

Rangarajan, D., Betsy, D., Gelb and Vandaveer, A. (2017). Strategic personal branding - And how it pays off. Business Horizons, 60, 657-666.

Rainmaker. (2564). 10 ทริคพื้นฐานทำ TikTok อย่างไรให้คนติดตาม.https://www.rainmaker.in.th/10-tips-get-more-follower-on-tiktok/.

Shaker, F., & Hafiz, R. (2014). Personal Branding in Online Platform. Global Disclosure of Economics and Business, 3(2), 109-120.

Thumbs up. (2565). รวมสถิติข้อมูล TikTok ประจำปี 2022. https://www.thumbsup.in.th/tiktok-statistics-2022.

Wittawin, A. (2563). TikTok คืออะไร. https://www.thumbsup.in.th/tiktok-trends-2020.

Workpoint today. (2563). TikTok ยูนิคอร์นแสน ล้านที่เติบโตบนพื้นฐานของความสนุก. https://workpointtoday.com/tiktok-success-story/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-20