ความตระหนักรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และปัจจัยพยากรณ์การให้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคในการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment)
คำสำคัญ:
ความตั้งใจใช้การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์, พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562, ข้อมูลส่วนบุคคล, ระบบการชำระเงินและทำธุรกรรมบนระบบออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการให้ข้อมูลส่วนบุคคลต่อความตั้งใจใช้การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e - Payment) ผ่านช่องทางออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความตระหนักรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ความเสี่ยง ความปลอดภัย ความไว้วางใจ การรับรู้ถึงความง่าย การรับรู้ประโยชน์ ที่ส่งผลต่อความตั้งใจใช้การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคที่เคยใช้รูปแบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครเท่านั้น จำนวน 400 คน แบ่งออกเป็นการใช้บัตรเครดิต / บัตรเดบิต จำนวน 66 คน และ การใช้ Internet / Mobile Banking จำนวน 334 คน โดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ระดับความคิดเห็นในการเลือกใช้บริการบัตรเครดิต / บัตรเดบิต ภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก พบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญลำดับแรก คือ ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยี รองลงมา คือ ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ปัจจัยด้านด้านความปลอดภัย ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด และปัจจัยด้านความไว้วางใจ ปัจจัยด้านความตระหนักรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการรับรู้ความเสี่ยง อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
ผลการศึกษาระดับความคิดเห็นในการเลือกใช้บริการ Internet / Mobile Banking ภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก พบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญลำดับแรก คือ ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยี ซึ่งอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งาน ปัจจัยด้านความปลอดภัย ปัจจัยด้านความไว้วางใจ ปัจจัยด้านความตระหนักรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และปัจจัยด้านการรับรู้ความเสี่ยงอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
ผลการทดสอบสมมติฐานการใช้การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) สามารถสรุปได้ว่า ผลการวิเคราะห์การใช้บัตรเครดิต / บัตรเดบิต พบว่า ปัจจัยด้านความไว้วางใจ มีความสัมพันธ์เชิงบวกในทิศทางเดียวกันกับความถี่ในการใช้บัตรเครดิต / บัตรเดบิต ขณะที่ปัจจัยด้านความตระหนักรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และปัจจัยความปลอดภัย มีความสัมพันธ์เชิงลบในทิศทางตรงข้ามกับความถี่ในการใช้บัตรเครดิต / บัตรเดบิต ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
ในส่วนของผลการวิเคราะห์การใช้ Internet / Mobile Banking พบว่า ปัจจัยด้านการรับรู้ถึงความง่าย มีความสัมพันธ์เชิงบวกในทิศทางเดียวกันกับความถี่ในการใช้บริการ Internet / Mobile Banking ขณะที่ปัจจัยด้านความตระหนักรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีความสัมพันธ์เชิงลบในทิศทางตรงข้ามกับความถี่ในการใช้บริการ Internet / Mobile Banking ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95
References
กนกวรรณ ปัญญธนพัฒน์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์ไทยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
กฤตโสภา ทิพย์ปัญญาวงศ์. (2559).การศึกษาปัญหาและแรงจูงใจในการใช้งานเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ผ่านโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย. [การศึกษาอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการตลาด,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
เกวลิน จันทร์ประเทศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมและการตอบรับการใช้ Mobile Payment ของผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยในการรับชำระเงินด้วย QR Code. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
ชนิกานต์ โห้ไทย. (2563). การชำระเงินดิจิทัล...ทางเลือกหลักของคนไทยในยามวิกฤต Covid-19.
https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_8Mar2021.aspx
ชไมพร ขนาบแก้ว และกนกพร ชัยประสิทธิ์.(2562).ทัศนคติและการรับรู้ความเสี่ยงที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้ -Payment ผ่านธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 6(1),57-77.
ชยาภรณ์ กิติสิทธิชัย. (2559) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์(E-Wallet) ในการซื้อสินค้าของผู้บริโภคในจังหวัดกรุงเทพมหานคร.[การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจ,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ].
ชลธิชา ศรีแสง.(2555). การยอมรับการใช้งานของระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ กรณีศึกษาธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน). วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรี วิชัย, 4(1), 35-51.
ชัญญาพัทธ์ จงทวี.(2558).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการ Mobile Banking ในเขตกรุงเทพมหานคร. [การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
ทีมพัฒนาและวิเคราะห์ข้อมูลฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน, ธ. (2563). Covid-19 Pandemic Implication To E-Payment. https://www.bot.or.th/content/dam/bot/documents/th/research-and-publications/reports/payment-report/bi-monthly-report/Bi-monthly_report_Vol6-2020_December.pdf
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). ข้อมูลจากรายงานระบบการชำระเงินประจำปี 2563. https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/Publication/PS_Annually_Report/AnnualReport/Payment_2020_TH.pdf
ธัญยากร ขวัญใจสกุล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการชำระเงินผ่าน ระบบโมบายแบงก์กิ้งและระบบโมบายเพย์เม้นต์. [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].
นุชนาฏ สุทธิวงษ์. (2562). ปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อการตังใจเลือกใช้บริการการชำระเงินผ่านแอพพลิเคชันเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ในกรุงเทพมหานคร .[การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยสยาม].
บัญชา หมั่นกิจการ. (2560). แบบจำลองเชิงโครงสร้างของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีระบบชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-payment) ของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์].
ปรียานารถ ลายคราม. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตรเครดิต KTC ของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปิยนุช พละเยี่ยม และชลิตา ศรีนวล. (2561). ความตั้งใจใช้บริการทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(3), 154-163.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2564). e-Commerce ไทย ยุคหลัง COVID-19.
https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/Knowledge-Sharing/Perspective-on-Future-of-e-Commerce.aspx
Alswaigh, Y. N., & Aloud, E. M. (2021). Factors affecting user adoption of e-payment services available in mobile wallets in Saudi Arabia. International Journal of Computer Science and Network Security, 222-230.
Chua, H. N., Herbland, A., Wong, S. F., & Chang, Y. (2017). Compliance to personal data protection principles: A study of how organizations frame privacy policy notices. Telematics and Informatics, 34(4), 157-170.
Cochran, W.G. (1977) . Sampling Techniques. 3d ed. New York : John Wiley and Sons Inc.
Kim, C., Tao, W., Shin, N., & Kim, K. S. (2010). An empirical study of customers’ perceptions of security and trust in e-payment systems. Electronic commerce research and applications, 9(1), 84-95.
Kim, D. J., Ferrin, D. L., & Rao, H. R. (2008). A trust-based consumer decision-making model in electronic commerce: The role of trust, perceived risk, and their antecedents.Decision support systems, 44(2), 544-564.
Luarn, P., & Lin, H. H. (2005). Toward an understanding of the behavioral intention to use mobile banking. Computers in human behavior, 21(6), 873-891.
Sawangpong. (2564). PDPA คืออะไร?. https://t-reg.co/blog/t-reg-knowledge/what-is-pdpa/
Techsauce Team. (2563). COVID-19 เปลี่ยนพฤติกรรมการชำระเงินสู่ระบบ E-payment.
https://techsauce.co/news/how-covid-19-affects-e-payment
Tsai & Yeh. (2010). Perceived risk of information security and privacy in online shopping: A study of environmentally sustainable products. African Journal of Business Management, 4(18), 4057-4066.
Zhou, T. (2011). The impact of privacy concern on user adoption of location-based services. Industrial Management & Data Systems, 111(2), 212-226.