แรงจูงใจการใช้สื่อดิจิทัลบนแอพพลิเคชั่นสินค้าออนไลน์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์และการเลือกผู้ให้บริการขนส่งสินค้าของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
แอพพลิเคชัน, พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์, สื่อดิจิทัล, แรงจูงใจ, เจเนอเรชั่นวายบทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจการใช้สื่อดิจิทัลบนแอพพลิเคชั่นสินค้าออนไลน์ของเจเนอเรชั่นวายพื้นที่กรุงเทพมหานครและพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์และการเลือกผู้ให้บริการรับส่งสินค้าที่สั่งจากแอพพลิเคชั่นของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานครจากการซื้อสินค้าออนไลน์ในแอพพลิเคชั่น Shopee และ Lazada และปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเลือกผู้ให้บริการรับส่งพัสดุของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายในเขตกรุงเทพมหานครจากการซื้อสินค้าออนไลน์ในแอพพลิเคชั่น ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือกลุ่มเจเนอเรชั่นวายพื้นที่กรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน โดยทำการวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจวัดครั้งเดียวซึ่งใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์กับการเลือกผู้ให้บริการรับส่งพัสดุจัดส่งสินค้าออนไลน์ในแอพพลิเคชั่น ทั้งนี้สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือการหาร้อยละและค่าสถิติไค-สแควร์ (Chi-square)
ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์จากแอพพลิเคชั่นของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายขึ้นอยู่กับแรงจูงใจการใช้สื่อดิจิทัลบนแอพพลิเคชั่นสินค้าออนไลน์มีค่า sig ต่ำกว่า 0.05 จึงมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีรายละเอียดพฤติกรรม 6 ด้านดังนี้ 1) พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ด้านประเภทของสินค้าที่ซื้อออนไลน์มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจโดยรวมพบว่า ของใช้เด็กอ่อนและของเล่นมากที่สุด 2) พฤติกรรมด้านช่วงเวลาที่ใช้สื่อดิจิทัลในแอพพลิเคชั่นสินค้าออนไลน์ประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้าที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจโดยรวมพบว่าระหว่างการเดินทางมากที่สุด 3) พฤติกรรมด้านระยะเวลาที่ใช้สื่อดิจิทัลในแอพพลิเคชั่นสินค้าออนไลน์ประกอบการตัดสินใจซื้อที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจโดยรวมพบว่าระยะเวลา 15-30 นาทีมากที่สุด 4) พฤติกรรมด้านความถี่ที่เข้าชมร้านค้าทางการ (Official Shop) บนแอพพลิเคชั่นสินค้าออนไลน์ที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจโดยรวมพบว่า เข้าชมร้านค้า 1-4 ครั้งต่อเดือนมากที่สุด 5) พฤติกรรมด้านมูลค่าเฉลี่ยต่อชิ้นที่ซื้อสินค้าในแอพพลิเคชั่นสินค้าออนไลน์ที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจโดยรวมพบว่าราคาสินค้าเฉลี่ยต่อชิ้น 1001-5000 บาทมากที่สุด 6) พฤติกรรมด้านพื้นที่ทำกิจกรรมในแอพพลิเคชั่นสินค้าออนไลน์ที่มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจโดยรวมพบว่า ชมสินค้าบนหน้า Mall ของแอพพลิเคชั่น เช่น Laz Mall, Shopee Mall มากที่สุด และชมหน้าแจกคูปองโค้ดส่วนลดสินค้าเพื่อนำคูปองไปเลือกซื้อสินค้าต่อในแอพพลิเคชั่นภายหลัง มากรองลงมา และผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการเลือกผู้ให้บริการขนส่งสินค้าขึ้นอยู่กับแรงจูงใจการใช้สื่อดิจิทัลในแอพพลิเคชั่นสินค้าออนไลน์มีค่า sig ต่ำกว่า 0.05 จึงมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการเลือกผู้ให้บริการขนส่งสินค้าด้าน 1) ระยะเวลาการจัดส่งสินค้าในประเทศที่ใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้า 2) ความปลอดภัยสมบูรณ์ของตัวสินค้าที่จัดส่งมาถึงจากการผู้ให้บริการขนส่งสินค้าในแอพพลิเคชั่นสินค้าออนไลน์ 3) ค่าบริการในการจัดส่งสินค้าที่บรรจุกล่องขนาดเล็ก(s) ถึงสินค้าที่บรรจุกล่องขนาดกลาง(m) โดยจัดส่งในประเทศในแอพพลิเคชั่นสินค้าออนไลน์ ทั้ง 3 ด้านขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้ของกลุ่มเจเนอเรชั่นวายโดยมีค่า sig ต่ำกว่า 0.05 จึงมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง. (2565). ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับจำนวนประชากร.กรุงเทพฯ : กรมการปกครอง.
เขมิยา สิงห์ลอ. (2554). ความพึงพอใจของลูกค้าต่อคุณภาพบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของร้านคาเรนค็อทเทจในอีเบย์ดอตคอม. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].
บงกช รัตนปรีดากุล และ ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2553). อิทธิพลของทัศนคติและบรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิงที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ของผู้บริโภควัยทำงานตอนต้น. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์].
วิเชียร เกตุสิงห์. (2537). คู่มือการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
ศุภนาฎ บัวบางพลู. (2546). พฤติกรรมการสื่อสาร ความคาดหวัง การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายอินทราเน็ตของพนักงานในกลุ่มบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย].
Hawkins, D.I., Best, R. J., & Coney, K. A. (2004). Consumer behavior: Building marketing strategy (9th Ed.). New York: McGraw-Hill.
Jump, N. (1978). Phychometric theory 2nd ed. New York: McGrow Hill.
Keandoungchun, N., Donkwa, K., Wichitsathian, S. (2018). The Generation Y Consumer Behavior of Good Purchasing via Social Media. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 561-577.
Kotler, Phillip. (2000). Marketing Management.(10th ed). New Jersey: Prentice – Hall, Inc.
Lazada. (2023). Setting the pace for a retail revolution.from https://group.lazada.com/en/about/.
Martin, D. W. (1995). An importance/performance analysis of service providers’ perception of quality service in the hotel industry. Journal of Hospitality & Leisure Marketing, 3(1), 5-17.
Maslow, Abraham. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row Publishers.
Parasuraman, A. (1998). Customer service in business-to-business markets: an agenda for research. Journal of Business and Industrial Marketing, 13(4/5), 309-321.
Richard, M.O., Chebat, J.C. (2015). A proposed model of online consumer behavior : Assessing the role of gender. Journal of Business Research, 63(9-10), 926-934.
Shopee. (2023). Shopee is the leading e-commerce platform in Southeast Asia and Taiwan. https://careers.shopee.co.th/about.
U.S. Census Bureau. (2023). International database would population by age and sex. http://www.census.gov/population/international/ data/idb/worldpop.php.
Van Den Bergh, J., & Behrer, M. (2011). How cool brand stay hot: Branding to generation Y and Z. London: Kogan Page.
Zhou, Lina, Dai, Liwei, & Zhang, Dongsong. (2007). Online shopping acceptance model-A critical survey of consumer factors in online shopping. Journal of Electronic commerce research, 8(1), 41.