อิทธิพลของบุคคลที่มีชื่อเสียงกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต

ผู้แต่ง

  • ดวงทิพย์ เจริญรุกข์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

อิทธิพล, พฤติกรรม, การสร้างเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

        การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อิทธิพลของบุคคลที่มีชื่อเสียงกับพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ผู้วิจัยได้กำหนดระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล (Questionnaire) ซึ่งการรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว (One-Short Descriptive Study) ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-23 ปี และกำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1 มากที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพจากเครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภท Instagram มากที่สุด โดยเปิดรับข่าวสารจากประเภทของบุคคลที่มีชื่อเสียงประเภท ดารา/นักแสดง มากที่สุด และความบ่อยครั้งในการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพจากบุคคลที่มีชื่อเสียง วันละ 1 ครั้ง มากที่สุด ทัศนคติต่อคุณลักษณะของบุคคลที่มีชื่อเสียง ด้านความไว้เนื้อเชื่อใจ (Trustworthiness) โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยปานกลาง ด้านความชำนาญ เชี่ยวชาญ (Expertise) โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย ด้านความดึงดูดใจ (Attractiveness) โดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วย ด้านความเหมือน (Similarity) ที่มีผลโดยรวมอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต ด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ โดยรวมอยู่ในระดับบ่อย ด้านโภชนาการ โดยรวมอยู่ในระดับบางครั้ง ด้านการทำกิจกรรมทางร่างกาย โดยรวมอยู่ในระดับบางครั้ง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ และอิทธิพลด้านคุณลักษณะของบุคคลที่มีชื่อเสียง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต

References

กันทลัส ทองบุญมา.(2559). การเปิดรับข่าวสารจากบุคคลที่มีชื่อเสียงและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัย ในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

ทัศนีย์ ศรีสวัสดิ์. (2559). อิทธิพลของการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียงอ้างอิงและชื่อเสียงของตราสินค้าที่ส่งผลต่อการรับรู้ด้านภาพลักษณ์ตราสินค้าและคุณค่าของตราสินค้ากระเป๋าแบรนด์หรูหราของผู้หญิงวัยทางานในเขตกรุงเทพมหานคร. [การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยกรุงเทพ]. http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/1932

ธาริณีย์ ธีฆะพร. (2553). การใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ต่อรายการ [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

ภัสสรนันท์ อเนกธรรมกุล. (2553). ผลกระทบจากการใช้บุคคลที่มีชื่อเสียง (celebrity) ที่เป็นผู้นาเสนอสินค้าหลากหลายตราสินค้าในงานโฆษณา. [วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์].

เสรี วงษ์มณฑา. (2542 ). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ไดมอนด์อินบิสซิเนสเวิร์ด.

สุกัญญา บุญวรสถิต. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของข้าราชการสังกัดกรมราชทัณฑ์ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 11(1), 52-62.

สสส. (n.d.). เคล็ดลับคนดังสุขภาพดี. https://www.thaihealth.or.th/categories/3/1/143

สำนักงานทะเบียนมหาวิทยาลัยรังสิต. (2565). ข้อมูลนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ แยกตามคณะ. https://staffintranet.rsu.ac.th/suWeb/SignIn.aspx

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง. https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_issu.

ศรีกัญญา มงคลสิริ. (2547). Celebrity Marketing. กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์เลิฟ.

เอมิกา เหมมินทร์. (2556). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: คณะสถิติประยุกต์สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์.

Palank, C.L. (1991). Determinants of Health promrtion behavior. Nursing Clinics of North America, 26(4), 815-831.

S.N. Walker, K. Sechrist, N. Pender. (1995). Reproduction without the author’s express written consent is not permitted. Permission to use this scale may be obtained from: Susan Noble Walker. College of Nursing University of Nebraska Medical Center, Omaha.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-02